คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ทะเลสาบดอยเต่า

            ทะเลสาบดอยเต่า เมื่อราว 35 ปีก่อน หรือประมาณ พ.ศ. 2507 ปีที่สร้างเขื่อนภูมิพล ดอยเต่าถือเป็นแหล่งต้นน้ำของเขื่อน  หรือถ้าเป็นถนนก็ต้องบอกว่า ดอยเต่าเป็นหลักกิโลเมตรหลักแรกของทะเลสาบเหนือเขื่อน และเป็นต้นน้ำของลำน้ำปิง  โดยมีหลักสุดท้ายอยู่ปลายสุดที่จังหวัดตาก ชาวเขาซึ่งอาศัยอยู่ในที่ลุ่มของอ่างเก็บน้ำได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากอยู่บนที่สูงเหนือเขื่อน  ตามนโยบายของรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ. 2510 ซึ่งขณะนั้นพวกเขาประกอบอาชีพปลูกพืชผักสวนครัวตามเชิงเขาริมน้ำ  ต่อมาในระยะหลังๆราวปี 2542เป็นต้นมา มีฝนตกชุกตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้น้ำในอ่างมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นจนท่วมบริเวณแปลงเพาะปลูก การจับปลาในทะเลสาบจึงกลายเป็นอาชีพหลัก โดยมีร้านอาหารบนแพ และแพที่พัก เป็นธุรกิจที่ติดตามมาพร้อมๆกับการท่องเที่ยว

           “ดอยเต่า” ที่มาของชื่ออำเภอในปัจจุบันนี้  มีตำนานและคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า  สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกเทศนาสั่งสอนเผยแผ่พระธรรมไปตามท้องที่ต่างๆ  จนได้เสด็จมาถึงดินแดนนี้ (ท้องที่อำเภอดอยเต่า)  และประทับแรม แสดงพระธรรมแก่ประชาชน  ณ  สถานที่ ที่เป็นเนินเล็กๆ ภายใต้ร่มไม้ใหญ่อากาศเย็นสบาย  ซึ่งไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากนัก  เมื่อประชากรทราบข่าวก็ปีติยินดีเป็นอย่างมาก  ตระเตรียมภัตตาหารมาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับบิณฑบาต ได้สังเกตเห็นว่าสิ่งของที่ประชาชนนำมาใส่บาตรนั้น มี  “มะเต้า”  (แตงโม) มากกว่าสิ่งอื่น  พระพุทธองค์จึงทรงทำนายและตรัสกับประชาชนเหล่านั้นว่า “ดูกร ท่านทั้งหลาย ดินแดนแห่งนี้อุดมด้วยพืชพรรณ  ธัญญาหาร  ต่อไปภายหน้า จะเจริญรุ่งเรืองเป็นบ้านเมืองขึ้น และขอตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “ดอนเต้า” (ดอนคือ เนินเล็กๆ เต้าคือ มะเต้า หรือแตงโม คำว่าดอนเต้า จึงเรียกขานกันมาตั้งแต่บัดนั้น นานๆเข้าก็เรียกเพี้ยนกันไปเป็น “ดอยเต่า”  จนถึงปัจจุบันนี้และชื่อดอยเต่าก็เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งของตำบลดอยเต่า  เป็นหมู่บ้านเก่าแก่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น)

          ทะเลสาบดอยเต่า อยู่ในเขตอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่น้ำท่วมถึงภายหลังการสร้างเขื่อนภูมิพล  เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล เคยใช้ในการเกษตรกรรม การประมง ในบริเวณอ่างเก็บน้ำ หากมีน้ำมากพอ  (โดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน)

         เมื่อเอ่ยถึง ทะเลสาบดอยเต่าใครๆก็รู้จักเพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมาช้านานแล้ว เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่เหนือเขื่อนภูมิพล ตั้งอยู่ ต.ท่าเดื่อ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ เป็นลักษณะเวิ้งกว้างสุดลูกหูลูกตา มีทิวทัศน์ที่สวยงาม นอกจากจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และทำประมงน้ำจืดของชาว อำเภอดอยเต่าแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ลือชื่ออีกด้วย

          ทั้งนี้ทั้งนั้นทะเลสาบดอยเต่าก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติเมื่อเกิดฝนแล้งติดต่อกันหลายปี ระดับน้ำหน้าเขื่อนภูมิพลลดลง ได้ส่งกระทบทะเลสาบดอยเต่าระดับน้ำแห้งขอด เหลือแต่สายน้ำเล็กๆเท่านั้น เรือนแพของผู้ประกอบการถอยร่นไปตามสายน้ำ ที่ห่างจากบนฝั่งไปไกล บางรายก็ค้างเติ่งอยู่บนบก อาชีพชาวประมงก็เดินทางไประยะไกลเช่นกันแทบไม่มีปลาให้จับ แต่ชาวอำเภอดอยเต่าได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ใช้พื้นที่เป็นที่เลี้ยงวัว เพาะปลูกข้าวโพด

          ซึ่งก่อนหน้านั้นหลายปี  ทะเลสาบดอยเต่า”  เคยตายสนิทยาวนานถึง 8 ปีเมื่อฝนตกหนักลงมาติดต่อกันส่งผลให้ระดับหน้าเขื่อนภูมิพลสูงเกิดขึ้น ทะเลสาบดอยเต่าได้ฟื้นคืนชีพมีชีวิตชีวามาได้หลายปี และครั้งหลังล่าสุดเมื่อปีพ.ศ.2555 เกิดฝนแล้งขึ้นมาอีกทะเลสาบแห่งนี้ น้ำแห้งขอดอีกครั้ง เหลือแต่พื้นดินแห้งกลายเป็นที่เลี้ยงวัว ปลูกข้าวโพดของชาวบ้านอีกครั้งยาวนานถึง 5 ปี

          และเมื่อปี 2560 มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ แม่น้ำสาขาต่างๆไหลสู่แม่น้ำปิงเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลสูงขึ้นด้วย เป็นผลดีกับทะเลสาบดอยเต่า ทำให้ทะเลสาบดอยเต่าฟื้นคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง สำหรับฤดูฝนปี 2561 นี้หากมีฝนตกลงมาบริเวณพื้นที่ต้นน้ำเมื่อเช่นปีที่แล้ว ก็จะเติมปริมาณน้ำหน้าเขื่อนภูมิพลมากขึ้นต่อลมหายใจให้ทะเลสาบดอยเต่า อยู่ต่อไปอีกหลายปี แต่ถ้าฤดูฝนปี 2561 เกิดฝนแล้งทะเลสาบก็รอวันตายเช่นอดีตที่ผ่านมา

            แต่อย่างไรก็ตามช่วงฤดูกาลนี้นักท่องเที่ยวได้หลั่งไหลไปสัมผัสบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติของทะเลสาบดอยเต่าอย่างไม่ขาดสาย บ้างไปเช้าเย็นกลับ หรือไปนอนพักแรมบนเรือนแพที่ลากจูงออกห่างจากฝั่งไปอยู่บริเวณกลางทะเลสาบ เรื่องอาหารการกินนั้นไม่ต้องกังวลเพราะมีอาหาร ไว้บริการอย่างไม่อั้น โดยเฉพาะอาหารประเภทปลาน้ำจืดหลายชนิด เช่น ปลาซ่อน ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาเนื้ออ่อน ปลากด ปลาคัง ปลาบึก ฯลฯที่ชาวประมงจับมาจากทะเลสาบดอยเต่า ถ้าวันไหนโชคดี อาจได้ชิมลิ้มรสกุ้งแม่น้ำตัวใหญ่หนักเป็นกิโล

           นอกจากนั้นแล้วใครที่อยากได้ของฝากกลับบ้านละก็ ที่นี่ก็มีเหมือนกันเป็นพวกปลาแห้งหรือปลาย่างต่างๆ ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ที่นี่ทำไว้ขายนักท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นแล้วอาชีพประมงจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่ชาวบ้านทำกันนอกเหนือจากการทำแพอาหารและที่พักอาศัยบริเวณทะเลสาบดอยเต่าแห่งนี้ ความสวยงามของภูมิประเทศและอากาศบริสุทธิ์ก็เป็นอย่างหนึ่งที่นักท่องเที่ยวทั่วไปสนใจกันแต่วิถีชีวิตชาวประมงบนที่สูงแห่งนี้ก็มีความน่าสนใจไปไม่น้อยกว่ากันเลยทีเดียว

            สำหรับเส้นทางไปทะเลสาบดอยเต่ามี 2 เส้นทาง เส้นทางแรกจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางอ.หางดง -สันป่าตอง-จอมทอง-ฮอด แล้วเข้าสู่ อ.ดอยเต่า รวมระยะทางประมาณ 91 กิโลเมตร ซึ่งหากเดินทางสายนี้มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น วัดพระธาตุจอมทองฯ น้ำตกแม่กลาง ดอยอินทนนท์ ออบหลวง เป็นต้น

           ส่วนอีกเส้นทางคือสายลำพูน-ดอยเต่า ผ่าน อ.ป่าซาง อ.บ้านโฮ่ง และเข้าสู่อำเภอดอยเต่า เส้นทางสายนี้ ระยะทางพอๆกันมีแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังตลอดสายเส้นกัน มีวัดพระพุทธบาทตากผ้า แหล่งดูนกยุงรำแพน ที่ อ.บ้านโฮ่งและบ้านแม่ป้อก วัดบ้านปางถิ่นกำเนิดครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นต้น

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่อง จาก

www.chiangmainews.co.th

www.thai-tour.com

28,410 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่