คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดท่าตอน

วัดท่าตอน (อุทยานพระพุทธศาสนา)

          วัดท่าตอนเดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานได้จาก วัตถุโบราณที่ค้นพบในบริเวณนี้ วัดท่าตอนยังเป็นสถาบันการศึกษาสำหรับพระภิกษุ สามเณร และเยาวชน เป็นศูนย์บำบัดยาเสพติด และสงเคราะห์ชาวเขา เป็นวัดที่มีทิวทัศน์งดงาม และเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ทางวัดได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างเจดีย์แก้วเฉลิมพระเกียรติไว้บนยอดเขา ด้านบนมีจุดชมวิวซึ่งจะมองเห็นชุมชน ทุ่งนา และแม่น้ำกกไหลคดเคี้ยวอยู่เบื้องล่าง

          ทิศเหนือ   จรดแม่น้ำกกและไร่นาของชาวบ้าน

          ทิศตะวันออกและทิศใต้   จรดเขตบ้านหลายหลัง

          ทิศตะวันตก   จรดป่าสงวนแห่งชาติ

ประวัติวัดท่าตอน

             วัดท่าตอน เป็นวัดร้างมานานหลายร้อยปี มีพระเจดีย์เก่าชำรุดอยู่หนึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยป่าหนาทึบ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ตามตำนานสุวรรณดำแดงกล่าวว่า กลุ่มคนไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ตอนกลางของเชียงใหม่ ประมาณหลังปี พ.ศ. 1700 นั้น เป็นผู้นับถือพุทธศาสนา นักประวัติศาสตร์หลายท่านได้มีความเห็นว่า บริเวณลุ่มน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำกก เป็นที่ตั้งของชุมชน ที่มีวัฒนธรรมอยู่มาก่อน ก่อนที่จะสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 ห่างจากวัดท่าตอนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่า ชื่อ เวียงแข่ ยังคงมีคูเมืองปรากฏอยู่ เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยใดนั้น ไม่เป็นที่ปรากฏหลักฐาน

              จากการค้นคว้าคำจารึกในฐานพระพุทธรูปเก่าที่สุดที่พบในเขตอำเภอแม่อาย (วัดศรีบุญเรือง) จุลศักราช 221 (พ.ศ. 1403 ) พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณที่พบตามวัดร้างในท้องนาและริมแม่น้ำฝาง ซึ่งวัดต่างๆ ในท้องที่เก็บรักษาไว้ บางส่วนขนย้ายไปจังหวัดเชียงราย (วัดมุงเมือง) และส่วนกลาง ( พ.ศ. 2424 คาร์ล บ็อค มาสำรวจเมืองฝางขนไปบ้าง ) แสดงให้เห็นถึงร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่ผ่านมาหลายศตวรรษของถิ่นนี้ในอดีต แม้ในจุลศักราช 636 (พ.ศ. 1818) พระยามังรายเสด็จมาเสวยราชสมบัติในเมืองฝาง ก็มิได้ปรากฏว่าพระองค์สร้างเมืองขึ้นใหม่

             ฝางและอำเภอใกล้เคียง (เวียงไชย เวียงแข่ เมืองงาม เป็นต้น) คงเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนแล้ว ในตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า  “อันเมืองฝางนั้น เป็นเมืองที่สร้างมาแต่โบราณกาลแล้ว หากจะพูดตามตำนาน ก็สร้างมาแต่สมัยพระเจ้าลวะจังกราชปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลาวจก และต่อมาในสมัยพระเจ้ามังราย บ้านเมืองเดิมก็คงชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แต่ด้วยเป็นที่อุดมสมบูรณ์ พระเจ้ามังรายจึงได้บูรณะขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

           จากการสำรวจโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุของกรมศิลปากร พบว่า พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดท่าตอน (ศาลาพุทธบุตรประชาสรรค์) ปางมารวิชัยประทับนั่ง 5 องค์ ปางประทับยืน 3 องค์ เป็นศิลปะล้านนา เป็นพุทธศิลป์ซึ่งทรงคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ มีอายุ 500-700 ปี มีคำจารึกที่ฐานพระพุทธรูป 2 องค์ ปางมารวิชัย ประทับนั่งองค์เล็กสุด (พระฝนแสนห่า) สร้างเมื่อจุลศักราช 910 (พ.ศ. 2092) ปางประทับยืนอุ้มบาตร บอกแต่เพียงชื่อผู้นำสร้าง และผู้ร่วมทำบุญ ไม่บอกศักราช ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่า วัดท่าตอน ได้สร้างมาแล้วเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี

           วัดท่าตอนเป็นวัดประจำอำเภอ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าตอน ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่มีทิวทัศน์งดงาม ตั้งอยู่บนไหล่เขาเรียงรายด้วยศาสนวัตถุสิ่งก่อสร้าง มีพื้นที่ทอดยาวตามเชิงเขาเป็นชั้น ๆ รวม 9 ชั้น มองเห็นได้แต่ไกลเมื่อท่านขึ้นไปบนวัดสามารถมองเห็นทัศนียภาพของอำเภอแม่อายและเทือกเขาต่าง ๆ อย่างสวยงาม

          วัดท่าตอนเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตั้งอยู่บนยอดเขาต่อเนื่องหลายลูก บนเนื้อที่ 425 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา แยกเป็นพื้นที่ตั้งวัดชั้นล่าง 45 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา และเป็นเขตอุทยานพุทธศาสนาและสำนักปฏิบัติธรรม 380 ไร่ 67 ตารางวา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชันมีที่ราบริมแม่น้ำกกบริเวณด้านหน้ามีมหาโพธิสัตว์กวนอิมและบริเวณลานวัดซึ่งมี พระบรมธาตุรัชมังคลาจารย์สมานฉันท์หรือพระเจดีย์แก้วประดิษฐานอยู่ เป็นวัดที่ท่านสามารถมาชมทะเลหมอกยามเช้าสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มที่ 

           เนื่องจากท่าตอนเป็นชายแดนติดต่อกับรัฐฉาน ประเทศพม่า ชาวบ้านท่าตอนในสมัยก่อนแม้กระทั่งปัจจุบัน จึงมีชาวไทยใหญ่ปะปนกับชาวพื้นเมืองมาแต่เดิม พ.ศ. 2424 คาร์ล บ็อค เดินทาง (ขี่ช้าง) มาสำรวจเมืองฝาง พบว่า  “ท่าตอง (ท่าตอน) เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ มีกระท่อมรวมกันราว 12 หลังคาเรือน กระจัดกระจายไปตามริมฝั่งทั้งสองข้างของแม่น้ำกก ท่าตองเป็นหมู่บ้านเงี้ยว (ไทยใหญ่) แท้ๆ ” ในปี พ.ศ. 2472 มีวัดไทยสร้างอยู่ลานว่างของหมู่บ้านตรงที่เป็นสถานีอนามัยในปัจจุบัน

สถานที่สำคัญ

            พระโพธิสัตว์กวนอิม

           ในการเดินทางท่องเที่ยวท่าตอนจะรู้ได้ว่าเดินทางมาถึงท่าตอนก็ตอนที่ข้ามสะพานแม่น้ำแม่กก มองไปรอบๆ จากบนสะพานจะเห็นรีสอร์ท โรงแรม ร้านอาหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่ที่ นอกจากนี้ที่สะดุดตาที่สุดก็คือวัดท่าตอน ซึ่งมีพระโพธิสัตว์กวนอิมบนผาสูงริมแม่น้ำไม่ห่างจากสะพานที่เรายืนอยู่มากนัก การเดินทางขึ้นวัดท่าตอนบนยอดเขา แบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 9 ชั้น พระโพธิสัตว์กวนอิม ถือว่าอยู่ชั้นที่ 1 ซึ่งประกอบไปด้วยพระธาตุจอมคีรีศรีปิงขอก ศาลาสุนทร โรงเรียนพระปริยัติธรรม

          พระเจดีย์องค์เดิม

               พระองค์ขาว

               พระพุทธนิรันดรชัย เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หน้าตักกว้างเก้าเมตร สีขาวนวล ศิลปะแบบพระสิงค์ ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐปูน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 นำโดยเจ้าอาวาสและคุณประยูร พงศ์ตันกูล

            พระสังกัจจายน์

            พระสังกัจจายน์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 รูปปูนปั้นศิลปะแบบจีน ยืนอยู่บนถ้ำ มีน้ำพุอยู่ข้าง อยู่ตรงทางโค้งประดุจจะคอยต้อนรับผู้มาเยือนวัด

           พระนาคปรก

          พระนาคปรก เป็นพระก่อด้วยอิฐปูน หน้าตักกว้าง 7 เมตรกว่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 ใต้ฐานเป็นห้องโถงเป็นที่ปฏิบัติกรรมฐานภาวนา

           พระบรมธาตุรัชมังคลาจารย์สมานฉันท์(พระเจดีย์แก้ว)

           พระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เรือนยอดเป็นทรงกลมประดับด้วยแก้ว 3 ประการ ได้แก่

-แก้วสี ส่วนที่เห็นเป็นเหมือนเครื่องเบญจรงค์ เปรียบเสมือนปุถุชน มีอารามณ์รัก โลภ โกรธ หลง การสร้างพระเจดีย์แก้วนี้มีส่วนที่มีสีเยอะ เพราะสร้างจากศรัทธาของปุถุชนร่วมสร้างมากที่สุด

-แก้วสะท้อนเงา เมื่อมองพระเจดีย์แก้วองค์นี้จากมุมสูงจะเห็นส่วนที่สะท้อนเงาของเจดีย์ซึ่งใช้สแตนเลสมิร์เรอร์ (แต่เราคงจะมองมุมสูงไม่ได้นอกจากนั่งเครื่องบิน) ส่วนแก้วสะท้อนเงาเปรียบเหมือนนักปฏิบัติธรรม ที่คิดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกว่าปุถุชน แต่ส่วนหนึ่งท่านก็ติดอยู่กับความดีนั้นจนไม่อาจจะหลุดพ้น

-แก้วใส ใช้เป็นช่องที่มองทะลุได้ในองค์เจดีย์ แก้วใสนี้เปรียบเสมือนกับผู้ที่หลุดพ้นไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งใดแล้ว

          พระอิ่มตลอดกาล

          พระพุทธรูปอิ่มตลอดกาล เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เป็นพระประจำวันพุธ ซึ่งเป็นพระประจำวันเกิดของ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (วัดปากน้ำ) ผู้สร้าง เป็นพระหล่อสัมฤทธิ์ สูง 9 เมตร ประทับยืนเด่นสง่า อยู่บนยอดเขาลูกสุดท้ายของวัดท่าตอน

           พระอุโบสถวัดท่าตอน

       

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่อง จาก

maypleblog.wordpress.com/วัดท่าตอนอุทยานพระพุทธ/

37,409 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่