คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดสวนดอก

ประวัติวัดสวนดอก

           ตั้งอยู่เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทาง ทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร เนื้อที่ของวัดมี 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดสวนดอกเป็นวัดที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย (อาณาจักรล้านนา) เป็นผู้ทรงสร้างซึ่งถือเป็นวัดมังรายเป็นผู้ทรงสร้างซึ่งถือเป็นวัดมังราย (อาณาจักรล้านนา) เป็นผู้ทรงสร้าง ซึ่งถือเป็นวัดที่สำคัญยิ่งในสมัยนั้นที่สำคัญยิ่งในสมัยนั้น สาเหตุที่ พระองค์ทรงสร้างเพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนา อีกทั้งเพื่อเป็นสถานที่อยู่และปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์พร้อมกันนั้นก็เป็นที่พุทธศาสนิกชนได้ใช้เป็นสถานที่ทำบุญและประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของชาวพุทธอีกด้วย ซึ่งคาดว่าวัดสวนดอกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ.1962

          วัดสวนดอกได้พัฒนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน รัฐบาลได้เห็นความสำคัญจึงส่งเสริม สนับ สนุน และยกย่องชมเชย พร้อมกับยกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อ พ.ศ. 2509 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2533วัดสวนดอกได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ

ความเป็นมาของชื่อวัด

          พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ได้ทรงพระราชทานอุทยานสวนดอกไม้ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า บริเวณอุทยาน สวนดอกไม้นี้ เต็มไปด้วยต้นพะยอม หรือมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สวนดอกไม้พะยอมเป็นที่สร้างวัด พร้อมกับ พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดบุปผารามซึ่งหมายถึง วัดแห่งสวนดอกไม้ ต่อมานิยมเรียกสั้นๆว่า วัดสวนดอก

พระบรมธาตุเจดีย์

          สร้างสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เมื่อปี พ.ศ.1916 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระสุมนเถระนำมาจากกรุงสุโขทัย เป็นศิลปะลังกาวงศ์ผสมล้านนา ลักษณะฐานสี่เหลี่ยมมีทางขึ้น 4 ด้าน ชั้นกลางลักษณะระฆังคว่ำแบบเจดีย์ลังกา พระบรมเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

ประวัติพระบรมธาตุเจดีย์

          พระมหาสุมนะเถระกับพญากือนาเป็นประธาน พร้อมกันก่อพระมหาชินะธาตุ เจดีย์ห่อหุ้มด้วยสุวรรณทองคำคล้ายกลุ่มดอกบัวที่พระองค์ทรงสุบินนิมิตฝัน เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าสถิตไว้ในพระมหาเจดีย์ แต่ก่อนที่จะเอาพระบรมธาตุบรรจุนั้น พญากือนากับพระมหาสุมนเถระ ได้ทรงอาราธนาพระบรมธาตุใส่ในโกศทองคำอันงามประณีตวิจิตรแล้วทรงสรงพระธาตุเจ้า ขณะเดียวกันนั้นพระบรมธาตุเจ้าก็แสดงปฏิหาริย์ให้สว่างไสวรุ่งเรืองงามยิ่งนัก ปรากฏแก่พญากือนาพร้อมทั้งบริวารทั้งปวง พระบรมธาตุได้แตกเป็นสององค์ สามองค์ และหลายองค์ลอยวนเหนือผิวน้ำ เต็มโกศทองคำเป็นสีต่าง ๆ มีสีนาก สีทองคำ สีมุก เสด็จลอยวนเหนือผิวน้ำ พญากือนากับทั้งบริวารทั้งปวงเห็นอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ก็น้อมนมัสการสักการบูชา หลังจากนั้นพญากือนาและพระมหาสุมนเถระเอาพระบรมธาตุออกจากโกศสรงน้ำมัน จึงได้พบพระบรมธาตุเพียงสององค์ องค์หนึ่งเล็ก อีกองค์หนึ่งเป็นดั่งปกติมีสี สันฐานวรรณะเสมอกัน พระมหาสุมนะและพญากือนาจึงอาราธนาพระบรมธาตุองค์ดั่งปกติเสมอเก่า บรรจุใส่ในโกศแก้วประพาฬอันเก่านั้น แล้วเอาโกศทองคำใส่โกศเงินโกศทองเหลืองลงออกมาใส่โกศดินเป็นลำดับซ้อนกันดุจดั่งเมื่อขุดครั้งแรกนั้นแล ส่วนอีกองค์หนึ่งนั้นพญากือนาเก็บรักษาไว้ แล้วก็สถาปนาพระบรมธาตุเจ้าใส่ไว้ในพระมหาเจดีย์ และทรงสร้างเจดีย์บริวารอีกเจ็ดองค์ ซุ้มประตูโขงพระเจดีย์ชั้นในและก่อกำแพงคูหาปราการโขงขั้นนอก พญากือนาได้เอาราชเรือนหลวงของพระองค์มาสร้างมหาวิหารหลังหนึ่งอันประณีตวิจิตรงดงามยิ่ง

           พระมหาสุมนเถระก็ได้อยู่บำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติปกครองวัดบุปผาราม โดยเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก พระพุทธศาสนาแบบลัทธิลังกาวงศ์จึงเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ในกาลครั้งนั้นพระภิกษุสามเณรในพิงคนครและบรรดาหัวเมืองน้อยใหญ่ในล้านนา มีเชียงตุง สิบสองปันนา เชียงแสน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน หริภุญชัย ฯลฯ พากันเดินทางมาศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะบาลีภาษาเป็นจำนวนมาก แล้วกลับเอาไปเผยแผ่ในภูมิลำเนาบ้านเกิดของตน พระพุทธศาสนาแบบลัทธิลังกาวงศ์เป็นอันประดิษฐานตั้งมั่นเป็นอันดีแล้วในล้านนาไทยประเทศ

พระเจ้าค่าคิง

          พระเจ้าค่าคิง เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง พระเจ้ากือนาธรรมิกราชโปรดให้ช่างสร้างขึ้นด้วยทองสำริด เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีขนาดเท่าพระวรกายของพระองค์ขณะประทับยืน หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตร ข้อมูลจากประชุมตำนานล้านนากล่าวว่า สร้างขึ้นโดยบัญชาของพระราชมารดาของพระเจ้ากือนา เพื่อถวายไว้แทนพระเจ้ากือนา เมื่อครั้งทรงประชวรหนัก จึงเป็นเหตุหนึ่งของการเรียกพระนามของพระพุทธรูปที่สร้างแทนพระองค์ว่า พระเจ้าค่าคิง

พระเจ้าเก้าตื้อ

          พระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด ศิลปะแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.70 เมตร หล่อด้วยทองสำริด ซึ่งมีน้ำหนัก 9 ตื้อ สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ.2047 เพื่อเป็นพระประธานในวิหารวัดพระสิงห์ เมื่อหล่อเสร็จไม่สามารถชักลากเข้าเมืองได้ จึงได้ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

ประวัติการสร้างพระเจ้าเก้าตื้อ

          ลุปี พ.ศ.2047 (จ.ศ.866) พระเมืองแก้วได้ทรงหล่อพระพุทธปฏิมากรองค์ใหญ่ ในวันพฤหัสบดี เดือน 3 (เดือน 5 เหนือ) ขึ้น 8 ค่ำได้ฤกษ์ 7 ตัว ชื่อปุณณะพสุดาวพิดานสำเภาทอง ที่หล่อพระพุทธรูปนั้นมีน้ำหนัก 1 ตื้อ คือ หนึ่งโกศตำลึง (ฝีมือช่างเชียงแสนที่ประณีตงดงามที่สุด หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูงแต่ฐานถึงยอดพระโมฬี 4 เมตร 70 เซนต์) มีที่ต่อ 8 แห่ง นับเป็นท่อนได้ 9 ท่อน นับตั้งแต่ลงมือหล่อพระพุทธรูป จนตกแต่งให้เป็นเงางามเรียบร้อยทุกประการ เป็นเวลานานถึง 5 ปี พ.ศ.2052 (จ.ศ.871) พระเมืองแก้วจึงทรงได้เสด็จราชดำเนินเป็นประธาน พร้อมด้วยหมู่เสนาอำมาตย์ มุขมนตรี เศรษฐีกฎุมพี ไพร่ราษฎ์ทั้งปวงและราชทูตแห่งท้าวพญาสามัญประเทศทั้งปวงทรงอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นสถิตประดิษฐานเหนือรัตนบัลลังก์ ในพระอุโบสถวัดบุปผาราม อันชนทั้งหลายเรียกว่า พระเจ้าเก้าตื้อนั้นแล พระมหาสังฆเถระราชาชั้นผู้ใหญ่ที่อาราธนานิมนต์มาอบรมสมโภชพระพุทธรูป มีจำนวน 1,000 รูป พระมหากษัตริย์เมืองแก้วทรงจัดการเป็นงานมหกรรมอันมโหฬารยิ่ง ถวายเครื่องไทยทานพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ทั่วทั้ง 1,000 รูป พระมหาเถรสังฆราชาและเสนาอำมาตย์ประชาราษฎ์ทั้งมวลประกาศเฉลิมพระนามพระเจ้าเมืองแก้วว่า พระเจ้าสิริทรงธรรมจักรพรรดิ์ราช

          นับตั้งแต่พระเจ้าสิริทรงธรรม ได้สร้างพระพุทธปฏิมากรองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้เหนือบัลลังก์อุโบสถวัดบุปผารามสวนดอกนั้น กิตติศัพท์อภินิหารก็เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ มีภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา นักบุญทั้งหลายเดินทางมานมัสการมิได้ขาด เหตุเพราะพระพุทธรูปเจ้านั้นมีอิทธิปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ด้วยแรงอธิษฐาน และสวยงามมาก พระปฏิมากรพระเจ้าเก้าตื้อ มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์อย่างอัศจรรย์ใจ สามารถบันดาลให้ผู้ศรัทธาเลื่อมใสประสบสิ่งอันพึงปรารถนา และสรรพมิ่งมงคล ใครมีความกลัดกลุ้มใจเศร้าหมองขุ่นมัว จิตเร่าร้อนกระวนกระวาย เมื่อได้มานั่งบูชาอธิษฐานตรงหน้าพระพักตร์พระเจ้าเก้าตื้อ เพ่งใจเป็นสมาธิ ส่งสายตาไปที่พระวรกายและพระพักตร์พระเจ้าเก้าตื้อ ทันใดนั้นเองด้วยฤทธิ์อันลี้ลับประหลาด เสมือนหนึ่งพระเจ้าเก้าตื้อฉายแสงธรรมรังษีเข้าไปขับไล่แปรสภาพจิตใจของผู้เพ่งพิศดู ขจัดขับไล่สิ่งเศร้าหมองขุ่นมัวความกลัดกลุ้มที่เกาะดวงใจให้หายไปอย่างประหลาด กลายเป็นเย็นระรื่นชุ่มชื่นเบิกบานใจอย่างประหลาดอัศจรรย์ เสมือนองค์พระเจ้าเก้าตื้อจะเผยโอษฐ์ยิ้มแย้ม ราวกับว่าพระองค์จะตรัสพระปราศรัยแก่ผู้เพ่งดู พร้อมกันนั้นเหมือนองค์ท่านลอยเข้าไปประทับอยู่ในเรือนใจของผู้เพ่งดู และจะรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจสบายอารมณ์ยิ่งนัก

          มีตำนานเล่ากันว่า มักจะมีผู้มาอธิษฐานขอบุตรและปรารถนาสิ่งต่างๆ มักจะประสบสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลทุกประการ พระปฏิมากรเก้าตื้อสำเร็จด้วยวัตถุเจตนา พิธีกรรมอันบริสุทธิ์สะอาด และด้วยพลังแรงอธิษฐานของผู้มีใจสะอาดสูงทรงคุณธรรม จึงเป็นพระพุทธปฏิมากรอันศักดิ์สิทธิ์และประณีตงดงามเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง และควรแก่การเคารพสักการะมาแต่โบราณกาล ทำให้มีผู้มานมัสการมิได้ขาดจนสถานที่พักไม่พอ จึงเป็นเหตุให้หมื่นจ่าบ้านพร้อมทั้งนักบุญทั้งหลายสร้างศาลาไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ไว้เป็นที่พักแก่ผู้จาริกมาแสวงบุญทั้งหลาย

          แม้ปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนจากกทุกสารทิศที่มาเที่ยวเมืองเชียงใหม่ จะขาดเสียมิได้ที่จะมากราบไหว้ปูชาพระเจ้าเก้าตื้อที่วัดสวนดอกแห่งนี้ เพราะพระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปศักดิ์ของเมืองเชียงใหม่ที่งดงามที่สุดในล้านนา โดยมีน้ำหนักที่คำนวณได้จากมาตราชั่งของไทย 126,000 กิโลกรัม (1 ตื้อ= 1,400 กิโลกรัม)

พระวิหารหลวง

          มีขนาดความกว้าง 12 วา 2 ศอกยาว 33 วาสร้างเมื่อพ.ศ.2474-2475 โดยครูบาเจ้าศรีวิชัยและเจ้าแก้วนวรัฐเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีลักษณะพิเศษคือเป็นวิหารโถงไม่มีฝาผนังมีแต่ระเบียงโดยรอบหน้าบันทั้งสองด้านมีลายปูนปั้นแบบเครือเถาศิลปะล้านนาที่สวยงามขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

ประวัติการสร้างพระวิหารหลวง

          ลุสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายและพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้ทรงทราบข่าวการปฏิบัติเคร่งครัดในศีลาวัตรของครูบาเจ้าศรีวิชัย บุตรนายควายและแม่นางอุษา ชาวบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นผู้มีบุญฤทธิ์ มีผู้นิยมศรัทธาปสาทะเลื่อมใสเป็นอันมาก จึงได้ไปกราบอาราธนามาเป็นประธาน ก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระวิหาร พระเจดีย์ ซุ้มประตูกำแพง ตามราชศรัทธาของเจ้าพ่อแก้วนวรัฐและพระราชชายาดารารัศมี ตลอดศรัทธาพุทธบริษัททั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ครูบาศรีวิชัยจึงได้รับอาราธนานิมนต์มาเป็นประธาน  ครั้นถึงวันแรม 10 ค่ำ เดือน 8 (เดือน 10 เหนือ) จ.ศ.1293(ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2474) ได้ฤกษ์ปุณณดิถี จึงได้เริ่มลงมือขุดรากฐานวิหารวัดสวนดอกยาว 33 วา กว้าง 12 วา กับ 2 ศอก จำนวนเสา 56 ต้น และได้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์บูรณะกำแพงซุ้มประตูพร้อมกันไปด้วย ด้วยเดชะอำนาจบุญญาบารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย ผู้ยิ่งด้วยศีล เมตตา สัจจะ อธิษฐาน และทานบารมี ก็เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ จนมีศรัทธานักบุญทั้งหลายมาชื่นชมยินดีช่วยสละทรัพย์ตามศรัทธา ผู้ที่ไม่มีทรัพย์ก็สละแรงกายช่วยด้วยจิตอันเลื่อมใส มีสาธุชนหลั่งไหลมาจากทุกทั่วสารทิศ บางคนก็บริจาคทองคำช่วยทำยอดฉัตรเจดีย์ 9 ชั้น วันหนึ่งๆ มีผู้มาชื่นชมอนุโมทนาสาธุการ 6,000-7,000 คน การบูรณะวัดสวนดอกครานี้ นับว่าเป็นการบูรณะที่ยิ่งใหญ่เหลือวิสัยที่จะมีผู้ทำได้ครั้งหนึ่ง แต่ชะรอยท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นนักบุญแห่งล้านนา สั่งสมบารมีมานับชาติไม่ถ้วน จึงได้ทำการปฏิสังขรณ์สำเร็จ ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้มาร่วมอนุโมทนายิ่งนัก ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังได้หล่อพระพุทธรูปเท่าองค์ครูบาด้วยทองเหลืองสององค์ ยืนสถิตบนแท่นแก้ว (บนฐานชุกชี) ในพระวิหาร รวมทุนทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ทั้งหมดสิ้นจำนวน 65,406 รูปี ใช้เวลา 8 เดือน จึงเสร็จบริบูรณ์แล้วก็จัดการปรับแต่งบริเวณลานวัดให้สะอาด เป็นรมณียสถานร่มรื่น เมื่อเสร็จสิ้นการบูรณะวัดสวนดอก ครูบาเจ้าศรีวิชัยพร้อมด้วยนักศีลนักบุญ และศรัทธาทั้งหลายก็ฉลองอบรมสมโภชเป็นการมโหฬารใหญ่ยิ่ง

กู่ครูบาเจ้าศรีวิชัย

          สถานที่บรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา สร้างเมื่อ พ.ศ.2490 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสวนดอก เมื่อพ.ศ. 2474-2475 และเพื่อเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

กู่เจ้าหลวงเชียงใหม

            สถานที่บรรจุอัฐิ ตั้งแต่ปฐมกษัตริย์ถึงพระองค์สุดท้าย พระประยูรญาติ ในตระกูล ณ เชียงใหม่ และผู้สืบเชื้อสายสกุลเจ้าเจ็ดตน เมื่อ พ.ศ.2452 ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

           ในปี พ.ศ. 2451-2452 พระราชชายาดารารัศมีทรงพิจารณาเห็นว่า (กู่) อนุสาวรีย์เจ้าผู้ครองนครและพระประยูรญาติทั้งหลายตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศตะวันตก (ตลาดวโรรสแถวตรอกข่วงเมรุ) เป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากในฤดูฝน น้ำก็มักจะเข้าไปท่วมขังอยู่เป็นประจำ จึงย้ายมาตั้งไว้ที่วัดสวนดอกจนตราบทุกวันนี้

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่อง จาก

www.watsuandok.com

www.oknation.net

www.chiangmainews.com

 

31,426 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่