คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ออบขาน

อุทยานแห่งชาติออบขาน

           ออบขาน   เป็นพื้นที่ตามภาษาท้องถิ่นในลักษณะ “ออบ” ลักษณะเป็นหน้าผาหินสูงชันสองด้านหันเข้าหากันในลักษณะแบบโตรกธาร (Gorge) ลักษณะดังกล่าวเกิดจากยกตัวของเปลือกโลกเมื่อหลายล้านปีก่อน ผ่านการกัดเซาะของกระแสน้ำจนทำให้หินมีรูปร่างแปลกตา คล้ายกับที่ออบหลวง โดยมีแม่น้ำขานเป็นแม่น้ำที่ไหลพาดผ่าน จึงเรียกกันว่า “ออบขาน” ออบขานตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติออบขาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เหมาะแก่การเดินศึกษาธรรมชาติโดยเฉพาะการเดินลัดเลาะไปตามแม่น้ำแม่ขาน

         ความสำคัญของอุทยานแห่งชาติออบขาน ที่ครอบคลุมอำเภอสะเมิง อำเภอหางดง อำเภอแม่วาง และอำเภอสันป่าตองแห่งนี้ คือเป็นแหล่งที่พบเอื้องมณีไตรรงค์แห่งเดียวในประเทศไทย โดยเอื้องชนิดนี้จะบานในช่วงเดือนมกราคม ที่นี่มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 484 ตารางกิโลเมตร หรือ 302,500 ไร่

           ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูนและหินอัคนีเรียงรายสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เป็นแนวเทือกเขาติดต่อมาจากเทือกเขา ในเขตอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ภูเขาส่วนใหญ่จะไม่สูงมากนัก ยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ ยอดขุนเตียน สูง 1,550 เมตร ดอยขุนห้วยพระเจ้า สูง 1,443 เมตร ดอยขุนวินสูง 1,424 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นต้น กำเนิดแม่น้ำ ลำห้วยสายสำคัญที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง ได้แก่ น้ำแม่ขาน น้ำแม่วาง น้ำแม่เตียน ห้วยแม่วิน ห้วยแม่โต๋ ห้วยแม่ขนิล ห้วยหละหลวง เป็นต้น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ลักษณะพื้นที่มีความลาดชันสูง โดยเฉลี่ยประมาณ 800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ราบขนาดเล็กตามริมแม่น้ำ ลำห้วย และที่ราบเชิงเขาเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่

          ภูมิอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างจะร้อนในฤดูร้อน อากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว และมีฝนตกชุก เป็นช่วงระยะสั้นๆ ในฤดูฝน ฤดูร้อนค่อนข้างยาวนาน

           เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง-ต่ำสลับซับซ้อน สภาพป่าจึงมีหลายประเภท ประกอบด้วย ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ในบริเวณพื้นที่ที่มีระดับความสูงประมาณ 400-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป จะเป็นป่าดิบเขา และป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กระบก กระบาก ยมหอม แดงน้ำ สมพง ยาง ก่อ จำปีป่า ทะโล้ อบเชย กำยวน สนสองใบ สนสามใบ สัก เต็ง รัง พลวง ประดู่ มะค่าโมง ยางนา ตะแบก ตะคร้อ ตีนนก สมอไทย และไผ่ชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังพบพันธุ์พืชหายาก เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี
สัตว์ป่าที่พบ ได้แก่ เลียงผา เก้ง หมีขอ หมีควาย เสือปลา เสือไฟ กระจง อีเห็น กระต่ายป่า หมูป่า ชะนี ลิง นางอาย พังพอน เม่น หมาจิ้งจอก กระรอก กระแต หนูต่างๆ ตะพาบน้ำ เต่าปูลู ไก่ฟ้า และนกชนิดต่างๆ จำนวนมาก เป็นต้น

บ้านพักและค่ายพักแรม

               สามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค
กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก 

ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก

www.TopChiangmai.com

www.zthailand.com

คุณวีรยา ธรรมสโรช

7,883 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่