คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ภูษาทรงเจ้าดารารัศมี

ภูษาทรงพระราชชายา เจ้าดารารัศมี

พระประวัติของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี

               พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เป็นธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 กับเจ้าแม่ทิพเกสร พระองค์ได้เข้าเฝ้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.. 2429 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชธิดา 1 พระองค์ พระนามว่า พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 3 ขวบเศษ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "พระราชชายา" เมื่อปี พ.. 2451

               ภายหลังจากรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จสวรรคต ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จกลับมาประทับยังนครเชียงใหม่ ใน พ.. 2457 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงประกอบพระกรณียกิจนานัปการ ที่ยังคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ทั้งในด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมฟื้นฟูงานศิลปหัตถกรรมต่่างๆ เช่น นาฏศิลป์ หัตถกรรม วรรณกรรม ทนุบำรุงพระศาสนา ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ  อุปถัมภ์การศึกษาและส่งเสริมการเกษตรกรรม พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการประสานความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองเหนือกับสยามให้เป็นปึกแผ่นเดียวกันอย่างมั่นคงตราบทุกวันนี้

               เมื่อครั้งที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากประพาสยุโรป พ.. 2440 โปรดฯ ให้มีการแก้ไขวัฒนธรรมการแต่งกายในราชสำนักสยามอย่างเป็น "การใหญ่" ทั้งฝ่ายในและฝ่ายหน้า โดยนำแบบการแต่งกายของชาวตะวันตกมาผสมผสานกับแบบการแต่งกายตามประเพณีเดิม โปรดให้สตรีเปลี่ยนการไว้ทรงผมดอกกระทุ่มจอนยาวมาไว้ผมยาวแล้วดัดแบบฝรั่ง เพื่อให้เหมาะสำหรับ "การเข้าสมาคมแบบฝรั่ง" เป็นการปรับปรุงตามประเพณีนิยมของชาวตะวันตกเป็นครั้งแรก

               เครื่องแต่งกายแบบอังกฤษสมัยพระราชินีวิกตอเรีย ได้เข้ามามีบทบาทในราชสำนักฝ่ายใน ลักษณะเสื้อแขนยาว จับจีบพองเป็นช่วงๆ ได้แก่ ตั้งแต่ไหล่ถึงต้นแขน และจากข้อศอกถึงข้อมือ อย่างที่เรียกกันว่า "เสื้อแขนหมูแฮม" หรือ "ขาหมูแฮม" คอเสื้อตั้งสูง ตัดพอดีตัว เสื้อผ่าหลังติดกระดุมเรียงราย 12 เม็ด เอวจีบเข้ารูปแต่งระบายลูกไม้ และยังมีแผงลูกไม้คลุมไหล่และอกด้านหน้าอีกด้วย ซึ่งผ้าลูกไม้ต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ   นอกจากนี้ได้มีการประยุกต์ผ้าสไบที่เคยใช้เป็นผ้าผืนหลักในการปกปิดร่างกายส่วนบน ดังที่เคยห่มสไบเฉียง ที่เรียกว่า "ห่มนอก" เปลี่ยนแปลงมาเป็นผ้าสะพายไหล่ โดยทำผ้าสไบให้ผืนแคบลง ขึงกลางผืนไว้บนบ่าซ้าย และรวบชายทั้งสองไว้ที่เอวด้านขวา เรียกกันว่า "แพรสะพาย" กลายมาเป็นเพียงเครื่องประดับชิ้นหนึ่งที่เพิ่มความงามให้แก่เสื้อ

                  เสื้อลูกไม้แขนหมูแฮมมักใส่คู่กับการสวมถุงเท้ายาวและรองเท้าแบบคัทชูส้นคล้ายรองเท้าผู้ชาย ส่วนผ้านุ่งนั้นหากเป็นสตรีในราชสำนักสยามยังคงนุ่งโจงกระเบนผ้าม่วง แต่สำหรับพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงโปรดปรานที่จะนุ่งคู่กับ "ผ้าซิ่นลุนตะยาอาฉิก" (เขียนได้หลายแบบ -ลุนตยาอะฉิก)

               สำหรับความเป็นมาของผ้า "ลุนตะยาอาฉิก" นั้น จากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่างล้านนากับพม่า ทำให้ราชสำนักล้านนาก็มีการนำเอาผ้าของพม่าใช้นุ่งเป็นเครื่องแต่งกายด้วย โดยเฉพาะเจ้านางหรือสตรีสูงศักดิ์ จะนุ่งผ้า "ลุนตะยาอาฉิก" ของพม่าเพื่อแสดงถึงฐานะ ผ้าลุนตะยาอาฉิก เป็นผ้าที่ทอด้วยเส้นไหม ใช้เทคนิคเกาะล้วง (Tapestry Weaving) ทอเป็นลวดลายเกลียวคลื่นสลับกับลายเครือเถา อ่อนช้อยงดงาม บางผืนใช้เส้นไหมเงินหรือไหมคำ (ไหมทอง) ทอแทรกเข้าไปในเนื้อผ้าหรือปักด้วยดิ้นโลหะมีค่า นับเป็นผ้าที่ทอยากและใช้เวลาทอนาน ถือเป็นของดีและมีราคา การนุ่งผ้านั้นจะนำผ้าลุนตะยาอาฉิกมาเย็บเป็นผ้าถุงต่อหัวซิ่นสีดำ  นุ่งแบบกรอมเท้า ผ้าถุงพม่าทั่วไปตามแบบแผนแล้วเป็นผ้าซิ่นที่มีชายยาวลากพื้น ซึ่งเป็นผ้าผืนกว้างที่ไม่ได้เย็บริมตะเข็บ นุ่งทบกันไว้ด้านหน้า แต่สำหรับพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงโปรดให้นำเชิงซิ่นตีนจกมาเย็บต่อด้านล่างของซิ่นลุนตะยา

 

               ผ้าลุนตะยาอาฉิก บางครั้งเรียกย่อว่าผ้า "ลุนตยา" ชาวพม่าออกเสียง "โลนตะหย่า" แปลว่า ร้อยกระสวย เนื่องจากเป็นผ้าทอเทคนิคพิเศษที่ต้องใช้กระสวยบรรจุเส้นไหมสีต่างๆ นับร้อยๆ กระสวย ส่วน "อะฉิก" หรือ "อาฉิก" แปลว่าลายคลื่น เรียกตามลวดลายลูกคลื่นที่ปรากฏบนผ้าทอ  ลายลูกคลื่นนี้ไม่ใช่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้มีความงามพลิ้วไหวเท่านั้น แต่ยังซ่อนสัญลักษณ์คติจักรวาลทางพุทธศาสนาอีกด้วย เหตุเพราะลายลูกคลื่นนี้ทำซ้อนขดตัวกันถึงเจ็ดชั้นไล่โทนสีกันไป หมายถึงเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้งเจ็ดที่ตั้งรายล้อมเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของโลก  ภูเขาทั้งเจ็ดลูกนับจากชั้นในสุดออกมา   กอปรด้วย ยุคันธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร  วินันตะกะ อัสกัณณะ แต่ละช่วงภูเขาถูกขั้นด้วยมหานทีสีทันดร เกลียวคลื่นทะเลนี้ถ่ายทอดบนผืนผ้าด้วยลายโค้งมนตอนล่างรองรับเขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งเวลาทอช่างต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งด้วยเทคนิคการล้วงแบบพิเศษ เพราะไม่ใช่ลายเรขาคณิตเหมือนผ้าทอประเภทอื่นๆ

               ลุนตะยาอาฉิกเป็นผ้าซิ่นของชาวพม่าที่ใช้กันแพร่หลายในราชสำนักอังวะ มัณฑะเล อมรปุระ ย่างกุ้ง และเมืองตองคยีแถบรัฐฉาน ถือเป็นผ้านุ่งและผ้าโจงของกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพญาที่ใช้สืบต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี

 

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก 

ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ

และภาพ จาก

www.thairath.co.th

www.painaidii.com

20,598 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่