คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

หมาตักน้ำ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากวัสดุธรรมชาติ

   หมาตักน้ำ เป็นของใช้อย่างหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช ใช้สำหรับตักน้ำ จากห้วย หนอง คลอง สระ
ในการทำหมาตักน้ำนั้น ชาวบ้านทางใต้นิยมทำ" หมาจาก" มากกว่าชนิดอื่น ๆ 
         คำว่า "หมา" นี้ บางทีก็เรียก ติหมา หรือ ตีหมา ผู้รู้กล่าวว่าไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็นคำที่มาจากภาษามลายู คือคำว่า Timba ซึ่งหมายถึงภาชนะตักน้ำที่ทำจากใบจาก หรือ กาบ
         หมา ติหมา ตีหมา เป็นภาชนะตักน้ำอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ ทำด้วยกาบหรือใบของพืชตระกูลปาล์มที่หาได้ในท้องถิ่น การเรียกชื่อบางครั้งจึงมีชื่อของพืชที่นำมาเป็นวัสดุทำต่อท้ายด้วย เช่น
-ถ้าทำจากใบจากก็เรียกว่า"หมาจาก"
-ถ้าทำจากต้อหมาก (กาบหมาก) ก็เรียกว่า "หมาต้อ"
-ถ้าทำจากกาบเหลาชะโอนก็เรียกว่า "หมาต้อหลาวโอน" (หรือ "หมาต้อ" เช่นเดียวกัน)
แต่บางคนก็ใช้คำว่า "หมา" "ติหมา" หรือ "หมาตักน้ำ" รวม ๆ กันไปโดยไม่คำนึงถึงวัสดุที่ใช้ทำในท้องถิ่นบางแห่ง
          จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการใช้คำว่า "หมา" ในความหมายที่กว้างออกไป หมายถึงภาชนะตักน้ำปัจจุบันเรียกภาชนะตักน้ำที่ทำด้วยสังกะสี อะลูมิเนียม หรือเหล็กว่า "หมาถัง" หรือ "หมาถั้ง" ที่ทำด้วยพลาสติกก็เรียกว่า "หมาพลาสติก" อันเป็นการรักษาชื่อเต็มที่ขึ้นต้นด้วย "หมา" เอาไว้
           ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีภาชนะตักน้ำที่ทำทั้งกาบหมาก  กาบต้นหลาวโอนและใบของต้นจากแต่ไม่ได้ทำด้วยสิ่งเหล่านี้ในทุกท้องที่  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับในท้องที่นั้นจะมีสิ่งใดที่ใช้ทำ ปัจจุบันนี้แม้ภาชนะตักน้ำที่ทำด้วยสังกะสี (ซึ่งเรียกว่าถัง) หรือพลาสติกจะเข้าไปแทนที่หมากตักน้ำที่ชาวนครใช้มาแต่โบราณมากขึ้น   แต่หมาตักน้ำก็ยังคงมีใช้กันอยู่ในครัวเรือนไม่น้อย โดยเฉพาะ "หมาจาก" ซึ่งเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านแถบลุ่มน้ำปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่และอำเภอหัวไทร  อันเป็นบริเวณที่มีต้นจากขึ้นอยู่ชุกชุม
             การทำหมาตักน้ำด้วยใบจาก  เริ่มด้วยตัดเอายอดจากซึ่งเป็นยอดอ่อนที่รวมกันแน่นไม่แตกออกเป็นใบ มาจัดเอาแต่ใบ นำใบไปตากแดดพอหมาด ๆ แล้วนำไปสอด การสอดหมาจากต้องคลี่ใบออกข้างหนึ่งแล้วสอดต่อกันกลับหัวกลับหางไปเรื่อย ๆ จนได้ขนาดตามที่ต้องการจึงรวบหัวรวบท้ายเข้าประสนกันม้วนกลม แล้วใช้ก้านใบจากผูกฝึกไว้  ก็ได้หมาจากตามต้องการ และถ้าจะให้สวยงามและทนทานก็ใช้หวายหรือคล้าแทง เย็บรอยต่อระหว่างใบจากแต่ละใบเพื่อกันไม่ให้หลุดได้ง่ายด้วย

วิธีการทำหมาตักน้ำ
        ในบรรดาหมาที่ทำจากพืชตระกูลปาล์มในท้องถิ่นภาคใต้ หมาจากออกจะเป็นที่นิยมทำและใช้กันมากกว่าชนิดอื่น ๆ ประกอบกับเห็นว่ามีรูปลักษณะสวยงามและมีกรรมวิธีการทำที่น่าสนใจกว่าหมาชนิดอื่นซึ่งทำขึ้นเพียงเอากาบมาห่อตัวเป็นรูปหมาเท่านั้น ในที่นี้จึงกล่าวถึงเฉพาะการทำหมาจากเท่านั้น การทำเริ่มด้วยการตัดเอายอดจากที่เป็นยอดอ่อน ๆ ซึ่งมีใบรวมกันหนาแน่นและยังไม่แตกออกมาจากยอดเป็นใบ ๆ (ถ้ายอดเริ่มแตกใบก็แสดงว่าใบเริ่มแก่แล้วใช้ไม่ได้) นำเอายอดนั้นมาตัดเอาแต่ละใบที่เห็นว่ามีขนาดพอจะใช้ทำหมาได้ตากแดดให้พอหมาด ๆ เพื่อนำไปสอดได้สะดวก เมื่อสอดต้องคลี่ใบออกข้างหนึ่งแล้วสอดให้แต่ละใบสลับโคน - ปลายไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ปลายทั้งสอง ข้างมีขนาดเท่า ๆ กัน เมื่อสอดไปจนได้ขนาดตามต้องการก็รวบปลายทั้ง 2 ข้างเข้าหากันเพื่อผูกติดกันเป็นที่ถือเวลาจะใช้ตักน้ำ หมาที่ทำเสร็จแล้วอาจมีขนาดใหญ่ - เล็กต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดความยาวและใหญ่ของจากที่นำมาสอดและจำนวนใบที่ใช้สอย และถ้าต้องการให้หมานั้นสวยงามและทนทานใบจากไม่แยกออกจากกันง่าย ๆ ก็ใช้หวายหรือคล้าแทงเย็บรอยต่อระหว่างใบจากแต่ละใบตามแนวขวางของใบจากที่สอดกันนั้น โดยพยายามเย็บให้เป็นแนวตรงส่วนกลางของหมา เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงในการรับน้ำหนักของน้ำ การเย็บนี้อาจเย็บหลายแถวก็ได้ แต่ถ้าเป็นหมาขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องเย็บ

ชนิดของหมา
          1. ชนิดตามลักษณะของการผูกปลายของตัวหมาให้เป็นที่ถือคือ "หมาโผ้" (โผ้ - ตัวผู้) หมายถึง หมาที่เอาปลายทั้ง 2 มาผูกไขว้กัน 
          2."หมาเหมีย"(เหมีย - ตัวเมีย) หมายถึงหมาที่เอาปลายทั้ง 2 ข้างมาสอดผูกแนบกัน

ประโยชน์ของหมา
        นอกจากทำด้วยวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นภาคใต้ และราคาไม่แพงแล้ว ยังเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการใช้อีกหลายประการ เช่นมีน้ำหนักเบา มีที่ยึดถือหรือสำหรับผูก และสามารถตะแคงหรือคว่ำตัวได้เองเพียงแต่วางบนผิวน้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของการคิดที่สัมพันธ์กับการใช้ของชาวบ้าน หมาจึงเป็นภาชนะที่นิยมใช้กันทั่วไปในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ตักน้ำในบ่อ ในสระ หรือในพัง ซึ่งผู้ใช้ไม่ต้องออกแรงกระตุกเหมือนการใช้ภาชนะสมัยใหม่อื่น ๆ นอกจากนั้นชาวบ้านยังใช้หมาในทางอื่น ๆ อีก เช่น ใช้วิดน้ำเรือ ตลอดจนใช้ตักน้ำอย่างเช่นภาชนะตักน้ำอื่น ๆ ทั่วไปด้วยหมาเป็นเครื่องใช้ตักน้ำที่ทดแทนการใช้ขันน้ำพลาสติก หรือขันน้ำจากวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ โดยทำง่าย ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะวัสดุได้มาจากธรรมชาติและช่วยอนุรักสิ่งแวดล้อมด้วย

33,487 views

2

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครศรีธรรมราช