คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เดือนยี่เป็ง

ประเพณีลอยกระทงเชียงใหม่

ลอยกระทง เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สันนิษฐานกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพิธีตามประทีปหรือทีปาวลีของอินเดีย ซึ่งจะมีการลอยกระทงเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามของศาสนาพราหมณ์ คือ พระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ และไทยได้รับเอาคติความเชื่อนี้เข้ามาปรับกับความเชื่อของท้องถิ่น เกิดเป็นประเพณีการลอยกระทง เพื่อขอขมาลาโทษพระแม่คงคาขึ้น ทั้งนี้เพราะชาวไทยสมัยก่อนประกอบอาชีพเกี่ยวกับ การกสิกรรมซึ่งจะต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร

 

เดือนยี่เป็ง ตรงกับเดือนพฤศจิกายน หรือช่วงวันลอยกระทง เป็นประพณีเก่าแก่ของล้านนาที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ โดยจะมีการจัดแต่งเครื่องสักการะบูชาใส่กระทง จุดธูปเทียน และนำลอยลงในน้ำ กล่าวกันว่าพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นผู้ริเริ่มการลอยกระทงที่เชียงใหม่เป็นคนแรก โดยจุดเทียนบนกาบมะพร้าวที่ทำเป็นรูปเรือเล็ก หรือรูปหงส์ และใช้ท่อนไม้ปอทำเป็นรูปเรือ แต่ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะชาวบ้านทั่วไปนิยมการประดับตกแต่งด้วยโคมหรืออย่างอื่นมากกว่า

จึงเป็นที่มาของสัญลักษณ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาในการจัดทำเครื่องสักการะเพื่อใช้ในการบูชาตามความเชื่อของชาวล้านนาในเดือนยี่เป็งมากมาย อาทิ

 

โคมยี่เป็ง สำหรับใช้ใส่ผางประทีปให้เกิดแสงในช่วงหัวค่ำ โดยการแขวนค้างโคมตามพระธาตุเจดีย์ หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน โคมมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น อาทิ โคมรังมดส้ม(โคมธรรมจักร) โคมดาว โคมไห โคมเงี้ยว(โคมเพชร) โคมกระบอก โคมหูกระต่าย โคมดอกบัวโคมญี่ปุ่น โคมผัด ฯลฯ วิธีการทำโคมจะใช้ไม้ไผ่เฮียะนำมาหักขึ้นเป็นโครง ติดกระดาษสาหรือกระดาษแก้ว ผ้าดิบ ตัดลายกระดาษสีเงิน สีทอง ประดับตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม 

 

ว่าวฮม หรือโคมลอย เป็นโคมที่ใช้ความร้อนในการพยุงให้ลอยขึ้นไปในอากาศ ชาวล้านนาเชื่อว่า การปล่อยว่าวฮมพร้อมกับสวยดอกไม้ธูปเทียนที่นำผูกติดกับตัวว่าวขึ้นไป เพื่อสักการะพระเกศแก้วจุฬามณีหรืออีกความเชื่อว่า การปล่อยว่าวฮมสามารถปล่อยเคราะห์หรือสิ่งไม่ดีได้ จึงนิยมตัดเล็บและเส้นผมใส่ลงไปในสะตวงเพื่อลอยเคราะห์ให้ออกไปจากตัว หรือบางที่ก็ผูกจดหมายเขียนคร่าวร่ำ(ค่าวฮ่ำ) และใส่เงินเป็นรางวัลให้สำหรับผู้เก็บว่าวที่ตกได้ 

 

ว่าวไฟหรือโคมไฟ นิยมใช้ปล่อยให้ลอยขึ้นสู่อากาศในช่วงกลางคืน วิธีการทำใช้หลักการเดียวกันกับการทำว่าวฮมแต่มีขนาดเล็กกว่า ว่าวไฟอาศัยความร้อนจากลูกไฟที่ผูกติดกับแกนกลางทำให้ว่าวลอยขึ้นสู่อากาศ 

 

บอกไฟ หรือ พลุดอกไม้ไฟ เพื่อใช้จุดเป็นพุทธบูชา , จุดบูชาประกอบพิธีเทศน์มหาชาติหรือตั้งธรรมหลวง และเป็นเครื่องเล่น บอกไฟล้านนามีหลายชนิด เช่น บอกไฟยิง บอกไฟข้าวต้ม บอกไฟหมื่น บอกไฟขึ้น บอกไฟจักจั่น บอกไฟดอก บอกไฟดาว บอกไฟน้ำต้นหรือบอกไฟมะขี้เบ้า บอกไฟช้างร้อง บอกไฟเทียน เป็นต้น 

 

ผางประทีสหรือผางประทีป เป็นเครื่องสักการบูชาในพระพุทธศาสนา คำว่า ผาง คือ ภาชนะดินเผาคล้ายถ้วยเล็กๆ ใช้เป็นถ้วยสำหรับใส่ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน โดยไส้ของประทีสจะทำมาจากเส้นฝ้าย ส่วนคำว่า ประทีส คือ แสงสว่าง

 

ปัจจุบัน เดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ได้หลอมรวมเอาทั้งความเชื่อ ภูมิปัญญา และการท่องเที่ยว กลายเป็นเทศกาลท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเข้ามาเที่ยวชมงานลอยกระทงจังหวัดเชียงใหม่เป็นจำนวนมากทุกๆ ปี

 

ที่มา http://library.cmu.ac.th/

10,876 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่