กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

02 มีนาคม 2566

ชื่นชอบ 982

259,084 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่บริเวณ พระราชวังบวรสถานมงคลหรือ วังหน้าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 ในคราวเดียวกับพระบรมมหาราชวัง พระราชวังแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชถึง 5 พระองค์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช พระราชวังแห่งนี้จึงว่างลง จึงโปรดเกล้าฯให้ มิวเซียมหลวงณ ศาลาสหทัยสมาคมหรือหอคองคอเดีย ในพระบรมมหาราชวังมาตั้งแสดง

 

สมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชมณเฑียรสถานในพระราชวังสถานมงคลทั้งหมดจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครและประกาศตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเมื่อปี พ.ศ.2477 การจัดแสดงแบ่งเป็นเรื่อง

 

  • ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน (ห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย” อาคารพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน) ร่วมค้นหาที่มาของประวัติศาสตร์และอารยธรรมที่รุ่งเรืองของไทย  ผ่านศิลปโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมทุกสมัยที่พบในประเทศไทย ตามลำดับเวลาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี (เขมรในประเทศไทย)  สุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์

 

  • ประณีตศิลป์สืบสมัย  ชมงานประณีตศิลป์ชิ้นเอกที่จัดแสดงภายในหมู่พระวิมานพระราชฐานชั้นใน อันเคยเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหลายพระองค์ และงานประณีตศิลป์ โดยจัดแสดงเป็นหมวดหมู่ ได้แก่ เครื่องคชาธาร  เครื่องสูง  เครื่องนาฏดุริยางค์  เครื่องถ้วย เครื่องโลหะ เครื่องราชยานคานหาม เครื่องไม้แกะสลัก ผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา  เครื่องมุก  และเครื่องอาวุธ เป็นต้น

 

  • ประวัติศาสตร์ศิลป์ไทยสืบสาน (ส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี อาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์) ศึกษารูปแบบและวิวัฒนาการของศิลปะโบราณคดีในประเทศไทย ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ศรีวิชัย เทวรูปโบราณ ลพบุรี (เขมรในปะเทศไทย) สุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์

 

  • โบราณสถานวังหน้า (โบราณสถาน อาคารประวัติศาสตร์ ภายในพิพิธภัณฑสถาน) ชมสถาปัตยกรรมชั้นเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  อาคารโบราณสถานวังหน้า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่ครั้งโบราณกาลและจิตรกรรมฝาผนังสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง  พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน  พระตำหนักแดง  ศาลาสำราญมุขมาตย์ ศาลาลงสรง  พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  เก๋งนุกิจราชบริหาร อาคารสถาปัตยกรรมจีนหลังเดียวที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในวังหน้า  อาคารโรงราชรถ และหอแก้วศาลพระภูมิ

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

• พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะสุโขทัย-ล้านนา
• ศิลาจารึกหลักที่ 1
• พระคเณศวร ศิลปะชวาตะวันออก
• พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะศรีวิชัย

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 4 ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 02-224 1402 / 02-224 1333
โทรสาร : 02-224 7493
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/museumbangkok/
อีเมล : education.nmb@gmail.com

วันและเวลาทำการ

วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.

(ยกเว้นเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์)

เวลา 09.00-16.00 น.

ค่าเข้าชม

  • คนไทย 30 บาท  
  • ชาวต่างประเทศ 200 บาท
  • ยกเว้นค่าเข้าชม : เด็ก / นักเรียน / นักศึกษา / ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป / พระสงฆ์ / สมาชิก ICOM ICOMOS (แสดงบัตร)

การเดินทาง

รถโดยประจำทางสาย 3, 6,  9, 30, 33, 43, 53, 59, 64, 65, 70, 80, 82, 91, 123, 124, 201, 503, 507, A4

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีทางลาดสำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

 

 

307

แบ่งปัน

กิจกรรม

18 พ.ค. 2566

28 พ.ค. 2566

18 พฤษภาคม 2566
เนื่องในเดือนแห่งการเริ่มต้นการกสิกรรม กรมศิลปากร โดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๕ และ ครั้งที่ ๖ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๒.๐๐ น. การเสวนาวิชาการและบรรยายนำชม เรื่อง “พืช-พันธุ์-ธัญญาหาร จากโบราณวัตถุในมิวเซียม” วิทยากรในการเสวนาฯ นายธนโชติ เกียรติณภัทร : อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ : ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้ดำเนินรายการ นายวิศวะ ชินโย : ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วิทยากรบรรยายนำชม นายพนมกร นวเสลา : ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางสาวมุทิตา อร่ามรุ่งทรัพย์ : ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น.  การบรรยายและสาธิต เรื่อง “ข้าวหนม-ชาข้าว-เหล้าพื้นบ้าน” วิทยากรในการบรรยายและสาธิต นายธนพันธุ์ ขจรพันธุ์ : นักวิชาการอิสระ นางสาวจนัญญา ดวงพัตรา : มือกระบี่สตูดิโอ ผู้ดำเนินรายการ นางสาวศุภวรรณ นงนุช : ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ***รับจำนวนจำกัด   นอกจากนี้เตรียมพบกับ "กาชาปอง" ชุดพิเศษเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ๑. ชุด “ขบวนแรกนาขวัญ” โดย Little Gods Studio ๒. ชุด “พระโคเสี่ยงทาย” โดย Playground Studio หมุนละ ๑๐๐ บาท จำนวนจำกัดเฉพาะในงานนี้เท่านั้น และยังมีงานอาร์ตทอยอีกมากมาย   สอบถามเพิ่มเติม/สำรองที่นั่ง โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ (วันพุธ-อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น.)

21 เม.ย. 2566

25 เม.ย. 2566

21 เมษายน 2566
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรม "Night at The Museum ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" ภายใต้กิจกรรมจัดงาน ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๑ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.   ขอเชิญชม ความงดงามของโบราณสถาน (วังหน้า) ที่ประทับของพระมหาอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การจัดแสดงนิทรรศการโฉมใหม่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชมการแสดงศิลปวัฒธรรม ณ เวทีสังคีตศาลา ร่วมกิจกรรมนำชมเป็นรอบสำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศ นำชมในหัวข้อ "ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์" และหัวข้อ "ประณีตศิลป์ไทย" จำนวน ๓ รอบต่อวัน รอบ ๑๗.๐๐ น. รอบ ๑๘.๐๐ น. รอบ ๑๙.๐๐ น. National Museum Bangkok English guided tour 2 rounds per day First Round at 05:00 PM Second Round at 06.00 PM *ผู้สนใจร่วมกิจกรรมนำชมเป็นรอบสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ ณ จุดลงทะเบียน ด้านหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน (อาคารหมายเลข ๑) ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ น. ของแต่ละวัน โดยไม่รับลงทะเบียนล่วงหน้า และรับจำนวนจำกัด *National Museum Bangkok English guided tour have to register at 04.00 PM, infront of Siwamokkhaphiman Audience Hall (Buiding No.1)   ชวนมาเลือกช้อปสินค้า ชิมอาหาร จากร้านค้า OTOP ชุมชน และสินค้าจากผู้ประกอบการ CPOT ชิลไปกับแสง สี เสียง ของพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม For more information โทร. 02 - 224 1402 หรือ 02 - 224 1333

12 เม.ย. 2566

14 เม.ย. 2566

11 เมษายน 2566
กรมศิลปากร โดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “สรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์” เนื่องในเทศกาลมหาสงกรานต์ ๒๕๖๖ วันที่ ๑๒ - ๑๔ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๖ มีของที่ระลึกสำหรับ ๑๐๐ ท่านแรก ผู้ร่วมพิธีบวงสรวงสมโภชฯ ใน เวลา ๐๙.๓๙ น. *ไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า   สอบถามเพิ่มเติมโทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ (วันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น.)

02 เม.ย. 2566

07 เม.ย. 2566

31 มีนาคม 2566
กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖  ระหว่างวันที่ ๒ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร    ๒ - ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. การแสดงนาฏศิลป์-ดนตรี ณ เวทีกลางแจ้ง เข้าร่วมงาน รับของที่ระลึก ฟรี ๘ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. (ที่นั่งจำนวนจำกัด) การแสดง คอนเสิร์ต ๒ ทศวรรษ เพชรในเพลง ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ๓ - ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. เสวนาวิชาการ งานมรดกศิลปวัฒนธรรม โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ - วัฒนธรรมเสมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - เอกสารจดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: มรดกความทรงจำแห่งโลก - การค้าทางทะเลและเส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยในช่วงต้นประวัติศาสตร์ - ประจวบคีรีขันธ์: ร่องรอยหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ - ข้อมูลใหม่ทางโบราณคดีที่บ้านหลวงรับราชทูต เมืองลพบุรี  ลงทะเบียนเข้าร่วมการเสวนาได้โดย สแกน Qr Code ที่โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์     ชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม  และ Facebook Live กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร  

27 มี.ค. 2566

29 มี.ค. 2566

24 มีนาคม 2566
ขอเชิญร่วมงาน ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร  เข้าชฟรี ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร                                                                                                  เข้าชม & ร่วมกิจกรรม นิทรรศการ ผลงาน ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร นิทรรศการ สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์ แวะ Shop ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สินค้าท้องถิ่น หนังสือกรมศิลปากร ลดราคาพิเศษถึง ๒๐% ร่วมฟัง รับชม แถลงผลงาน ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร โดย อธิบดีกรมศิลปากร (นายพนมบุตร จันทรโชติ) ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๕.๐๐ น. เสวนาทางวิชาการ งานมรดกศิลปวัฒนธรรม โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ - ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. โบราณคดีเมือง:การดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบด้านโบราณคดี จากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน - ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.  แนวทางการขออนุญาตสร้างอนุสาวรีย์ - ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.  นาค: ความเชื่อความศรัทธาในวัฒนธรรมไทย - ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สังคีตปริทัศน์ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการเสวนาได้โดย สแกน Qr Code หรือที่โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์   การแสดงนาฏศิลป์-ดนตรี ณ สังคีตศาลา ๒๗-๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.                                                        สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ ๐ ๒ ๑๒๖ ๖๖๖๐ , ๐ ๒ ๑๒๖ ๒๗๕๐  ชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม  และ กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง