กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้โรคเขตร้อน

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้โรคเขตร้อน

16 มกราคม 2561

ชื่นชอบ 507

4,503 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้โรคเขตร้อน แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านโรคเขตร้อน จัดทำขึ้นในโอกาสเฉลิมฉลองการก่อตั้งคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ครบ 55 ปี ภายในมีเนื้อที่ประมาณ 163 ตารางเมตร จัดแสดงด้วยรูปแบบที่กระชับ ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยี 4 มิติทั้ง แสง เสียง ภาพ และสัมผัส ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 โซน ดังนี้

 

โซน A ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของคณะเวชศาสตร์เขตร้อนผ่านวีดิทัศน์ ประกอบด้วย

• ทำไมต้องจัดตั้งคณะเวชศาสตร์เขตร้อน

• คณบดีทั้ง 6 ท่าน และผลงานเด่นตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

 

โซน B แหล่งกำเนิดพยาธิตัวจี๊ด

ผลงานวิจัยค้นคว้าที่ผ่านมาของคณะฯ ที่สร้างคุณประโยชน์ในวงวิชาการโลก คือ การค้นพบวงจรชีพของพยาธิตัวจี๊ดครั้งแรกของโลก (World’s first discovery of gnathostoma life cycle)

 

โซน C แหล่งกำเนิดพยาธิใบไม้ในตับ

นำเสนอวงจรชีวิตพยาธิใบไม้ในตับ เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป สามารถเป็นแหล่งความรู้ที่ให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงอันตรายของพยาธิใบไม้ในตับและโทษของการบริโภคอาหารแบบสุก ๆ ดิบ ๆ

 

โซน D ผลงานวิจัยเกี่ยวกับโรคพยาธิตัวจี๊ด โรคพยาธิใบไม้ในตับ และโรคมาลาเรีย

ผลงานและองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา วิจัย และค้นคว้าจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติและสังคมทางด้านโรคเขตร้อน ซึ่งรูปแบบการนำเสนอจะหมุนเวียนไปตามกลุ่มของโรค

• โรคที่เกิดจากโปรโตซัว เช่น ไข้มาลาเรียที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ อาการแสดงของผู้ป่วย โรคแทรกซ้อน การรักษา และการป้องกันไม่ให้เกิดโรค

• โรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวจี๊ด และพฤติกรรมการติดโรค จนกระทั่งเกิดมะเร็งท่อน้ำดี การป้องกัน และการรักษา

 

โซน E แหล่งกำเนิดโรคมาลาเรีย

นำเสนอแบบจำลองของบรรยากาศป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย คือ ยุงก้นปล่อง และนำเสนอวงจรชีวิตของยุงก้นปล่องและแนวทางการป้องกันโรคมาลาเรีย

 

โซน F ความร่วมมือกับนานาชาติ

นำเสนอความร่วมมือกับองค์การต่างประเทศและการสร้างเครือข่ายพันธมิตร

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ผลงานวิจัยการค้นพบวงจรชีพของพยาธิตัวจี๊ดครั้งแรกของโลก

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ชั้น 1 อาคารศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ 420/6 ถ.ราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02-306-9135
โทรสาร : 02-354-9139
เว็บไซต์ : http://www.tm.mahidol.ac.th/th/th-news-tm-view.php?news_id=2736
อีเมล : tropmedmuseum@gmail.com

วันและเวลาทำการ

ทุกวันจันทร์-ศุกร์ วันละ 6 รอบ (เวลา 9.00/10.00/11.00/13.00/14.00/15.00 น.)

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มาตามถนนราชวิถีประมาณ 600 เมตร คณะเวชศาสตร์เขตร้อนจะอยู่ทางซ้ายมือ ตรงข้ามกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

เข้าชมเป็นหมู่คณะกรุณานัดหมายล่วงหน้า

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีทางลาด

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

4

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง