กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

13 พฤษภาคม 2562

ชื่นชอบ 539

5,462 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์กับพระราชา “พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ” จัดตั้งขึ้นและเปิดให้เข้าชมเป็นครังแรกในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบรอบ 60 พรรษา โดยทรงพระกรุณาพระราชทานนามพิพิธภัณฑ์และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ฯ

 

พิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นพิพิธภัณฑ์ทางมนุษวิทยา (Thammasat of Anthropology) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ภายใต้การดูแลของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ที่ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า และทำความเข้าใจมนุษย์และวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน ผ่านการศึกษาวิจัย  การเรียนรการสอน  การจัดอบรม และการจัดแสดงวัตถุเพื่อการเยี่ยมชม โดยมุ่งให้บริการสำหรับกลุ่มคนที่หลากหลาย และเป็นทางเลือกของการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด โดยคำนึงถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงความรู้ของกลุ่มคนต่างๆเพื่อให้เป็น พิพิธภัณฑ์สำหรับทุกคน(Museum For All)

 

 

สิ่งของสะสม ลักษณะเด่นของพิพิธภัณฑ์ คือ ความหลากหลายของวัตถุ จำนวนกว่า 6,000 รายการ ประกอบด้วย ซากฟอสซิลอายุนับล้านปี  เครื่องมือเครื่องใช้ของสังคมยุคโบราณเมื่อหลายพันปี  สิ่งของหายาก  ของประหลาด  สิ่งประดิษฐ์  สิ่งของสะสมจากทศวรรษที่ผ่านมา จนถึงของใช้พื้นบ้านและวัตถุทางชาติพันธุ์ของชนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

กว่าจะถึงวันนี้ คลังวัตถุของพิพิธภัณฑ์ เริ่มต้นในช่วง พ.ศ.2515-2516 จากอาจารย์และนักศึกษาของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณบ้านธาตุ บ้านอ้อมแก้ว จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในวัฒนธรรมบ้านเชียง โดยขุดพบโครงกระดูก เครื่องมือหินขัด ภาชนะดินเผา เครื่องใช้สำริดและเหล็ก เครื่องประดับลูกแก้ว เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ.2530 ดร.วินิจและคุณหญิงพรรณี วินิจฉัยภาค ได้มอบโบราณวัตถุและศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านให้กับพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติมหลังเกิดอุทกภัยใหญ่ พ.ศ.2554 พิพิธภัณฑ์ได้ปิดปรับปรุงโครงสร้างกายภาพใหม่ เพื่อให้บริการบุคคลที่หลากหลายมากขึ้นและเปิดใบริการเนื่องในโอกาสครบรอบการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ 30 ปี ในวันที่ 29 มีนาคม 2561

 

สัญลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นพิพิธภัณฑ์การศึกษาด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา พิพิธภัณฑ์จึงใช้  น้ำเต้า เป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์อันไม่รู้จบและเป็นหนึ่งเดียวกันของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ของมนุษย์ ธรรมชาติ และการถือกำเนิดของวัฒนธรรม

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 02–564 4440-50 ต่อ 1752-54 / 02-696 6610 / 02-696 6612-13
โทรสาร : 02–564 4440-50 ต่อ 1753 / 02-696 6615
เว็บไซต์ : http://museum.socanth.tu.ac.th/

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์-ศุกร์ 09.00 น.–16.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

  • โดยรถยนต์ ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน (ถนนวิภาวดีรังสิต) ขาออก ผ่านสนามบินดอนเมือง -- เซียร์รังสิต -- ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค -- แยกเชียงราก -- ม.ธรรมศาสตร์

 

  • รถโดยสารประจำทางสาย 29 , 39

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

0

แบ่งปัน

กิจกรรม

22 ก.พ. 2566

29 ธ.ค. 2566

22 กุมภาพันธ์ 2566
ขอเชิญร่วมชมนิทรรศการ Primates and Me: เรียนรู้วานร เข้าใจมนุษย์  เปิดให้เข้าชมแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง ธันวาคม 2566 เวลา 09.30-15.30 น.  ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)   เปิดให้เข้าชม วันจันทร์-ศุกร์ (ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์) หากสนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-6966610-12  *** เปิดรอบพิเศษ วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2566 และ วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2566 ***  ส่วนรอบพิเศษในเดือนต่อๆ ไป โปรดติดตาม FB: พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ   และผู้สนใจหนังสือ วานรศึกษา (Primate Studies) สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่  https://shorturl.asia/xDPZX    

20 ก.พ. 2566

26 พ.ค. 2566

15 กุมภาพันธ์ 2566
นิทรรศการ “วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน Evidences of Resistance”  โดย พิพิธภัณฑ์สามัญชน Museum of Popular History ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ   คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ณ ห้อง 112 พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)    จัดแสดงระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 – 26 พฤษภาคม 2566  เปิดให้เข้าชม วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.30 - 15.30 น.  (ปิดทำการทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 – 696 6610    

16 ก.พ. 2566

17 ก.พ. 2566

15 กุมภาพันธ์ 2566
เนื่องในโอกาสวันสถาปนา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 58 ปี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566   พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ขอเชิญร่วมงานเปิดนิทรรศการ Primates and me พร้อมร่วมเสวนาเปิดตัวหนังสือ วานรศึกษา - Primate Studies วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต   10.00 น. - 10.30 น. ลงทะเบียน 10.30 น. - 11.00 น. พิธีเปิดนิทรรศการ และนำชม 11.00 น. - 12.00 น. เสวนาเปิดตัวหนังสือ “วานรศึกษา Primate Studies” รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตร รองศาสตราจารย์ ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ ดำเนินรายการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ บุญไทย   **สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 – 696 6610

06 มิ.ย. 2565

09 มิ.ย. 2565

06 มิถุนายน 2565
พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังการประชุมวิชาการ พิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม ครั้งที่ 2 (แบบออนไลน์) ชมการถ่ายทอดผ่านทาง: Zoom หรือ Page facebook: พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ   Session 3: Museum interpretation วันพฤหัสบดีที่ 9 มิ.ย.65 เวลา 10.00-12.00 น. ลงทะเบียนได้ที่ : https://bit.ly/3GJ1bxD   Session 4: Archaeological innovation & Conservation works วันพฤหัสบดีที่ 9 มิ.ย.65 เวลา 13.00-15.00 น.  ลงทะเบียนได้ที่: https://bit.ly/3MbATW5

27 เม.ย. 2565

20 พ.ค. 2565

27 เมษายน 2565
เพื่อร่วมสมโภชธรรมาสน์วัดท่าศาลาราม อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ ขอเชิญชมนิทรรศการ “มรดกวัฒนธรรมเชิงช่างเมืองเพชร”  จัดแสดงผลงานชั้นครูของช่างเมืองเพชรบุรี อาทิ ตำราดาว วัดขุนตรา ภาพวาดมหาชาติกัณฑ์กุมารและนครกัณฑ์ ฝีมืออาจารย์เลิศ พ่วงพระเดช ลายเส้น ฝีมือพระอาจารย์ยิด สุวัณโณ แห่งวัดเกาะ ลายกนกฝีมือพระอาจารย์เป้า วัดพระทรง  และกระดาษทองตอกลายประดับเครื่องเมรุ จากวัดลาด เพชรบุรี   นิทรรศการ "มรดกวัฒนธรรมเชิงช่างเมืองเพชร"  เปิดให้เข้าชมถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2565  ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.30-15.30 น.  ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ    การเข้าชมนิทรรศการเป็นไปตามอัธยาศัย ขอยกเว้นการให้บริการนำชมโดยเฉพาะเป็นหมู่คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ  โปรดติดตาม วัน เวลา ของการเปิดให้บริการจากเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์  หรือติดต่อผ่าน Page facebook : พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หรือ โทร 02-696-6610-12
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง