กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

27 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 510

7,820 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ดนตรีของภูมิภาคอุษาคเนย์(South East Asia Music Museum) บนพื้นที่ 5 ไร่ มีพื้นที่ใช้สอย 8,400 ตารางเมตร พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ ถือได้ว่า เป็นพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล เป้าหมายของพิพิธภัณฑ์ดนตรี เพื่อสร้างให้เป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี เป็นเรื่องราวในอดีตที่จะสร้างภูมิปัญญาให้กับคนปัจจุบัน และเป็นพลังที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับอนาคตพิพิธภัณฑ์ดนตรีเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง (ดนตรี) เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องดนตรี บทบาทของดนตรีที่เกี่ยวข้องกับสังคม รวบรวมเสียงของเครื่องดนตรี ทั้งดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน และดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์

พื้นที่พิพิธภัณฑ์ดนตรี ประกอบไปด้วย หมู่เรือนกลางน้ำ ห้องพักคอย ห้องสมุดดนตรี ห้องแสดงนิทรรศการ ห้องซ่อมเครื่องดนตรี (เก่า) ห้องสาธิตดนตรี ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงเครื่องดนตรี ห้องแสดงดนตรี เวทีแสดงดนตรีในพิพิธภัณฑ์ เวทีแสดงดนตรีหน้าพิพิธภัณฑ์ ห้องขายของที่ระลึก ห้องอาหาร และเรือนรับรองแขกกลางน้ำโดยภายอาคารพิพิธภัณฑ์ดนตรีจะมีทั้งหมด 7 ชั้น

ชั้นที่ 1-2 เป็นพื้นที่เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ทั้งร้านจำหน่ายของที่ระลึก
ห้องอการ และมีพื้นที่สำหรับการแสดงความเป็นภูมิภาคอุษาคเนย์ ที่ประกอบด้วย ผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ มีดนตรีที่หลากหลาย ดนตรีของชาวอุษาคเนย์สะท้อนความเป็นอยู่ของผู้คน ดนตรีเป็นวิถีชีวิตของชาวอุษาคเนย์

ชั้น 3-4 เป็นพื้นที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคอุษาคเนย์กับโลกว่าเป็นอย่างไร อุษาคเนย์อยู่กับโลกอย่างไร การเผยแพร่ วัฒนธรรมดนตรีของอุษาคเนย์ไปสู่ทวีปยุโรปและอเมริกา และแสดงถึงอิทธิพลของอุษาคเนย์ที่มีต่อโลกโดยนำเสนอดนตรีของภูมิภาคที่อยู่ในวัฒนธรรมอื่น

ชั้น 5 ของพิพิธภัณฑ์ดนตรี เป็นพื้นที่สำหรับการแสดงนิทรรศการดนตรีของโลก (World Music) เป็นนิทรรศการหมุนเวียน ห้องของภัณฑารักษ์ใช้ซ่อมเครื่องดนตรีที่ชำรุด การดูแลรักษาเครื่องดนตรี รวมถึงห้องที่ใช้ในการประชุมทางวิชาการพิพิธภัณฑ์

ชั้น 6-7 ของพิพิธภัณฑ์ดนตรี เป็นห้องแสดงดนตรี (Recital Hall) เป็นพื้นที่ของดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีประจำชาติ และดนตรีพื้นเมืองเป็นต้นมี ที่นั่งประมาณ 150 ที่นั่ง

พิพิธภัณฑ์ดนตรีควรมีชื่อเสียงในด้านคุณค่า รสนิยม ความงาม ความดี พิพิธภัณฑ์ดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแหล่งความรู้ดนตรีวิธีใหม่ เป็นแหล่งความรู้ของภูมิภาค เป็นมหาอำนาจของความรู้ เป็นแหล่งให้ความรู้ ให้ความเพลิดเพลิน ให้ความบันเทิง เป็นมหาวิทยาลัยของปวงชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการ โดยขายความเป็นมาของสังคม เป็นต้น

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 25/25 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ : 0-2800-2525-34, 0-2441-5300
โทรสาร : 0-2800-2530
เว็บไซต์ : http://www.music.mahidol.ac.th/th/useful-contacts/

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

การเดินทางมายัง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาได้ 3 เส้นทาง ได้แก่

ทางถนนสายเพชรเกษม เลี้ยวเข้าแยกถนนพุทธมณฑล สาย 4 (ระยะทางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร)

การเดินทางโดยรถประจำทาง รถประจำทางสาย 84 ก (คลองสาน – ม.มหิดล) มีสองแถวจากปากทางถนนพุทธมณฑลสาย 4

เส้นทางถนนปิ่นเกล้า – นครชัยศรี เข้าได้ 3 ทาง คือ  จากสี่แยกสะพานกรุงธนฯ ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี   จากสี่แยกสะพานพระปิ่นเกล้า ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี   จากปากทางบางขุนนนท์ เข้ามาทางตลิ่งชันแล้วเลี้ยวซ้ายมาบรรจบกับถนนปิ่นเกล้า – นครชัยศรี

การเดินทางโดยรถประจำทาง    สาย 124 (สะพานอรุณอัมรินทร์ – มหิดล) ขึ้นได้ที่ป้ายตรงข้ามห้างพาต้า ปิ่นเกล้า    สาย 125 (สะพานกรุงธน – มหิดล) ต้นทางอยู่บริเวณสถานีรถไฟสามเสน    รถประจำทางปรับอากาศ สาย 515 ต้นทางอนุสาวรีย์ชัยฯ มาถึงหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

รถตู้ (สหกรณ์กรุงเทพ – มหิดล) ขึ้นได้ที่หน้าภัตตาคารเสริมมิตร ตรงข้ามห้างพาต้า ปิ่นเกล้า

การเดินทางโดยรถไฟ ขึ้นได้ที่สถานีธนบุรี และสถานีกรุงเทพฯ โดยขบวนเที่ยวต่างๆ ซึ่งจะผ่านสถานีศาลายา เมื่อถึงสถานีศาลายาแล้วสามารถเดินเข้าทางด้านหลังมหาวิทยาลัย หรือโดยสารรถเมล์เล็กมาทางด้านหน้ามหาวิทยาลัย

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

5

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง