แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
พระตำหนักดอยตุง เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2531 บนยอดดอยที่แห้งแล้ง เนื่องจากชาวบ้านบุกรุกทำลายป่าในการขยายพื้นที่ทำกิน ปลูกฝิ่น โดยพระองค์มีพระราชกระแสรับสั่งว่า “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง”
พื้นที่พระตำหนัก เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ ทำสัญญาเช่าระยะยาว ทั้งๆ ที่กรมป่าไม้ตั้งใจจะถวาย เนื่องจากเป็นเขตป่าสงวน แต่พระองค์ไม่ต้องพระราชประสงค์ที่จะมีอภิสิทธิ์เหนือประชาชนคนไทยทั่วไป
พระตำหนักดอยตุง สร้างจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ออกแบบผสมผสานระหว่างชาเล่ต์ สไตล์สวิส กับสถาปัตยกรรมล้านนา ตกแต่งภายนอกด้วยปีกไม้ ซึ่งเป็นไม้สักขนาดเล็กที่ได้จากการทอนไม้ที่ไม่ได้ขนาดในสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อให้ไม้สักที่เหลือเจริญเติบโตแข็งแรง ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ภายในพระตำหนักบุผนังด้วยไม้สนจากลังไม้ที่ใส่เครื่องมือและอุปกรณ์ขนาดใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนพื้นเป็นไม้สักทองที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้น้อมเกล้าฯ ถวาย การสร้างพระตำหนักจึงเป็นตัวอย่างของการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า
ตัวอาคารชั้นบนแยกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
- ส่วนที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- ส่วนท้องพระโรงและห้องประกอบพระกระยาหาร
- ส่วนที่ประทับของสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- ส่วนที่พักของท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
การตกแต่งภายในเป็นไปอย่างเรียบง่าย สง่างาม เน้นประโยชน์ใช้สอยอย่างพอดี สะท้อนลักษณะอุปนิสัย และการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี
ลักษณะเด่นของพระตำหนัก คือ เพดานท้องพระโรงแกะสลักเป็นกลุ่มดาวต่างๆ ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเลือก และตรงกลางสลักเป็นกลุ่มดาวในสุริยะจักรวาลเรียงตามองศาในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2443 ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ และฝังดวงไฟให้กำลังแสงตามขนาดที่ได้สัดส่วนตามจริง โดยการคำนวณ และออกแบบโดยสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
- ภาพถ่ายของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่หาดูได้ยาก
- เพดานท้องพระโรงแกะสลักเป็นกลุ่มดาวต่างๆ ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเลือก และตรงกลางสลักเป็นกลุ่มดาวในสุริยะจักรวาลเรียงตามองศาในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2443 ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ และฝังดวงไฟให้กำลังแสงตามขนาดที่ได้สัดส่วนตามจริง โดยการคำนวณ และออกแบบโดยสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 053-767 015-17
โทรสาร : 053-767 077
เว็บไซต์ : http://www.maefahluang.org
อีเมล : contact@doitung.org
วันและเวลาทำการ
เปิดให้บริการทุกวัน
เวลา 07.00 - 18.00 น.
**หมายเหตุ: วันและเวลาการทำการในช่วงวันหยุดเทศกาล อาจมีการเปลี่ยนแปลง
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทําหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม เพื่อที่จะได้มีผู้นำชมและบรรยายรายละเอียดภายในหอพระราชประวัติ
สิ่งอำนวยความสะดวก
ที่จอดรถ
ร้านกาแฟ คาเฟ่ดอยตุง
ร้านอาหารครัวตำหนัก