กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   หอแห่งแรงบันดาลใจ

หอแห่งแรงบันดาลใจ

17 พฤศจิกายน 2562

ชื่นชอบ 383

5,624 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

หอแห่งแรงบันดาลใจ  เป็นนิทรรศการแบบสื่อผสมผสาน ที่มีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ รวมถึงชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยว ได้รู้จักและเข้าใจถึงแนวพระราชดำริของสมาชิกทั้งห้าพระองค์ในราชสกุลมหิดล อันประกอบด้วย สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก , สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 

นิทรรศการถ่ายทอดพระราชจริยวัตรในการทำงาน และพระวิริยะอุตสาหะที่มุ่งพัฒนาความเป็นอยู่ของคนไทย  โดยหวังให้ผู้เข้าชมได้เกิดแรงบันดาลใจ ยึดมั่นในความดี คิดดี ประพฤติปฏิบัติดีเท่าที่ตนเองจะสามารถทำได้ เพื่อพลังแห่งความดีนี้ จะได้ผลิดอกออกผลบานสะพรั่งไปทั่วทุกหนทุกแห่ง เช่น ราชสกุลมหิดลที่เปรียบเสมือนหยดน้ำหยดเล็กๆ ที่ค่อยๆ หลั่งริน สร้างแรงกระเพื่อม ดับร้อน และบันดาลความชุ่มชื่นผาสุกไปทั่วแผ่นดินไทย

 

ภายในแบ่งเป็น

  • ห้องที่ 1 ราชสกุลมหิดล กล่าวถึงราชสกุลมหิดล ในฐานะครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่อบอุ่น เปี่ยมไปด้วยรัก และเปรียบดั่งหยดน้ำที่รวมตัวกันหลั่งลงมาบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรชาวไทย
  • ห้องที่ 2 "เรื่องราวของราชสกุลผ่านพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" เป็นห้องที่นำเสนอพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ ในแต่ละช่วงของพระชนม์ชีพ จากเด็กสาวสามัญ (เด็กหญิงสังวาลย์) มาเป็นคู่ชีวิตเจ้าฟ้า (หม่อมสังวาลย์) ได้ซึมซับพระราชปณิธานอันแรงกล้าของสมเด็จพระบรมราชชนก และทรงนำมาอบรมเลี้ยงดูพระโอรส พระธิดา ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เมื่อทรงเป็นแม่ของลูก (พระราชชนนีศรีสังวาลย์) ช่วงสุดท้ายทรงเป็นแม่ฟ้าหลวง (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสมีชีวิตที่ดีขึ้น
  • ห้องที่ 3 "การกลับคืนสู่มาตุภูมิของราชสกุลมหิดล" ที่ห้องนี้เขียนไว้ว่า "จากดินบินสู่ฟ้า จากฟ้าคืนแผ่นดิน" ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่สมาชิกพระองค์หนึ่งของราชสกุลนี้ต้องทรงเปลี่ยนแปลงจากชีวิตส่วนพระองค์ที่มีความสุขเรียบง่าย อิสระ มาทรงรับหน้าที่อันสูงสุด เป็นความหวังของประชาชน เสด็จนิวัติกลับคืนสู่มาตุภูมิด้วยความรับผิดชอบที่ทรงมีต่อประเทศชาติ
  • ห้องที่ 4 "ความทุกข์ยากของประชาชน" ที่สะท้อนความทุกข์หลายมิติของปัญหาที่คุกคามคุณภาพชีวิตของประชาชน และบั่นทอนคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำเสนอผ่านแผ่นกระดานเขาวงกตที่บอกเล่าให้เห็นถึงความทุกข์ยากของพสกนิกร
  • ห้องที่ 5 แบบแผนการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนอย่างยั่งยืน ด้วยอุปกรณ์ธรรมดา ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ใช้ทรงงานจนคุ้นตา ได้แก่ แผนที่ วิทยุสื่อสาร ดินสอ และกล้องถ่ายรูป สะท้อนให้เห็นหลักการและวิธีการทรงงาน ที่มีความมุ่งมั่นทำความ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อแก้ไขปัญหาของคนไทย
  • ห้องที่ 6 "แบบแผนการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนบนดอยตุง" ห้องนี้สะท้อนพระวิสัยทัศน์และการทรงเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อทรงมีพระชนมายุ 87 พรรษา เพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่น ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจบนดอยตุง อย่างครบวงจรด้วยการ “ปลูกป่า ปลูกคน” ควบคู่กันไป
  • ห้องที่ 7 ห้องแห่งแรงบันดาลใจ แรงบัลดาลใจที่สมาชิกราชสกุลมหิดลทั้งห้าพระองค์ทรงมีต่อกันและกัน ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหา และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีแก่ประเทศชาติ

บริหารจัดการ

มูลนิธิ/มูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ โครงการพัฒนาดอยตุง เลขที่ 920/4 หมู่ที่ 7 อาคารเอนกประสงค์ พระตำหนักดอยตุง ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57240
โทรศัพท์ : 053-767 015-17
โทรสาร : 053-767 077
เว็บไซต์ : http://www.maefahluang.org
อีเมล : contact@doitung.org

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการทุกวัน 

เวลา 08.00 - 18.00 น.

**หมายเหตุวันและเวลาการทำการในช่วงวันหยุดเทศกาล อาจมีการเปลี่ยนแปลง

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทําหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถฟรี

ร้านกาแฟ คาเฟ่ดอยตุง

ร้านอาหารครัวตำหนัก

4

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง