กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านปะอาว

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านปะอาว

27 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 491

9,376 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

บ้านปะอาว มีประวัติเล่าต่อกันมาว่า บรรพบุรุษของบ้านนี้อพยพมาจากเวียงจันทน์ สมัยพระวอ พระตา โดยมีพี่น้องสองคนพาหมู่ญาติมาถึงทำเลที่เหมาะสม ผู้เป็นน้องได้พาสมัครพรรคพวกตั้งหมู่บ้านขึ้นเป็นบ้านปะอาว ส่วนผู้พี่ได้อพยพขึ้นไปทางเหนือลงหลักปักฐานขึ้นเป็นบ้านโนนเมือง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี สันนิษฐานว่า "ปะอาว" คงเพี้ยนมาจากคำว่า ป๋าอาว คำว่าป๋า หมายถึงละไว้ ทิ้งไว้ ส่วนอาว หมายถึงอา คือน้องชาย ซึ่งเป็นบ้านผู้เป็นพี่ละทิ้งผู้เป็นน้องชาย

 

ใครมาที่บ้านปะอาวมักจะเข้ามาเยี่ยมชมการทำผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลือง ณ ศูนย์หัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาวการหล่อทองเหลืองของกลุ่มชาวบ้านเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ในยุคแรกๆ การหล่อทองเหลืองก็เพื่อทำเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เต้าปูน กระดิ่ง หมากหิ่ง (ลูกกระพรวน) หมากหวิน (ใช้รัดปลอกคอวัว) ต่อมาเมื่อมีการตั้งกลุ่มผลิตทองเหลือง เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาวจึงเป็นที่รู้จักและผลิตออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก 

 

ใกล้กับศูนย์หัตถกรรมท้องเหลืองบ้านปะอาว เป็นที่ตั้งอยู่วัดบูรพา ที่ภายในเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านปะอาว โดยดัดแปลงชั้นล่างของกุฏิพระสงฆ์เป็นที่จัดแสดงวัตถุต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2540 หัวเรือใหญ่ที่ริเริ่มคือหลวงพ่อพระครูธรรมสุทรนิวิฐ เจ้าอาวาส พระอาจารย์มหาพยนต์ สนตจิตโต รองเจ้าอาวาส และนายอภิชาติ พานเงิน กำนัน โดยขอรับบริจาคสิ่งของตาง ๆ จากชาวบ้าน และของส่วนหนึ่งที่ทางวัดเก็บรักษาไว้

 

วัตถุที่จัดแสดงมีหลากหลายชนิด วางบนชั้นไม้ และในตู้กระจก อาทิ พระเครื่อง ตู้พระคัมภีร์ อาสนะ เครื่องมือทอผ้า ที่ฟักไข่และออกใยไหมของตัวหม่อน โฮงกระบอง โปม(ถาดใส่ข้าวเหนียว) กระติบข้าว กระดึง เงินฮาง ผ้าหอคัมภีร์ ผ้าไหม-บังสุกุล เครื่องปั้นดินเผา เครื่องทองเหลือง พานหมาก ตะเกียง วิทยุเก่า เป็นต้น ของบางชิ้นมีป้ายคำอธิบายสามภาษา ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เงินงบประมาณส่วนหนึ่งที่นำมาจัดทำตู้จัดแสดง ป้าย แผ่นพับ เป็นเงินสนับสนุนจากโครงการรุ่งอรุณ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนปะอาว เรียนรู้สังคมและสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เรียนรู้แค่ในโรงเรียนอย่างเดียว นอกจากนี้ชุมชนยังพยายามฟื้นฟูป่าชุมชน ที่มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนและผู้สนใจ

บริหารจัดการ

วัดและชุมชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

-

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

วัดบูรพาปะอาวเหนือ ตำบลปะอาว อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 045-840550, 085-613-4713 คุณอภิชาติ พานเงิน, 089-578-5763 พระครูสุตบูรพาสถิต
อีเมล : PA-AO2011@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

เปิดทุกวัน กรุณาแจ้งล่วงหน้าก่อนเข้าชม

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

จากตัวเมืองอุบล ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 23 (ถนนแจ้งสนิท มุ่งหน้ายโสธร) ขับไปประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนบ้านหนองช้างแล้วให้สังเกตป้าย บ. ปะอาว จะมีซุ้มยินดีต้อนรับสู่หมู่บ้านปะอาวด้านขวามือ ตรงข้ามโรงเรียน ให้กลับรถเพื่อเลี้ยวเข้าไป ขับเข้ามาประมาณ 3 กิโลเมตร วัดบูรพาปะอาวเหนือจะอยู่ด้านขวามือ

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

-

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

1

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง