คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดเรืองแสง

วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว ความสวยงามและมหัสจรรย์ของศาสนสถานแห่งเมืองดอกบัวริมโขง

วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว หรือวัดภูพร้าว หรืออีกชื่อที่นิยมคือวัดเรืองแสง ตั้งอยู่บนเนินเขา ในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยบริเวณยอดเขาจะมองเห็นอุโบสถสีปัดทองตั้งเด่นเป็นสง่า ซึ่งด้านหลังของอุโบสถนั้นเป็นจิตรกรรมเรืองแสงสีเขียวของต้นกัลปพฤกษ์ ที่อยู่ด้านหลังของอุโบสถในเวลากลางคืน ซึ่งหากถ้าเราโชคดีจะได้พบกับดวงดาวรายล้อมไปกับอุโบสถเรืองแสงเพิ่มความงดงามตื่นตาใจ หากจะเพิ่มความสวยงามขึ้นไปอีกแนะนำให้ไปในคืนเดือนมืด เพราะหากยิ่งมืดเราก็จะสามารถเห็นการเรืองแสงของต้นกัลปพฤกและดวงดาวได้ขัดเจนมากขึ้น

ด้านหลังของอุโบสถจะมีวิวทิวทัศน์เป็นลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งนอกจากจะสามารถเห็นวิวแม่น้ำโขงแล้วยังสามารถเห็นฝั่งของประเทศลาวได้อีกด้วย ซึ่งหากเราเดินทางไปก็ต้องไปในช่วงที่พระอาทิย์กำลังจะตกดิน ซึ่งที่นี่เองก็เป็นวิวในการมองเห็นพระอาทิตย์ตกดินได้สวยงามมากเช่นเดียวกัน

ต้นกัลปพฤกษ์ที่เรืองแสงนั้นเป็นฝีมือการออกแบบของช่างคุณากร ปริญญาปุณโณ ผู้ลงมือติดโมเสกแต่ละชิ้นด้วยตัวเอง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้แห่งชีวิต ในภาพยนตร์เรื่องอวตาร โดยใช้สารเรืองแสง หรือ สารฟลูออเรสเซนต์รอบต้น คุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซนต์จะรับแสงพระอาทิตย์ในตอนกลางวันและปล่อยพลังงานออกมาในตอนกลางคืน

ส่วนตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจากวัดเชียงทอง ประเทศลาว แต่มีความกว้างมากกว่า 1 เท่า และความยาวมากกว่า 2 เท่า เสาแต่ละต้นลงลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า

ท่านพระอาจารย์บุญมากเป็นผู้ริเริ่ม ท่านเป็นคนฝั่งลาวจำปาสักเข้ามาเผยแพร่อบรมสมาธิทางฝั่งไท และได้ปักกลด ที่ภูพร้าวแห่งนี้ในปี 2497-2498 ซึ่งท่านได้กลับไปยังประเทศลาว จนกระทั่งปี 2542 พระครูกมล ลูกศิษย์ของท่านได้ค้นพบวัดอีกครั้งและบูรณะให้กลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ดังเดิม หลังจาก พระครูกมลละสังขารไปในปี 2549 พระครูปัญญาก็เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดและสานต่องานสร้างวัดต่อไปจนถึงปัจจุบัน

ข้อแนะนำ หากต้องการเก็บภาพความสวยงามเอาไว้ควรนำกล้องถ่ายรูปไปด้วย เพราะการถ่ายจากโทรศัพท์เป็นการยากที่จะได้ภาพการเรืองแสงนั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการไปดูด้วยตาสวยงามกว่าภาพถ่ายหลายเท่าเลยครับ

39,087 views

3

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดอุบลราชธานี