สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
ในทศวรรษที่ 2510 – 2530 ได้มีการขุดพบแร่พลอยในบริเวณอำเภอบ่อไร่
จึงมีการหลั่งไหลเข้ามาของคนต่างถิ่น เพื่อมาขุดพลอยและทำการค้าเป็นจำนวนมาก
รูปปั้นจำลองตลาดค้าพลอย
ในอดีตอาชีพการขุดพลอยและการทำเหมืองพลอย เป็นอาชีพที่ทำรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ชาวตราด ในบริเวณบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ เป็นแหล่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีแร่รัตนชาติอยู่จำนวนมาก จึงมีนักแสวงโชคจากทุกสารทิศพากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ทำมาหากินกันจำนวนมาก แร่รัตนชาติที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดตราด คือ พลอยแดงหรือพลอยทับทิมสยาม มีสีสวยและน้ำงาม เนื้อพลอยแกร่งกว่าที่อื่นๆ จัดว่าเป็นสุดยอดของอัญมณีที่มีค่าสูง จนได้รับฉายาว่า “King Rudy” ในยุคตื่นพลอย ประชาชนจากทั่วสารทิศพากันอพยพมาตั่งถิ่นฐานกันที่นี่ เพื่อหวังผลเสี่ยงโชคจากการขุดพลอย ทำให้ประชากรบ่อไร่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำเหมืองพลอยในยุคนั้นใช้วิธีการทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งอัญมณีอันล่ำค่า จากการใช้แรงงานมือขุดสู่การนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาใช้ จึงกลายเป็นระบบอุสาหกรรมเข้ามาแทน ส่งผลให้ในระยะเวลาไม่นานอำเภอบ่อไร่ ถูกขุดพลอยขึ้นมาจากชั้นใต้ดินจนหมด จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2540 เป็นช่วงหมดยุคตื่นพลอย การทำเหมืองพลอยซบเซาลง ผู้คนจึงพากันอพยพกลับภูมิลำเนาเดิม เหมืองพลอยถูกปิดร้าง พื้นดินที่เคยเป็นเหมืองพลอยกลายเป็นบ่อดินถูกกัดเซาะพังทลาย สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ชาวบ้าน และเทศบาลตำบลบ่อพลอย จึงร่วมมือกันปลูกป่า เพื่อทดแทนป่าเสื่อมโทรม และจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เมืองอัญมณี เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสืบต่อไป1
การหลั่งไหลเข้ามาของคนต่างถิ่น เพื่อมาขุดพลอยและทำการค้า ทำให้ประชากรบ่อไร่เพิ่มมากขึ้น และความเจริญต่างๆ เข้ามาอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร ลานสเก็ต ทำให้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายจนกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม ปัจจุบันภาครัฐประชาชนช่วยกันพื้นฟู สร้างพิพิธภัณฑ์เมืองอัญมณี เพื่อศึกษาและอนุสรณ์ถึงความรุ่งเรื่องในสมัยนั้น
รูปปั้นจำลองการขุดพลอยในสมัยโบราณ
รูปปั้นจำลองการขุดพลอยด้วยเครื่องจักร
รูปปั้นจำลองการร่อนพลอยด้วยตะแกรง
........................................
1 ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 19 จังหวัดตราด, 2556, 108