คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ร.5 ประพาสครั้งที่10

ร.5 เสด็จประพาส ถึง 12 ครั้ง กับความสำคัญเมืองตราดในยุคล่าอาณานิคม

         ประพาสครั้งที่ 10 พ.ศ. 2443 เสด็จถึงเมืองตราด วันที่ 4 มีนาคม ทรงประทับอยู่เมืองตราด เป็นเวลา 5 ราตรี ครั้งนี้ทรงเสด็จวัดสุวรรณาเขตร หรือ
วัดแหลมงอบ และทรงพระราชทานเสมาผูกคอให้กับเด็ก ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 17 แผ่นที่ 52 วันที่ 24 มีนาคม ร.ศ.119 มีใจความดังนี้

         วันที่ ๙ มีนาคม เวลาเช้า ๒ โมงเศษเรือพระที่นั่งตรงโรงทหารออกมาห่างฝั่ง เวลาบ่าย ๕ โมงครึ่ง พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ลงสู่เรือพระที่นั่งกรรเชียงไปประพาศตำบลแหลมงอบ ทอดพระเนตรโรงทหาร พระยานรเชษฐวุฒิไวยจางวางเมืองตราด ๑ พระยาพิพิธพิไสยสุนทรการ ผู้ว่าราชการเมือง ๑ พร้อมด้วยปลัดแลกรมการผู้ใหญ่บ้านราษฎรกับนายทหาร แลพลทหาร ซึ่งรักษาราชการอยู่ในที่นี้มาคอยรับเสด็จ มีพระราชดำรัสด้วยตามสมควรแล้วเสด็จขึ้นทรงระแทะเทียมโคหนึ่งคู่ ไปประพาศตามถนนทางจะไปตราด ถึงวัดสุวรรณาเขตร (ราษฎรเรียกวัดแหลมงอบ)หยุดระแทะพระที่นั่ง เสด็จลงประพาศที่ลานน่าวัดนี้ ได้จัดทำปรำสำหรับพระสงฆ์นั่งสวดคาถาไชยมงคล รวมพระสงฆ์ ๓๑ รูป มีพระครูวิมลเมธาวัดบุรินทรประดิษฐ เจ้าคณะเมืองเปนประธาน ตามพื้นลานนอกปรำมีราษฎรมาคอยเฝ้า แลนำสิ่งของต่าง ๆ ทูลเกล้า ฯ ถวาย ทรงพระดำเนินเข้าสู่ในปรำมีพระราชปฎิสัณฐานแก่พระสงฆ์เหล่านั้น ตามสมควรแล้ว พระราชทานวัตถุปัจจัยมูลราคา ๔๐ บาท แก่พระครูวิมลเมธาซึ่งเปนเจ้าคณะ พระราชทานพระเกตเจ้าอธิการวัดนั้น ๒๐ บาทพระสงฆ์อันดับ ๒๙ องค์ ๆ ละกึ่งสลึงแล้วเสด็จมาที่หมู่ราษฎรเผ้าโปรดเกล้า ฯ พระราชทานแจกเสมาผูกคอเด็ก แลแจกเงินแก่ราษฎรที่ทูลเกล้า ฯ ถวายของเหล่านั้นทั่วแล้วเสด็จขึ้นทรงระแทะประพาศต่อไป1

........................................

1 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2553). โครงการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ “ตามรอยเสด็จฯ เกาะช้าง จังหวัดตราด”. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก, 366.

1,818 views

0

แบ่งปัน