คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดพระนามกรเยซู

     วัดพระนามกรเยซู ที่มีประวัติเรื่องราวความเป็นมาที่ยาวนานโดยอดีตนั้นได้มีครอบครัวคนไทยคริสต์เชื้อสายเวียดนามจำนวน 2 ครอบครัวจากเขตสามเสน กรุงเทพมหานคร ได้ล่องเรือหาปลามาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลโรงช้าง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ในช่วงปี ค.ศ  1877 (พ.ศ. 2420 ) เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คุณพ่อลมบารด์(Lombard) ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และได้รับมอบหมายจากพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ได้เริ่มทำการสำรวจคริสตชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้พบว่ามีคริสตชนอาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวนหนึ่ง จึงได้ทำการสร้างวัดไม้ไผ่ขึ้นเป็นหลังแรก โดยใช้ชื่อว่า “ วัดพระแม่มารีย์”  เมื่อถึงช่วงประมาณปี ค.ศ.1878 (พ.ศ. 2421) คุณพ่อดาแบง(Dabin) ได้เริ่มสร้างบ้านพักพระสงฆ์และโรงเรียน รวมทั้งได้สร้างวัดไม้หลังที่ 2 ขึ้น โดยได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1883 (พ.ศ.2426) ในปี ค.ศ. 1900(พ.ศ.2443) สมัยคุณพ่อแก็นตริก(Quentric) ได้สร้างวัดหลังที่ 3 ด้วยอิฐ และใช้ชื่อว่าวัด “พระนามกรเยซู” ปี ค.ศ. 1929 วัดหลังนี้ ถูกไฟไหม้ แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างใหม่ได้เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ ต่อมาในยุคสมัยของคุณพ่อวินแซนเต วรงค์ สุขพัฒน์ ได้ทำการสร้างวัดเป็นหลังที่ 4 ที่มีรูปลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโกธิค มีลักษณะสูง โปร่งบาง  ด้านหน้าประดับด้วยกระจกสี โครงสร้างหลังคามีลักษณะโค้งเหมือนท้องเรือคว่ำ และได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ค.ศ.1938(พ.ศ.2481) วัดหลังนี้ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาได้ประมาณ 47 ปี  ก็ทรุดโทรมเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จนต้องสร้างวัดหลังใหม่ ขึ้นคือวัดหลังที่ 5 หรือวัดหลังปัจจุบันนี้

     สำหรับวัดหลังปัจจุบัน ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์พร้อมฉลองวัดประจำปี เมื่อวันที่ 13 มกราคม  ค.ศ.1985(พ.ศ. 2528) ในสมัยคุณพ่อไพโรจน์ หอมจินดา เจ้าอาวาสองค์ที่ 30 โดยมีพระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธีและเริ่มทำการก่อสร้างในปี ค.ศ. 1986 จนแล้วเสร็จในปีเดียวกัน และได้ทำการฉลองวัดเมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1987(พ.ศ. 2530) ตลอดระยะเวลากว่า 143 ปีทางชุมชนได้มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน  เช่นประเพณีสอยดาว แห่ดาว ประดับดาว ที่จะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส รวมทั้งมีอาหารคาวหวานอันเป็นเอกลักษณ์ เช่น ต้มส้มใบหูเสือ  ขนมบัวลอยญวนขาว ขนมบัวลอยญวนแดง  ขนมบันดุก ขนมบันเชฟ  ขนมตะไลหน้าถั่ว ขนมข้าวเกรียบอ่อน และขนมพันตอง เป็นต้น

1,715 views

0

แบ่งปัน