คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดร้าง บ้านจักรสีห์

     จังหวัดสิงห์บุรีนั้นถือเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนาเข้มแข็งมาก ศรัทธาชาวบ้าน หรือประชากรทั่วไปล้วนมีความเชื่อ ความผูกพัน หรือจิตวิญญาณข้องเกี่ยวอยู่กับวัดวาอาราม พระพุทธรูป พระสงฆ์ และเกจิอาจารย์ผู้มีตบะวิชาแก่กล้ากันลึกซึ้งแพร่หลายเป็นปกติ ดังที่เราจะได้เห็นจาก ตำนาน ความเชื่อ เรื่องเล่าที่ถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่นในท้องถิ่น บวกกับความสำคัญในด้านภูมิศาสตร์ที่พื้นที่บางส่วนของจังหวัด เคยได้เป็นสมรภูมิในสงครามที่สำคัญเกี่ยวเนื่องกับการรักษาเอกราชบ้านเมืองเอาไว้ ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ยิ่งเข้มขลังมากยิ่งขึ้น ชาวสิงห์บุรีให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาในทุกๆวาระ และยังมีงานประเพณีท้องถิ่นที่จัดขึ้นเพื่อทำนุบำรุงศาสนาอยู่มากมาย เช่น ประเพณีปารุปะนัง (เปลี่ยนผ้าห่มองค์พระนอนจักรสีห์) แม้กระทั่งวัดร้าง วัดโบราณหรือวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แต่มีศาสนสถานและศาสนวัตถุเก่าแก่ที่ยังคงความงดงาม มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อยู่ ศรัทธาชาวบ้านก็จะช่วยกันบำรุงรักษาให้คงสภาพเดิมเอาไว้ให้นานที่สุด หรือบางแห่งก็ร่วมกันปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ ให้อยู่คู่กับเมืองสิงห์บุรีสืบไป

     ดังเช่นที่ตำบลจักรสีห์ แต่เดิมสมัยโบราณมีวัดอยู่จำนวนมาก กระจายกันไปตามสองริมฝั่งลำน้ำจักรสีห์ ตามตำนานเล่าว่า บ้านจักรสีห์ แต่เดิมชื่อว่า บ้านเศรษฐี เนื่องจากพื้นที่แถบนี้มีความอุดมสมบูรณ์ “ดินดำ น้ำดี” ทำการเกษตรก็ได้พืชผลคุณภาพดี สร้างรายได้ให้ชาวบ้านจนร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐี  และมีค่านิยมสร้างวัดเพราะเชื่อว่าจะเป็นบุญใหญ่ อีกทั้งยังทำให้ลูกหลานได้อยู่ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา จึงมีวัดเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ต้องถูกทิ้งร้างไปในช่วงสงครามปัจจุบันยังพอจะหลงเหลือเนินดินและ ซากโบราณสถานให้ได้ชมกันอยู่หลายแห่งทีเดียว เช่น

     วัดพระนอนแกลบ มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นมาจากแกลบข้าว บางคนก็เชื่อว่าสร้างขึ้นมาจากข้าวสารหิน ภายในบริเวณวัดจะมีเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นที่ประดิษฐานของ “พระหิ้วนกหกนิ้ว”  มีปริศนาคำทายเกี่ยวพระองค์นี้คือ “ใครคิดได้เอาที่พระนิ้วหก ใครคิดตกเอาที่พระหกนิ้ว” โดยตามตำนานเล่าว่า มีผู้คิดได้ตามคำทำนาย มาทุบที่องค์พระ เพราะพระพุทธรูปนี้มีลักษณะท้องป่องออกมา จึงคิดว่ามีสมบัติอยู่ข้างใน ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น ปัจจุบันนี้องค์พระถูกทำลายลงจนไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว

     วัดจักรสีห์  เป็นหนึ่งในวัดที่เคยเป็นวัดร้างบริเวณริมน้ำจักรสีห์มาก่อนจากการทำสงครามในอดีต แต่ได้รับการบูรณะจากชาวบ้าน ทำให้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาอีกอีกครั้ง  รวมไปถึงบริเวณโดยรอบก็ถูกปรับปรุงให้สะอาด และสวยงามเหมาะแก่การเป็นศูนย์รวมทำกิจกรรมทางศาสนาของคนในพื้นที่  แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดพลับ แต่คนภายนอกเรียกตามฉายาของหมู่บ้านว่า วัดเศรษฐี  ต่อมาทางการเห็นควรให้เรียกชื่อตามตำบลที่ตั้งคือ ตำบลจักรสีห์ จึงได้ชื่อเป็น วัดจักรสีห์สืบมา สมัยก่อนหน้าวัดจะมีท่าน้ำ ชาวบ้านที่จะมาทำบุญที่วัดก็จะพายเรือมาขึ้นที่ท่านี้ ปัจจุบันน้ำแล้งลงไปมาก มีสภาพเป็นเพียงลำคลองสายเล็กๆเท่านั้นและมีถนนเลียบคลองขึ้นมาแทนที่

     วัดหน้าพระธาตุ หรือแต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดหัวเมืองหรือวัดศีรษะเมือง อยู่ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์มุ่งหน้าไปทางแม่น้ำน้อยประมาณ 1 กิโลเมตรเศษๆ เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์บุรีเก่าริมลำน้ำจักรสีห์  บริเวณโดยรอบกว้างขวาง เรียงรายไปด้วยซากกำแพง เตาเผา พระพุทธรูปเก่าแก่ส่วนใหญ่จะแตกหัก ไม่สมบูรณ์ และยังมีเจดีย์องค์เล็กๆ ซากพระวิหารหลวงและพระอุโบสถ  ส่วนตัววัดตั้งอยู่บนแท่นอิฐยกระดับสูงขึ้นจากพื้นดิน มีองค์พระปรางค์ประดิษฐานอยู่  รอบๆองค์พระปรางค์ประดับปูนปั้นรูปครุฑทำท่าแบกองค์พระปรางค์ไว้และมีอสูรหรือยักษ์ถือกระบองขนาบซ้ายขวา เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่มีหลักฐานว่าได้รับการบูรณะและก่อสร้างเพิ่มเติมหลายครั้งในอดีต  แต่ก็ถูกทิ้งร้างไปในช่วงสงคราม ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบโบราณสถานอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร

1,099 views

0

แบ่งปัน