คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วิสาหกิจชุมชน

“ขนมหวานบ้านทองเอน”

     ตำบลบ้านทองเอนเป็นตำบลที่ตั้งอยู่ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นชุมชนที่อยู่กันเรียบง่ายชาวบ้านส่วนใหญ่ แต่เดิมนั้น เป็นคนลาวแง้ว ย้ายมาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 3 ที่ได้กวาดต้อนชาวลาวจากการปราบปรามกบฏพระเจ้านุวงศ์ โดยในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นคนเชื่อสายลาวแง้ว ที่ยังอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนเป็นชุมชนนั้นจะมีอยู่สองพื้นที่ คือที่จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดสระบุรี ในปัจจุบันนั้นเอกลักษณ์ของผู้คนเชื่อสายลาวแง้วที่บ้านทองเอนนั้นก็จะเลือนหายตามการเวลา แต่ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในส่วนของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังใช้ภาษาลาวแง้วคุยกัน

     “บ้านทองเอน” ชื่อหมู่บ้านนั้นเนื่องมาจากสมัยก่อนนั้นมีต้อนทองกวาว หรือ ต้นจาน ขึ้นจำนวนมากในบริเวณทุ่งนา และ ริมคลอง แต่มีต้นทองกวาวต้นหนึ่งที่อยู่ริมคลอง เมื่อเวลาผ่านไปต้นทองกวาวนั้นเติบใหญ่ตามกาลเวลา แล้วเกิดการเอนโน้มข้ามลำคลองไป ชาวบ้านเลยเรียกว่า “ทองเอน”

     สำหรับชาวบ้านในพื้นที่บ้านทองเอน จะประกอบอาชีพทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น การทำนา ปลูกกล้วย มะม่วง และพืชไร่สวนผสมอื่นๆ นอกจากการทำนาแล้ว พืชที่ปลูกเป็นจำนวนมากในหมู่บ้านทองเอนจะเป็นกล้วย โดยเฉพาะ กล้วยสายพันกล้วยน้ำหว้า กล้วยหนึบหนับ เมื่อช่วงไหนที่กล้วยออกผลผลิตเป็นจำนวนมากชาวบ้านในพื้นที่ออกมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ในช่วงแรกทางชาวบ้านทองเองก็จะแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยต่างคนต่างทำของตัวเองยังไม่มีการการรวมกลุ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์

     เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2546 ทางชาวบ้านในพื้นที่บ้านทองเอน ก็เกิดการรวมกลุ่มกันเกิดขึ้นเพื่อแปรรูปกล้วยที่ออกผลผลิตมาเป็นจำนวนมาก โดยจะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้วยตาก กล้วยฉาบในรสต่างๆ และใน ปี พ.ศ. 2548 ได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และทางชาวบ้านชุมชนบ้านทองเอนที่รวมกลุ่มกันอยู่แล้วก็ได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่มีชื่อว่า วิสาหกิจชุมชน “ขนหวานบ้านทองเอน” เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้ว ก็ได้มีหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์  ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยตาก กล้วยหนุบหนับให้มีความสะดวกรวดเร็ว

     ในด้านผลิตภัณฑ์ที่ทางวิสาหกิจชุมชน “ขนมหวานบ้านทองเอน” ที่ได้ผลิตในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกันดังต่อไปนี้ ผลิตภัณฑ์จากกล้วยฉาบ มันฉาบ เผือกฉาบ และ ถั่วกรอบแก้ว ผลิตภัณฑ์ จากกล้วยตาก กล้วยตากหนึบหนับ ในด่านสูตรการดำเนินการทำผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มจัดทำขึ้นนั้นจะเป็นสูตรดั่งเดิมมาตั้งแต่สมัยรุ่นผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยดำเนินกันมาจากรุ่นสู่รุ่นตามฉบับบ้านทองเอน ในด้านรสชาติ จะเน้นรสชาติความหวานจากตัวผลิตภัณฑ์นั้นๆเป็นหลัก อาทิเช่นกล้วยน้ำหว้าตากแห้งและกล้วยหนับหนับที่เน้นความหวานจากตัวกล้วยที่นำมาใช้โดยไม่เติมความหวานเข้าไปอีกและการเลือกกล้วยที่นำมาผลิตนั้นก็ต้องเลือกช่วงอายุของกล้วยที่ได้ช่วงเวลาเหมาะสมตามสูตรการผลิตของชาวบ้านทองเอน ในส่วนของผลิตภัณฑ์ จากกล้วยฉาบ มันฉาบ เผือกฉาบ ก็จะมีแบบแบไม่เติมน้ำตาลเพิ่มความหวาน และเติมน้ำตาลเพิ่มความหวาน แต่ก็จะเน้นรสชาติที่ไม่ได้หวานจัด น่ารับประทาน และส่วนใหญ่การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จะมีทั้งรูปแบบขายส่งและขายปลีกตามร้านค้าในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี และเส้นทางถนนสายเอเชีย  วิสาหกิจชุมชน “ขนมหวานบ้านทองเอน” ถือได้เป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันของผู้คนในชุมชนที่มีความเป็นเอกลักษณ์เรียบง่าย และความน่าสนใจของคนพื้นที่เชื่อสายลาวแง้ว

1,101 views

0

แบ่งปัน