คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

หัวเสาไฟเมืองสิงห์

หัวเสาไฟสัญลักษณ์เมืองสิงห์

              ผู้ที่ได้ไปเยี่ยมเยือนจังหวัดสิงห์บุรี ล้วนประทับใจในความเป็นสิงห์บุรีแตกต่างกันไป ผู้คนที่นี่มีความเอื้ออาทรและมีน้ำใจไมตรีทั้งแก่กันเองและต่อผู้คนต่างถิ่นที่มาท่องเที่ยว บางคนประทับใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น บางคนชื่นชมในความงดงามของโบสถ์วิหารของวัดต่างๆที่มีเป็นจำนวนมาก รวมถึงวิธีการอนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นถิ่นที่สืบทอดต่อกันมาช้านาน สิ่งสำคัญคือความภาคภูมิใจในวีรกรรมของบรรพบุรุษที่ปกป้องชาติและแผ่นดินของชาวสิงห์บุรีซึ่งยังคงปรากฏอยู่มากและชัดเจน ในทุกแหล่งที่เราได้ร่วมสนทนาด้วย

              ความภาคภูมิใจในความเป็นสิงห์บุรีดังกล่าวนี้ เราสามารถเรียนรู้และมีสำนึกร่วมผ่าน “หัวเสาไฟ” ที่ตั้งเรียงรายเป็นสง่าตามถนนสำคัญหลายสาย นอกจากจะแสดงถึง “ภูมิทัศน์ที่งดงาม แปลกตา” แล้ว ยังทำให้เราได้ย้อนรำลึกความเป็นสิงห์บุรีที่สะท้อนในสัญลักษณ์ต่างๆ

              “ปลาช่อนบนหัวเสาไฟ” ที่บริเวณถนนริมแม่น้ำน้อย ตำบลโพสังโฆ อำเภอค่ายบางระจัน สะท้อนให้เรานึกถึงคำขวัญจังหวัดที่ว่า “นามกระฉ่อนปลาแม่ลา” และวิถีชีวิตของชุมชนนี้ได้เป็นอย่างดี นายประเสริฐ ธรรมศิริภาชัย นายกเทศมนตรีตำบลโพสังโฆ เล่าให้ฟังว่า “ตั้งแต่ปี 2547 ตำบลโพสังโฆ เห็นว่าจังหวัดสิงห์บุรีมีงานประเพณีกินปลาเป็นประจำ และจัดสืบเนื่องติดต่อกันมานานแล้ว จึงเห็นว่าน่าจะมีสัญลักษณ์ให้คนในท้องถิ่นภูมิใจในความเป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี จึงได้ออกแบบทำหัวเสาไฟเป็นรูปลาช่อนตามคำขวัญของจังหวัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับมาช้านานว่า “อร่อย” มากกว่าปลาจากถิ่นอื่น โดยเลือกที่ตั้งของหัวเสาไฟรูปลาช่อน คือ บริเวณถนนริมแม่น้ำน้อย ที่ผู้คนทุกชุมชนจะแวะเวียนมาประจำ”

              ที่ถนนเขตเทศบาลตำบลโฑสังโฆยังมี “หัวเสาไฟรูปเรือยาว” สะท้อนถึงประเพณีการแข่งเรือที่ลือเลือง ที่จังหวัดใกล้เคียงมักเดินทางมาร่วมสนุกสนานกับประเพณีแข่งเรือที่เทศบาลตำบลโพสังโฆ อำเภอค่ายบางระจันจัดเป็นงานประเพณียิ่งใหญ่ หัวเสาประเพณีแข่งเรือที่ท่าน้ำแม่น้ำน้อย มีทั้งสีทองและสีเงินที่งดงามแปลกตา ซึ่งนายกเทศมนตรีเล่าว่า “สีทองและสีเงินคู่กันเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชาวสิงห์บุรี”

              บนถนนสายบางระจัน – ท่าช้าง ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่ค่ายบางระจันวีรกรรมอันกล้าหาญของชาวสิงห์บุรีและพื้นที่ใกล้เคียงมี “หัวเสาไฟรูปวีรชน” ปรากฏอยู่ สะท้อนถึงความภาคภูมิใจของบรรพบุรุษของตนทั้งชายและหญิงที่ได้พลีชีวิตเพื่อปกป้องชาติบ้านเมือง นักท่องเที่ยวที่มาถึงจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อได้พบเห็นเสาไฟก็จะรู้ว่า ควรเข้าไปสักการะอนุสาวรีย์วีรชนบ้านบางระจัน ณ สถานที่ที่ “วีรชนบ้านบางระจัน” ดำเนินการสู้รบกับกองทัพพม่าอย่างยาวนานถึง 8 ครั้ง นับเป็นเวลา 5 เดือน ก่อนที่ไทยจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310

              เรายังได้พบอดีตอันรุ่งโรจน์ของความเป็นสิงห์บุรี สะท้อนผ่านรูปแบบของหัวเสาไฟอีกหลายแห่ง ที่ถนนแยกไหสี่หู อำเภอบางระจัน มี “หัวเสาไฟไหสี่หู” บ่งบอกความยิ่งใหญ่ของพื้นที่นี้ในฐานนะแหล่งผลิตอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ทั้งเพื่อเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับ และประกอบอาคารหรือสิ่งก่อสร้างวัด วัง บ้านเรือน นอกจากนี้ “ไหสี่หู” ยังเป็นภาชนะบรรจุอาหารซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอีกด้วย

              หรือบริเวณแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี ซึ่งปรากฏร่องรอยหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองสมัย “ทวารวดี” ของสิงห์บุรีร่วมกับจังหวัดใกล้เคียงก็มี “หัวเสาไฟธรรมจักร” ที่งดงาม สะท้อนถึงความเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่เจริญมั่นคงอยู่ในบริเวณนี้มาช้านาน

              สำหรับหัวเสาไฟที่สะท้อนถึงความศรัทธาและความเชื่อที่มีอิทธิพลจากวรรณกรรมพระพุทธศาสนาของชาวจังหวัดสิงห์บุรี เช่น “หัวเสาไฟรูปหงส์” ที่วัดกุฎีทอง อำเภอพรหมบุรี ซึ่งมาพร้อมกับตำนานการตั้งเมืองหงสาวดีของชาวมอญที่ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทำนายแผ่นดินที่เป็นหงส์ทอง 2 ตัว จะเป็นที่ตั้งของเมืองที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรือง

              “หัวเสาไฟรูปช้าง” ก็นับเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนความเชื่อทางพุทธศาสนาทั้งในคติเรื่องความเป็นสิริมงคลและการค้ำจุนพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม “หัวเสาไฟช้าง” ที่ตั้งอยู่สองฝั่งถนนเขตเทศบาลท่าช้าง อำเภอท่าช้าง ยังช่วยเสริมทัศนียภาพถนนที่มุ่งตรงสู่พระประทานองค์ใหญ่แห่งวัดพิกุลทอง ให้แลดูงดงามเด่นสง่ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยามค่ำคืน

              “หัวเสาไฟรูปพญานาค” นับเป็นความเชื่อที่แพร่หลายในวรรณกรรมและตำนานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ้างว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์โดยเฉพาะในวรรณกรรมศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูของอินเดีย เรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ที่ระบุว่าพญานาคเป็นคู่ปรปักษ์กับพญาครุฑในตำนานพระพุทธศาสนาก็มีเรื่องพญานาคที่ต้องการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแต่สำหรับ “หัวเสาไฟพญานาค” บริเวณถนนเข้าวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี เกิดจากความศรัทธาของลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญแห่งวัดอัมพวัน

              อย่างไรก็ดี หัวเสาไฟที่สะท้อน “ความเป็นสิงห์บุรี” ได้อย่างชัดเจนที่สุดคงเป็น “หัวเสาไฟสิงห์” ที่มีท่าทางหลายรูปแบบ เช่น “หัวเสาไฟสิงห์คู่ชูพาน” บนถนนวิไลจิตต์ ริมเขื่อนแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองสิงห์บุรี ซึ่งเป็นแหล่งพักผ่อนของชาวสิงห์บุรี หัวเสาไฟสิงห์ดังกล่าวช่วยเพิ่มความงดงามของพื้นที่บริเวณเขื่อนมากยิ่งขึ้น

              “หัวเสาไฟสิงห์หมอบ” และ “หัวเสาสิงห์ชูตัว” ที่วัดกุฎีทอง อำเภอพรหมบุรี และบริเวณถนนหลายแห่ง ทั้งในอำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี อำเภออินทร์ อำเภอบางระจัน ล้วนสะท้อนถึงความภาคภูใจของชาวสิงห์บุรีที่มีต่อนามเมืองอันเก่าแก่ควบคู่กับการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ซึ่งสืบทอดมาเป็นนามจังหวัด “สิงห์บุรี” ในปัจจุบัน อันที่จริง “สิงห์” หรือ “ราชสีห์” มีปรากฏในวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูของอินเดีย เช่นเดียวกับพญานาค สิงห์หรือราชสีห์ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่กล้าหาญสง่างามเหนือกว่าสัตว์ทั้งปวงในป่าหิมพานต์ อีกทั้งยังเป็นพาหนะของเทพ “พระอาทิตย์” ความเชื่อดังกล่าวจึงได้ถูกนำมาเป็นตราประจำตำแหน่งสำคัญในราชการไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ได้แก่ ตราพระราชสีห์ประจำตำแหน่งของกรมมหาดไทยที่มีเจ้าพระยาจักรีเป็นสมุหนายก ส่วนสมุหพระกลาโหม ใช้ตราพระคชสีห์ (เป็นสัตว์ที่มีลักษณะผสมคือกายเป็นสิงห์และหัวเป็นช้าง)

ขอบคุณเนื้อหาบทความจาก

หนังสือ สิงห์บุรี วีรชนคนกล้า : สายธาราวัฒนธรรม

2,196 views

0

แบ่งปัน