คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ประเพณีประดิบประดิน

          ประเพณีประดับประดิน  คำว่า “ประดับประดิน” มีความหมายว่าอย่างไรไม่มีใครทราบ มีผู้สันนิษฐานว่า “ประดับ” คือ การตกแต่ง มีคำว่า “ประ” เสริมข้างหน้าคำว่า “ดิน” จึงเป็น “ประดับประดิน" มีความหมายเข้าเค้ากับประเพณีที่ตกแต่งอาหารแล้ววางไว้บนพื้นดิน เป็นประเพณีของไทยเวียงบ้านแป้งที่ปฏิบัติติดต่อกันมาทุกปี

          ประเพณีนี้จะทำกันในวันสิ้นเดือนเก้า ปัจจุบันเรียกกันว่า ทำบุญวันสารทลาว เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการถือผีบรรพบุรุษ และการบำเพ็ญกุศลทางศาสนา โบราณถือว่าที่สุนัขพากันเห่าหอนเพราะเห็นผีมาขอส่วนบุญ ด้วยความหิวโหยอดอยากจึงมาแสดงตัวให้ญาติพี่น้องเห็น ชาวบ้านจึงคิดหาวิธีการที่จะส่งอาหาร และสิ่งของจำเป็นไปให้ผีทั้งหลาย ทั้งที่เป็นญาติและไม่ใช่ญาติ ด้วยการรวบรวมสิ่งของ  พร้อมทั้งอาหารคาวหวาน จัดบูชาเช่นไหว้ และบำเพ็ญกุศลไปให้

พิธีกรรมแต่เดิมมี ๒ ขั้นตอน

          ขั้นตอนแรก เมื่อถึงวันสิ้นเดือนเก้า ตอนเช้าตรู่ แต่ละบ้านจะเตรียมกระทงที่บรรจุอาหารคาวหวาน นำไปวางไว้ตามทางสามแพร่ง ถนน ริมรั้ว ประตูบ้าน แล้วจุดธูปเทียนบอกกล่าว ผีไม่มีญาติที่ผ่านไปมาจะได้กินของ เช่นไหว้เหล่านี้ และไม่มารบกวนคนในหมู่บ้าน เมื่อพร้อมใจทำเหมือนกันทุกบ้าน แสงเทียน ก็จะสว่างไสวทั่วไป ทั้งประตูบ้าน ริมรั้ว และถนนหนทาง

          ขั้นตอนที่สอง เป็นการบำเพ็ญกุศลทางศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่บรรพบุรุษ เดิมชาวไทยเวียงบ้านแป้งมีอาชีพปั้นภาชนะดินเผา เช่น หม้อ กระทะ เตาวง เมื่อถึงวันสารทก็จะเตรียมของกินของใช้ เช่น เผือก มัน กล้วย อ้อย ส้ม ข้าวสาร น้ำตาล น้ำอ้อย ไม้ขีดไฟ ธูป เทียน และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ กระยาสารท และคันธงเสียบธนบัตร บรรจุลงในหม้อหรือกระทะดิน เรียกไทยทานนี้ว่า “หม้อข้าวสารท” แต่ละบ้านจัดจำนวนมากน้อยต่างกันตามจำนวนคนในครัวเรือนและญาติที่ตายไปแล้ว บางบ้านทำถึง ๑๐-๒๐ หม้อ จากนั้นนำสำรับคาวหวานไปถวายพระภิกษุสงฆ์ ส่วนหม้อข้าวสารทที่เตรียมไว้ ก็จัดเป็นสลากถวายพระภิกษุ พระภิกษุแต่ละรูปจะได้รับหม้อข้าวสารทเป็นจำนวนมาก ถือเป็นกุศลทานครั้งใหญ่ของหมู่บ้าน เป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ ญาติที่ล่วงลับไปแล้วและเป็นการสั่งสมทานไว้สำหรับตนเอง วัดก็ได้ประโยชน์ จากการจำหน่ายหม้อดิน กระทะดิน ที่บรรทุกได้เป็นลำ ๆ เรือ

          ปัจจุบันมีการจัดไทยทานรวมทั้งกล้วย อ้อย เครื่องกระป๋องบรรจุลง ถาดเพียงบ้านละ ๑ ถาด แทนใส่หม้อดิน กระทะดิน เหมือนแต่ก่อน เนื่องจากชาวบ้านส่วนมากเลิกประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผากันแล้ว ประเพณีนี้มีคุณค่าในการปลูกฝังคุณธรรมความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษผู้มีพระคุณ และการบำเพ็ญกุศลทางศาสนาก็เป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาด้วย

 

ขอบคุณเนื้อหาบทความจาก

สิงห์บุรี วีรชนคนกล้า : สายธาราวัฒนธรรม

ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก

สยามรัฐ

1,222 views

0

แบ่งปัน