คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ประเพณีกำฟ้า

          ประเพณีกำฟ้า  ประเพณีกำฟ้าเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวไทยพวนทุกหมู่บ้านยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นงานนักขัตฤกษ์ประจำปีของหมู่บ้าน โดยแต่ละท้องถิ่นอาจกำหนดจัดในวันและเดือนต่างกันในช่วงเดือนอ้าย เดือนยี่ และ เดือนสาม คือ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ และวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือนสาม บางแห่งนำประเพณี “บุญข้าวหลาม” ที่จัดในเดือนยี่ มาทำไปพร้อมกันในประเพณีกำฟ้าเพื่อความสะดวก

          คำว่า “กำ” หมายถึง การถือ การเคารพฟ้าหรือเทพยดา มีเรื่องเล่า สืบมาว่าสมัยหนึ่งเจ้าเมืองพวน หรือเมืองเชียงขวาง ไม่ยอมขึ้นกับนครเวียงจันทน์ เจ้านครเวียงจันทน์จึงให้ประหารด้วยหอก บังเอิญฟ้าผ่าถูกด้ามหอกหักสะบั้นลง ด้วยความเชื่อว่า ฟ้าย่อมปรานีผู้ไม่ประพฤติผิด เจ้านครเวียงจันทน์จึงให้กลับไปครองเมืองพวนตามเดิม จึงเป็นเหตุให้ชาวพวนถือฟ้าหรือเคารพฟ้าและเกิดประเพณีกำฟ้ามาจนถึงปัจจุบัน

           การจัดพิธีกำฟ้า พิธีกำฟ้าจัดทำ ๒ ระยะคือ กำฟ้าเมื่อฟ้าร้องครั้งแรก และกำฟ้าในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือนสาม

          พิธีกำฟ้าเมื่อฟ้าร้องครั้งแรก ทำกันเฉพาะครัวเรือนของตน โดยตอนกลางคืน ผู้ใหญ่ในครัวเรือนจะเอาไม้ไปเคาะเตาไฟ แล้วกล่าวคำที่เป็นมงคลเป็นภาษาลาวพวนว่า “กำปลอด กำดีเน้อ ไฮ่บ่หา นาบ่เอา ครกบ่ต้อง ฆ้องบ่ดัง กำปลอด กำดี กำเหย้า กำเฮือน กำนา กำผู้ กำคน กำงัว กำกระบือ กำหมู หมาเป็ดไก่เน้อ” เป็นการประกาศให้ฟ้าหรือเทพยดารับทราบ

            ทั้งนี้ มีตำนานทำนายเสียงฟ้าร้องเป็น ๒ ทาง ดังนี้

ฟ้าร้องทิศเหนือ ทางที่ ๑ ทำนายว่า “ฝนจะดี ทำนาจะได้ข้าวบริบูรณ์ จะทำให้มั่งมีศรีสุข” ส่วนทางที่ ๒ ทำนายว่า “จะอดข้าว”

ฟ้าร้องทิศใต้ ทางที่ ๑ ทำนายว่า “ฝนจะแล้ง น้ำท่าไม่บริบูรณ์ การทำนาจะเสีย” ส่วนทางที่ ๒ ทำนายว่า “จะอดเกลือ”

ฟ้าร้องทิศตะวันออก ทางที่ ๑ ทำนายว่า “ฝนตกปานกลาง นาที่ลุ่มดี นาที่ดอนจะเสียหาย” ส่วนทางที่ ๒ ทำนายว่า “จะต้องเอาหอก ทำจา (จอบ) คือจะอยู่เย็นเป็นสุข”

ฟ้าร้องทิศตะวันตก ทางที่ ๑ ทำนายว่า “จะเกิดแห้งแล้ง ฝนตก ไม่แน่นอน ข้าวจะยากหมากจะแพง” ส่วนทางที่ ๒ ทำนายว่า “จะต้องเอาจา (จอบ) ทำหอก คือจะรบราฆ่าฟันกัน”

          พิธีกำฟ้าในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือนสาม ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือนสาม ก่อนพิธี ๑ วัน จะมีการทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ไว้เลี้ยงดูกัน และทำข้าวจี่ (ปั้นจี่) เตรียมไว้ทำบุญตักบาตรในเช้าวันรุ่งขึ้น บางท้องที่เลิกทำข้าวปุ้นด้วยเห็นว่ายุ่งยาก โดยทำข้าวหลามตามประเพณีบุญข้าวหลามในเดือนยี่แทน จึงทำให้ เข้าใจคลาดเคลื่อนว่าประเพณีกำฟ้ามีการทำข้าวหลามด้วย

          ในวันนี้ ตอนเย็นชาวบ้านจะนำข้าวสารเหนียว น้ำตาล ไข่ ไปรวมกัน ที่วัดในหมู่บ้าน เพื่อให้พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และเก็บไว้ทำข้าวจี่ในตอน กลางคืน ตกกลางคืน หนุ่มสาวจะพากันไปที่วัด มีการร่วมร้องรำทำเพลงกัน อย่างสนุกสนาน เรียกตามประเพณีว่า “ไปงันข้าวจี่” บางท้องที่จัดเป็นงานใหญ่ มีมหรสพ ตกดึกก็จะรวมกันนึ่งข้าวเหนียว พอสุกก็เคล้ากับเกลือ แล้วขูดมะพร้าวกวนกับน้ำตาล ปั้นเป็นไส้ (บางแห่งทำแปลกออกไป ใช้ถั่วลิสงคั่วป่น ผสมน้ำตาลกวนเป็นไส้) ปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนสอดไส้ข้างใน เสียบในง่ามไม้ไผ่ ปิ้งไฟให้เหลืองกรอบ ทาด้วยไข่แดงแล้วปิ้งอีกครั้งหนึ่ง บางแห่งต้องการความรวดเร็วก็นำข้าวเหนียวปั้นสอดไส้ ชุบไข่ทอดให้เสร็จไปที่เดียว

          วันรุ่งขึ้นคือ วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือนสาม ชาวบ้านก็จะนำไทยทาน และอาหารไปร่วมทำบุญกันที่วัด โดยเฉพาะข้าวจี่ต้องใส่บาตรให้ครบตามจำนวน พระสงฆ์ที่อาราธนามา

          ในวันกำฟ้า ชาวไทยพวนทุกครัวเรือนจะหยุดงาน โดยเชื่อกันว่าใครฝ่าฝืนจะถูกฟ้าผ่าตาย บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเหลวไหล แต่หากพิจารณา ให้ดีจะเห็นว่าเป็นกุศโลบายของคนโบราณ ที่ต้องการให้กลับมาพบญาติพี่น้อง และไปร่วมงานด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน เป็นการลดความเห็นแก่ตัว ที่เคร่งครัดยิ่งกว่านี้ถึงกับห้ามส่งเสียงดัง อีกทึกครึกโครมในวันกำฟ้า เพราะเกรงว่าฟ้าจะผ่าจนกว่าจะเลยเวลาที่กำหนด ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า “มันกำฟ้า”  คำว่า  “มัน”  แปลว่า พ้นเขต แต่ปัจจุบันความเชื่อนี้ลดลงจึงมีการจัดมหรสพกันอย่างสนุกสนาน

          เมื่อพ้นกำฟ้า ๗ วันจะต้องกำฟ้าอีกครึ่งวัน จากนั้นต่อไปอีก ๕ วัน จะจัดอาหารไปถวายพระเสร็จแล้วนำไฟดุ้นหนึ่งไปลอยตามแม่น้ำลำคลองถือเป็นการบูชาและการระลึกถึงเทพยดา

          ปัจจุบันชาวไทยพวนที่บ้านบางน้ำเชี่ยว และบ้านดอนคา อำเภอพรหมบุรี ยังคงสืบทอดประเพณีเก่าแก่อันเป็นเอกลักษณ์ของตน ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานชาวไทยพวนต่อไป

 

ขอบคุณเนื้อหาบทความจาก

สิงห์บุรี วีรชนคนกล้า : สายธาราวัฒนธรรม

ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก

MediaofThailand

 

 

7,045 views

0

แบ่งปัน