คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แกงบอน

ตำรับแม่ครัวหัวป่า

แกงบอน ตำหรับแม่ครัวหัวป่า

              อาหารการกินเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงกับชุมชน และเชื้อชาติ อาหารในสิงห์บุรีก็มีลักษณะแตกต่างไปตามวิถีชีวิตของผู้คนที่สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษทั้งที่เป็นคนไทยดั้งเดิมและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอาศัยเป็นกลุ่ม ๆ หรือเป็นหมู่บ้านในปัจจุบัน อาทิ ไทยเวียงหรือ ลาวเวียงจะมีถิ่นฐานในบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี ลาวแง้วอยู่บ้านทองเอน อำเภออินทร์บุรี ไทยพวนอยู่บ้านบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี อาหารเมืองสิงห์ จึงมีความหลากหลายและมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

              คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยายที่อยู่ในตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี เล่าถึงการกินอยู่ในชีวิตประจำวันเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้วว่า ฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชผักออกดอกออกผลอุดมสมบูรณ์ บวบ แฟง ฟักทอง ตำลึง เลื้อยตามรั้วให้เก็บกินได้ตลอดปี  ในลำน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง มีบัว ผักบุ้ง ปลาชนิดต่าง ๆ ชุกชุม ลงใช้สุ่มจับปลาครั้งหนึ่ง ๆ ได้ปลาจำนวนนับ ๑๐ กิโลกรัม ใช้ปรุงอาหารและ แบ่งปันเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วยังมีเหลือทำปลารมควัน ทาเกลือผึ่งแดด หรือ อาจหมักทำเป็นปลาร้าเก็บไว้กินได้นานวัน

              รายการอาหารที่ทำกินประจำวัน ก็มักจะใช้ส่วนประกอบหลักจากสิ่งที่หาได้ในชุมชน ตำรับอาหารที่ทำกินใน ครัวเรือนในครั้งนั้น ปัจจุบันยังคงอนุรักษ์สืบสานเป็นอาหารคู่บ้านจนทุกวันนี้ และจัดเป็นตำรับแม่ครัวหัวป่า อาทิ แกงบอน ปลาร้าปิ้ง ต้มปลาร้าหัวตาล เป็นต้น เรามาดูกันสิว่าอาหารที่ดูเหมือนธรรมดานี้ แม่ครัวหัวป่ามีเคล็ดลับ ความอร่อยอย่างไรบ้าง

การทำแกงบอน ตำรับแม่ครัวหัวป่าต้องทำตามขั้นตอน มิฉะนั้นรสชาติจะไม่ใช่ตำรับของบรรพบุรุษขนานแท้

เริ่มด้วยซอยตะไคร้ ผิวมะกรูด ข่า แล้วตำให้ละเอียดก่อน

จากนั้นใส่หอมแดง กระเทียม กระชาย พริกแห้ง ตำให้เข้ากันจนละเอียด แล้วผสมเนื้อปลา

อาจเป็นปลาช่อนหรือปลาทูโขลกให้เข้ากันอีกครั้งจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วพักไว้

 นำกะทิตั้งไฟ คนเบาๆ จนเดือด แล้วใส่พริกแกงลงไป เติมน้ำปลาร้า

ใส่บอนลงไปแล้วค่อย ๆ กดบอนให้จมน้ำแกง โดยใช้ไฟแรง

ปรุงรสด้วยน้ำมะขาม น้ำตาลปี๊บ เกลือหรือน้ำปลา

              เมื่อเดือดจนบอนสุกยุบตัวแล้ว ฉีกเนื้อปลาช่อนย่างใส่ลงไป โรยด้วยใบมะกรูดฉีก เคล็ดลับความอร่อย ขึ้นอยู่กับการใส่กระชายยิ่งมากยิ่งอร่อย แต่ข่าและตะไคร้ ไม่ควรใส่มาก เพราะจะทำให้น้ำแกงเปรี้ยว แกงบอนจะอร่อยยิ่งขึ้นหากค้างคืนไว้แล้วนำมาอุ่นอีกครั้ง บอนจะนุ่ม รสชาติจะเข้มข้นขึ้น

              สิ่งสำคัญในการทำแกงบอนคือจะต้องอยู่ในความดูแลของผู้ที่มีความชำนาญและประสบการณ์พอสมควร เนื่องจากบอนนั้นมีพิษคันที่รุนแรงมาก  เป็นอันตรายต่อคนทาน  หากว่าไม่รู้วิธีกำจัดพิษคันของบอน  ในตำรับของแม่ครัวหัวป่าจะใช้ ความร้อนจากกะทิ และความเปรี้ยวจากมะขามเปียกที่คั้นกับน้ำกะทิร้อนๆใส่ลงไปเพื่อขจัดพิษคันของบอนนั่นเอง

ขอบคุณเนื้อหาบทความจาก

หนังสือ สิงห์บุรี วีรชนคนกล้า : สายธาราวัฒนธรรม

3,469 views

0

แบ่งปัน