คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เสาหลักเมืองสิงห์

ศาลหลักเมืองสิงห์บุรี

          ศาลหลักเมืองสิงห์บุรี

          ศาลหลักเมืองถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่ตั้งของหลักเมืองตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ว่า ก่อนจะเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองขึ้นในที่อันเป็นชัยภูมิที่สำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น เป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่ประชาชนสำหรับยึดถือทางจิตใจว่าบ้านเมืองที่สร้างขึ้น มีรากฐานฝังไว้อย่างมั่นคงแล้วและด้วยอานุภาพของหลักเมืองจะช่วยให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขเจริญรุ่งเรืองต่อไป ทั้งนี้เชื่อกันว่าการสร้างเสาหลักเมืองนี้ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นนั้นก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เรียกว่า “พระราชพิธีนครฐาน” เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325

          สำหรับเสาหลักเมืองสิงห์บุรี มีความสูง 270 เซนติเมตร(จากฐานเสาระดับพื้นอาคาร) ต้นเสาเป็นกลีบบัว โดยรอบสูง 14 เซนติเมตร จากฐานที่ตั้งเสาถึงยอดกลีบบัวสูง 33 เซนติเมตร ส่วนที่เป็นยอดเสาสูง 68 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่ภายในมณฑป เป็นทรงไทยจัตุรมุข 2 ชั้น มีพระปรางค์อยู่กลางประตูมีประจำ 4 ทิศ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 13.49 เมตร สูง 17 เมตร

          ตัวเสาหลักเมืองเป็นไม้สักทอง ได้มาจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โดยนายชื่น หัตถโกศล ช่างแกะสลักบ้านประศุก ตำบลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แกะสลัก จัดขบวนแห่ไปประกอบพิธีที่วัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี

บริเวณด้านข้างศาลหลักเมืองมีพระพุทธมงคลนพรัชภัทรปฏิมากร ประดิษฐานอยู่

          ส่วนอาคารแนวยาวด้านหน้าเป็นอาคารจัดแสดงรูปเคารพเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสิงห์บุรี เรียงรายให้ประชาชนเข้ามากราบไหว้ เรียงตามลำดับจากซ้ายไปขวา ดังนี้  

  1. พระพุทธรูปปางนาคปรก
  2. พระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น หรือ วัดไม้แดง พระผู้เป็นขวัญกำลังใจแก่ชาวบ้านบางระจัน   ชาตะ พ.ศ. 2243  มรณะ พ.ศ. 2325
  3. หลวงพ่อศรี เกสะโร วัดพระปรางค์ สุดยอดอมตเถราจารย์แห่งเมืองสิงห์ ชาตะ พ.ศ. 2408  มรณะ พ.ศ. 2480
  4. หลวงพ่อวอน วัดโพธิ์แก้วนพคุณ ชาตะ พ.ศ. 2421  มรณะ พ.ศ. 2493
  5. หลวงพ่อเจ็ก อาจารสุโภ วัดระนาม พระอริยสงฆ์ 5 แผ่นดิน ชาตะ พ.ศ. 2440  มรณะ พ.ศ. 2538
  6. หลวงพ่อพูน สาคโร วัดสังฆราชาวาส พระผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ชาตะ พ.ศ.2419  มรณะ พ.ศ. 2485
  7. หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข ชาตะ พ.ศ. 2436  มรณะ พ.ศ. 2537
  8. หลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว เทพเจ้าแห่งเมืองสิงห์บุรี ชาตะ พ.ศ. 2441  มรณะ พ.ศ. 2510
  9. หลวงพ่อแพ เขมังกโร วัดพิกุลทอง เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย ชาตะ พ.ศ. 2448  มรณะ พ.ศ. 2542
  10. หลวงพ่อจวน สุจิตโต วัดหนองสุ่ม พระทองคำ ชาตะ พ.ศ. 2457  มรณะ พ.ศ. 2536
  11. หลวงพ่อจรัญ ฐิตธม.โม วัดอัมพวัน พระสุปฏิปันโนแก่นแท้แห่งกรรมฐาน ชาตะ พ.ศ. 2471  มรณะ พ.ศ. 2559
  12. หลวงพ่อฉาบ มังคโล วัดศรีสาคร ภิกษุผู้ไม่ลงกุฏิกว่า 30 ปี ชาตะ พ.ศ. 2471  มรณะ พ.ศ. 2560
3,015 views

0

แบ่งปัน