คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เขื่อนสรีดภงส์

     "เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฏี พิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก....." ถ้อยคำในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๓ ของพ่อขุนรามคำแหง กล่าวเอาไว้และวันนี้เราจะไปชมโบราณสถานที่กล่าวถึงในศิลาจารึกนั้นกันค่ะแต่เราจะพาไปดูที่ วัดที่เขาเคยขุดค้นพบท่อส่งน้ำกันก่อน เริ่มจากเส้นทาง ประตูนะโม ตามทางไปเรื่อยๆในเส้นทางนี้เราจะมองเห็นวัดตลอดทางเลยล่ะ และวัดที่น่าสนใจในเส้นทางนี้คือ วัดเชตุพน  เป็นวัดที่มีความโดดเด่นด้วยพระพุทธรูปประทับยืนอยู่บนมณฑป หินชนวนขนาดใหญ่ มองเห็นได้แต่ไกลเลยจ้า แต่เดิมก็มีพระพุทธรูปสี่อิริยาบถด้วยนะ(นั่ง นอน ยืน และเดิน)แต่ปัจจุบันจะเห็นแค่พระพุทธรูปประทับยืนที่ยังมีให้เห็น

      และที่วัดนี้มีการขุดพบท่อน้ำดินเผาขนาดต่างๆ ใกล้ขอบสระและคูน้ำรอบๆวัดเชตุพน ที่คนในสมัยก่อนใช้ส่งน้ำจากเขื่อนสรีดภงส์เข้ามาใช้ในเมือง ท่อส่งน้ำดินเผาไปชมได้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหงค่ะที่น่าสนใจอีกอย่างคือวัดนี้ทั้งพื้นและกำแพงทำจาก หินชนวน มองแล้ว คล้ายๆกับสโตนเฮนจ์ ที่ประเทศอังกฤษ เคยสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักมากนี้ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน แค่คิดก็ทึ่งแล้วถ้าชอบถ่ายภาพ วัดนี้มีหลายๆมุมสวยๆเลยจ้าหลังจากนั้น ก็ย้อนกลับมาสัก300เมตรจะเจอทางแยก เลี้ยวซ้าย ไปตามทางก็จะเจอ ป้ายทางขวามือเขียนว่า วัดโซกเป็ด เลี้ยวไปตามทางจะเจอสามแยกอีก เลี้ยวขวาตรงไปเรื่อยๆจะพบแนวคัน ดินขนาดใหญ่ และมีทางขึ้นอยู่ที่ ด้านซ้ายมือ ใกล้ๆทางขึ้นมีร้านค้าของชาวบ้านอยู่ร้านหนึ่ง หากจะ อยากจะซื้อน้ำหรือขนมกรุบกรอบก็แวะซื้อกันกันได้จ้า ร้านค้าแถวนี้ค่อนข้างหายากนิดหนึ่งค่ะ

      เมื่อเราขึ้นมาบนแนว คันดินเรียบร้อยแล้วจะเห็นผืน แผ่นน้ำที่กว้างขวางที่นี่แหละ คือ สรีดภงส์ หรือที่ชาวบ้านเรียก ต่อๆกันมาว่า " ทำนบพระร่วง"  คันของสรีดภงส์ นั้นเชื่อมต่อติดกันระหว่าง เขาพระบาทใหญ่ที่อยู่ ทางด้านซ้ายมือและเขากิ่วอ้ายมา ซึ่งอยู่ทางด้านขวา แต่ก่อนนั้นตัวสรีดภงส์  จะมีขนาดเล็กและต่ำ กว่านี้ เพิ่งมาทำให้สูงใหญ่ในช่วงหลังมานี้เอง สรีดภงส ทำหน้าที่รับน้ำจากโซกพระร่วงซึ่งจะอยู่ลึกเข้าไปในหุบเขา จากนั้นน้ำทั้งหมดก็จะมารวมตัวกันที่ ที่เรายืนอยู่นี่แหละ และเมื่อเรา ก็เดินไปทางด้านใต้ของเขื่อนหรือฝั่งของเขาพระบาทใหญ่ จะมีประ ตูน้ำตั้งไว้อยู่ ฝั่งตรงข้ามของประ ตูน้ำนี่คือต้นคลองเสาหอค่ะ ตัวคลองเสาหอจะอยู่เยื้องกับแนวตัว เมืองเก่าสุโขทัย เป็นความชาญ ฉลาดของคนโบราณซึ่งจะไม่เอาตัวเมืองขวางทางน้ำ น้ำจะไหล จากสรีดภงส์ ไปตามแนวของลำ คลองเสาหอไปสู่มุมเมืองด้านทิศใต้ และกระจายสู่กำแพงเมืองด้าน ใน เข้าไปสู่ตระพังต่างๆที่ถูกขุดไว้ รอน้ำเพื่อกินใช้ในยามแล้งอีกทีหนึ่งค่ะ และถ้าอยากได้ภาพ พระอาทิตย์ตกดินสวยๆแนะนำที่นี่เลยค่ะ เขื่อนสรีดภงส์ มาสักครั้งจะหลงรักเลยล่ะ

     เรื่องเล่าส่งท้ายก่อนจบ  ที่มาของชื่อคลองเสาหอ เมื่อสมัยก่อน เวลาจะออกเรือนต้องมีเรือนหอก่อน และมันก็เป็นหน้าเป็นตาต่อตัวเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ทางฝ่ายผู้ชายต้องไปตัดไม้เพื่อที่จะมาทำเรือนหอและที่ในป่าก็มีแต่ไม้ที่ไม่ค่อยสวย เพราะก่อนผืนป่าเมืองเก่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ ดังเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์"เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง"ถึงการไปถึงยังทับเก่า ธารชมพู่ ว่าพบรอยเท้าเสือขนาดใหญ่ ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ไม่นาน ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย อันมากมายด้วยไม้สัก ก็ถูกออกสัมปทาน ซึ่งคนท้องถิ่นเอง ก็มีค่านิยมในการออกเรือนโดยมีเรือนหอ ทว่า แหล่งทรัพยากรของคนเมืองเก่านั้นเหลือเพียงน้อยนิด จากแหล่งผืนป่าโซกพระร่วง โดยต้องชักลากไม้ผ่านคลองเสาหอ เหลือเพียงไม้เสาเดนจากการสัมปทาน หนุ่มต่างถิ่น ต่างมุมานะ เดินทางรอนแรม ขับล้อวัวเดินทางไกลออกไป เพื่อออกไปหา แหล่งไม้สร้างเรือนที่ไกล และดีกว่า เช่นป่าวังหาด ป่าแม่แสล่ม จนก่อสร้างเป็นเรือนหอหลังงามในที่สุด ความงามของสาวเมืองเก่าเป็นที่โจษขานและ ถูก หวงก้างโดยหนุ่มเมืองเก่าเจ้าถิ่น จึงถูกกล่าวเหยียดหยันให้ว่า พวกเมืองเก่าเสาคด  นี่คือการว่าเหน็บกันแบบคนเมื่อตะก่อนโน้นจ้า

ภาพและบทความโดย

นางสาว ลักษมณ จงใจ

5,255 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย