สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
นครเขลางค์รถ 4 ขาม้า 2 ล้อ แน่นอนว่าต้องกล่าวถึง เอกลักษณ์ของจังหวัดลำปางนั้นก็คือ ”รถม้า” พาหนะที่คนลำปางใช้ในการเดินทาง เป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงพบเห็นการใช้รถม้าในปัจจุบัน จนมีคำกล่าวเอาไว้ว่า “หากใครมาแอ่วเมืองลำปางแล้วไม่ได้นั่งรถม้าถือว่ามาไม่ถึง” ทั้งนี้รถม้าในลำปางนั้นถือว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนานเกือบร้อยปี
ซึ่งย้อนไปในอดีต รถม้าเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงสั่งรถม้าเข้ามาเป็นจำนวนมากเพื่อใช้เป็นรถหลวง กระทั้งรถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาท รถม้าจึงได้ถูกกระจายออกจากกรุงเทพฯ และในช่วง พ.ศ.๒๔๕๘ ได้มีการวางรางรถไฟขึ้นมาจนถึงลำปาง รถม้าจึงมีบทบาทสำคัญด้วยการเป็นยานพาหนะรับส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟจังหวัดลำปางเข้าสู่ตัวเมือง
สำหรับลักษณะของรถม้าลำปางนั้นเป็นรถแบบเปิดประทุน ที่นั่งผู้โดยสารคล้ายคลึงกับที่นั่งของจักรยานสามล้อ แต่มีขนาดใหญ่กว่า อยู่ทางตอนหลังของที่นั่งคนบังคับ ซึ่งมีระดับสูงกว่าเล็กน้อย นั่งได้คันละไม่เกิน ๔ คน ในอดีตรถม้ามีเพียง ๒ ล้อ ถ้าจะพิจารณาถึงรถม้าทรงคันที่ล่ม เพราะมีเพียง ๒ ล้อเท่านั้นจึงล่มง่ายเหลือเกิน เพียงล้อหนึ่งปีนขึ้นไปบนแท่นอิฐ รถก็พลิกได้ ถ้ามีสี่ล้อคงไม่ล่มง่าย อย่างนั้น รถม้าตอนปลาย ๆ รัชกาลที่ ๔ จึงได้มี ๔ ล้อ สองล้อหลังใหญ่ สองล้อหน้าเล็ก ใช้ยางตัน ที่นั่งสารถีอยู่ข้างหน้า ด้านหลังก็มีเบาะสำหรับคนนั่ง มีประทุนทำด้วยผ้าใบ
อาชีพหนึ่งที่กำเนิดขึ้นได้เพราะรถม้าคือ สารถีนั้นหรือคนขับรถม้านั้นเอง นายกสมาคมกล่าวว่า "สารถีเป็นคนจังหวัดลำปาง 100 % ดังนั้น เขาจะมีความผูกพันและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญต่างๆ สามารถบรรยายได้อย่างคร่าวๆ
ปัจจุบันลูกค้าส่วนมากจะเป็นพวกกรุ๊ปทัวร์มีทั้งทัวร์ในประเทศเช่นทัวร์จากภาคใต้ ภาคอีสานจะมาแวะที่ลำปางก่อนจะขึ้นเหนือไปเชียงใหม่ ส่วนทัวร์จากต่างประเทศส่วนมากจะเป็นทัวร์จากประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ก็พอมี ทางยุโรปก็มีเช่นประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์
เกศราพรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า "รถม้าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำปาง อยากจะให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์และรักษาเอาไว้ คนลำปางจะได้มีอาชีพ และถ้าไม่มีรถม้านักท่องเที่ยวอาจจะไม่แวะลำปาง อาจจะเลยไปเชียงใหม่ เชียงรายเลยก็ได้"
สำหรับรถม้าลำปางจะมีให้คนไทยได้สัมผัสเชยชมอีกนานแค่ไหน ถือเป็นเรื่องที่ไม่มีใครตอบได้ แต่ตราบใดที่ยังคงมีคนมองเห็นในคุณค่าของรถม้าลำปาง และมีใจที่จะอนุรักษ์รถม้าไว้ ตราบนั้นลำปางก็ยังมีรถม้าอยู่เคียงคูไปอีกนานเท่านาน
แหล่งที่มา
เว็บไซต์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำปาง [ http://pvlo-lpg.dld.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=70%3A2011-01-06-04-30-47&catid=35%3A-2553 ]