คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ผางประทีป

จากหม้อดินเผาสู่ผางประทีป

ผางประทีป เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในภาคเหนือเป็นอย่างมาก มักจะใช้ในงานประเพณีลอยกระทง หรือใช้ในโอกาสต่างๆ ผางประทีป : เป็นภาชนะดินเผา ตรงกลางมีลักษณะเป็นหลุมลงไปไม่ลึกมาก เพื่อให้เพียงพอต่อการใส่ไส้เทียนที่ทำมาจากฝ้ายและขี้ผึ้ง โดยช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมจะเป็นช่วงของการทำตัวผางประทีปที่เป็นภาชนะดินเผา เริ่มต้นจากการนำดินเหนียวที่หมักเรียบร้อยแล้วมาปั้นขึ้นรูปเป็นตัวผางประทีป จากนั้นผึ่งลมทิ้งไว้ให้พอหมาด และนำไปเผาโดยใช้ฟางข้าวเป็นเชื้อเพลิงตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้าน ตัวผางประทีปที่เป็นภาชนะดินเผาจะมีการทำสะสมและเก็บไว้จนใกล้ถึงช่วงเทศกาลลอยกระทงก็จะใส่ไส้เทียนและหล่อขี้ผึ้งลงไป แล้วผึ่งไว้ให้แห้งเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป

 

บ้านสันกลางบ่อแฮ้ว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นชุมชนหนึ่งที่ยังคงมีการทำผางประทีปอยู่ โดยมีผู้สูงอายุเป็นผู้ผลิต เดิมชุมชนแห่งนี้ได้มีการทำหม้อดินเผามาก่อนและได้ทำผางประทีปควบคู่กันมา จากคำบอกเล่าก็เป็นเวลายาวนานกว่า 70 ปีเป็นต้นไป หม้อดินเผา : เป็นภาชนะประเภทหนึ่งที่ทำมาจากดินเหนียว หม้อดินเผาของบ้านสันกลางบ่อแฮ้วมีเอกลักษณ์โดดเด่น คือ หลังจากปั้นขึ้นรูปแล้วนำไปผึ่งแดดทำให้แห้งในระดับหนึ่ง จากนั้นจะนำไปชุบน้ำดินเหลืองเพื่อทำให้หม้อดินเผามีสีสันสวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำหม้อดินเผาไปใช้สำหรับใส่น้ำในการอุปโภค – บริโภค โดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับหม้อดินเผาไปจำหน่าย รวมถึงชุมชนใกล้เคียงที่จะมารับหม้อดินเผาไปใส่น้ำตาลจากต้นตาล เพื่อหาบเร่ไปขายในพื้นที่อำเภอ ต่อมาเมื่อต้นตาลเริ่มลดน้อยรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ความนิยมการใช้หม้อดินเผามีจำนวนน้อยลง จึงทำให้หม้อดินเผาลดกำลังการผลิตลงด้วย ชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ผลิตทั้งหม้อดินเผาและผางประทีปก็ได้หันมาทำผางประทีปเป็นส่วนใหญ่และในปัจจุบันนี้จึงเหลือการทำผางประทีปเพียงอย่างเดียว

 

ผางประทีป เป็นสัญลักษณ์ทางภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ ทั้งนี้ หากความความนิยมจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและคนรุ่นใหม่ไม่มีสืบทอดแล้วนั้น ก็อาจจะส่งผลให้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนสูญหายไปในที่สุด

6,649 views

2

แบ่งปัน