คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระแม่ย่าสุโขทัย

สักการะขอพรพระแม่ย่าสุโขทัย 1 ใน 10 ของ "10 สิ่งที่ต้องทำในสุโขทัย"

สักการะขอพร “ พระแม่ย่า ” สุโขทัย

          ศาลพระแม่ย่า เป็นสถานที่ 1 ใน 10 ของ "10 สิ่งที่ต้องทำในสุโขทัย" นั่นคือ "การไหว้สักการะพระแม่ย่า" เนื่องจากเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสุโขทัยอีกสิ่งหนึ่ง เดิมพบองค์พระแม่ย่าที่เพิงหินบนยอดเขาสูงที่สุดยอดหนึ่งของเขาหลวง ในเขตบ้านโว้งบ่อ ตำบลนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย คือ เขาแม่ย่า หรือ เขาน่าย่า ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสุโขทัยเก่าไปประมาณ ๗ กิโลเมตร เพิงหินที่พบเทวรูปนั้น ปัจจุบันก็เรียกกันว่า ถ้ำพระแม่ย่า ชาวบ้านแถวนั้นมีความเชื่อว่าหากไหว้สักการะ ขอพรใดๆก็จะสมปรารถนาในทุกเรื่อง และในช่วงสงกรานต์มีประเพณีแหนพระแม่ย่า เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล เพราะทุกครั้งที่แห่แหนประแม่ย่าก็จะมีฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์

          จากศิลาจารึกหลักที่ 1 นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า พระขพุงผี หมายถึงเทวรูปและเป็นเทพที่ยิ่งใหญ่กว่าผีทั้งหลายในเมืองนี้ และน่าจะเป็นองค์พระแม่ย่า ที่สร้างอุทิศแด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วคือพระนางเสือง พระราชมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ยังไม่มีข้อยุติ และชาวบ้านส่วนมาก เชื่อว่า พระแม่ย่าคือ พระนางเสือง พระราชมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระแม่ย่าของพระยาเลอไท ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเรียกพระมหากษัตริย์ว่า พ่อเมือง จึงเรียกพระราชมารดาของพ่อเมืองว่า "แม่ย่า"

          ในปี พ.ศ.2486 ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า ถ้าแห่แหนบ่อย อาจจะทำให้องค์พระแม่ย่าเกิดเสียหายได้ จึงสร้างองค์จำลองไว้ที่ถ้ำพระแม่ย่า และอันเชิญองค์จริงมาประดิษฐานที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสุโขทัย และสร้างเทวลัยที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ ศาลพระแม่ย่า ” ต่อมา ในปี พ.ศ.2537 ผู้ว่าราชการจังหวัด พ่อค้า ประชาชน และข้าราชการ เห็นว่าศาลพระแม่ย่าหลังเก่าชำรุดทรุดโทรม ได้มีความคิดเห็นให้ทุบทิ้ง และสร้างศาลใหม่

          ดังนั้นจึงถือว่า “ พระแม่ย่า ” เป็นของคู่บ้านคู่เมือง ประชาชนมีความเคารพเลื่อมใสศรัทธา เชื่อว่าปีใดเกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพงถ้าได้อัญเชิญ พระแม่ย่าออกมาแห่ในวันสงกรานต์ เพื่อร่วมกันสรงน้ำ และขอพรพระแม่ย่า จะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จนกลายเป็นประเพณีแห่พระแม่ย่าในวันสงกรานต์ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำพระแม่ย่าจนถึงปัจจุบัน

          ซึ่งศาลพระแม่ย่าคาถาบูชา พระแม่ย่า 2 อย่างคือ คาถาบูชา พระแม่ย่า (มนต์ขอลาภ-มงคล) และคาถาบูชา พระแม่ย่า (มนต์กำจัดภัย)

           คาถาบูชา พระแม่ย่า (มนต์ขอลาภ-มงคล)

ตั้งนะโม 3 จบ ตามด้วยบทสวด

อหัง วันทามิ ขะพุงผีมะหาเทวะตา รักขันตุ สะทาตุมเห อะนุรักขันตุ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะลาภัง สะทาโสตถี ภะวันตุเม 

           คาถาบูชา พระแม่ย่า (มนต์กำจัดภัย)

ตั้งนะโม 3 จบ ตามด้วยบทสวด

อะหัง วันทามิ ขะพุงผีมะหาเทวะตา สัพพะอุปาทา สัพพะทุกข สัพพะโศก สัพพะโรค อุปาทา วินาสายะ สัพพะสะตรู ปะมุจจะติ โอม ขะพุงผีมะหาเทวะตา สะทา รัพขันตุ สะวาหะ สะวาหายะ

          เมื่อสวดคาถาเสร็จ ก็นำธูปเทียนไปปักที่กระถางธูป แล้วจึงนำดอกไม้เดินเข้าไปถวายด้านในศาลพระแม่ย่าและกราบสักการะขอพร จากนั้นก็นำทองคำเปลวปิดทองเทวรูปพระแม่ย่าด้านนอกที่อยู่ตรงทางขึ้นทั้ง 2 ฝัง นี้ถือว่าเป็นการเสร็จการสักการะองค์พระแม่ย่า แต่ยังสามารถวายบายศรี ผ้าสไบ และชุดไทยเป็นต้นที่มีให้ภายในศาลพระแม่ย่าอีกด้วย เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของชาวสุโขทัย

40,173 views

2

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย