คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เตาเวียงบัว

พิพิธภัณฑ์เตาเผาโบราณ

           เมืองโบราณเวียงบัว  เป็นแหล่งโบราณคดี ค้นพบเตาเผาโบราณ ซึ่งมีอายุกว่า ๗๐๐ ปี ซึ่งเป็นเตาเผาโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในล้านนา ค้นพบเตาเผาและเศษเครื่องจานชามอยู่ตามที่ลาดเนิน ตามริมลำน้ำห้วยแม่ต๋ำ ตามไร่นา และสวนของชาวบ้าน เตาเผาที่พบนั้นอยู่ในกลุ่มของเตาเก๊ามะเฟือง

           เตาเก๊ามะเฟืองที่พบ มีความยาว ๕.๑๕ เมตร กว้าง ๑.๙๐-๒.๐๐ เมตร ปล่องสูง ๑.๖๕ เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล่อง ๑.๖๕ เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล่อง ๔๐-๔๕ ซม. พื้นเตาเป็นดินอัดเรียบและยาทับด้วยดินเหนียวมีกำแพงกันไฟสูง ๓๕ ซม. ห้องภาชนะยาว ๒.๔๕ เมตร

            การขุดพบหลักฐานการผลิตเครื่องจานชามเนื้อแกร่งชนิดเคลือบ อยู่ประมาณปีพ.ศ.๑๘๒๓-๑๘๔๓ ในสมัยพระยางำเมือง แห่งเมืองพะเยา พบลวดลายภูมิจักรวาลที่เป็นอัตลักษณ์ของเครื่องจานชามที่เวียงบัวหลายแบบ  มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวคือ การกดทับลายด้วยดวงตรา การพิมพ์กดลาย การขูดเส้น ขูดสี เซาะร่อง แกะสลักลายเป็นรูปต่างๆ ส่วนใหญ่จะตกแต่งลวดลายตรงกลางชามด้านใน

          ลายลักษณ์ที่สำคัญที่พบได้แก่ ปลา สิงห์ ช้าง ม้า ดวงอาทิตย์ ธรรมจักร ก้นหอย ขวัญ อนันตวัฏฏะ ศรีวัตสะ นกหงส์ นกยูง นกสีแดงหรือฟีนิกส์ ซึ่งส่วนมากเป็นลายลักษณ์แบบใหม่ที่ยังไม่เคยพบเครื่องจานชามของแหล่งเตาอื่นๆ ในประเทศไทยหรือต่างประเทศมาก่อน

หลักฐานโบราณวัตถุที่พบในการขุดค้นเตาเก๊ามะเฟือง ทั้งหมดเป็นเครื่องปั้นดินเผา ที่สำคัญมี ๔ กลุ่ม

          ๑. ภาชนะประเภทจานชาม

          ๒. ภาชนะประเภทไห

          ๓. กี๋แผ่นกลมแบบสำหรับทำลวดลาย

          ๔. ตราประทับสำหรับทำลวดลาย

          เครื่องปั้นดินเผาที่ค้นพบในกลุ่มเตาเก๊ามะเฟือง เป็นเครื่องจานชามชนิดเนื้อแกร่ง เคลือบผิวอย่างสวยงาม ส่วนใหญ่เคลือบผิวเฉพาะด้านใน ไม่ทาดินรองพื้นสีขาวที่ด้านนอก มีการเคลือบและเผาซ้ำ ทำให้จานชามเนื้อแกร่งยิ่งขึ้น สีที่เคลือบส่วนมากเป็นโทนสีเขียว เช่น สีเขียวอ่อน สีเขียวแกมเหลือง และสีขาวนวล เนื้อดินที่ใช้ในการปั้นส่วนมากเป็นเนื้อดินสีดำ และมีเนื้อดินละเอียดสีขาว และสีขาวนวลปะปนอยู่ด้วย แต่มีจำนวนน้อย

ข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์เตาเผาโบราณเวียงบัว

หนังสืออารยะพะเยาที่แหล่งเตาเวียงบัว โดยศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์

7,822 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา