คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เกีย เซ็น ป๊อง

หนังสือเดินทางที่ยาวที่สุดในโลก

เกีย เซ็น ป๊อง พระราชสาส์นพระเจ้าผิงหวางใช้ป้องกันตัว สำหรับเดินทางข้ามภูเขาฉบับถาวร

อาจารย์แคะเว่น ศรีสมบัติ ซึ่งเป็นเจ้าของภูลังการีสอร์ทและเป็นประธานเครือข่ายผู้รู้ภูมิปัญญาชาติพันธุ์

อิ้วเมี่ยนแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับหนังสือเดินทางสืบต่อมาจากบรรพบุรุษ อาจารย์เป็นลูกหลานของผู้นำเผ่ารุ่นที่ ๕

อาจารย์เล่าให้ฟังว่า "หนังสือเดินทางข้ามภูเขา" หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก ได้รับมาจากผิงหวางฮ่องเต้ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๑๓ ของราชวงศ์โจวตะวันออก และเป็นหนังสือเดินทางที่เป็นตำนานยาวนานหลายร้อยปี บนหนังสือเดินทางที่แสนยาวฉบับนี้ เขียนเป็นภาษาจีน มีภาพเขียนประกอบ และมีตราประทับสีแดงของฮ่องเต้

ผิงหวางฮ่องเต้ ได้ออกหนังสือเดินทางฉบับนี้ให้แก่พระราชธิดา เพื่อเดินทางไปสร้างเมืองและนิรโทษกรรมให้ชาวเย้าที่เคยทำการสู้รบกันเมื่ออดีต มีข้อความในหนังสือเดินทางว่า ลงเรือไม่ต้องเสียค่าเรือ ไปถึงที่ใดที่ไม่ใช่ที่นาชาวบ้านก็ทำมาหากินได้เลย ลูกหลานที่เกิดมาก็ยกเว้นการเกณฑ์ทหาร เป็นราชโองการถ้าเจ้าเมืองที่ใดเห็นราชโองการนี้ก็ต้องทำตาม เมื่อพระราชธิดาให้กำเนิดบุตรทั้ง ๑๒ จึงได้ตั้งชื่อให้ทั้ง ๑๒ คน จากชื่อกลายมาเป็นแซ่ เผ่าเย้าจึงมีทั้งหมด ๑๒ แซ่ ใน ๑๒ แซ่ก็จะกระจายกันอยู่ในจีนตะวันออก และมีหนังสือเดินทาง ๑๒ ฉบับให้ไว้กับทั้ง ๑๒ แซ่ สำหรับถือเดินทางไปด้วยในทุกที่ที่ไป

ต่อมากลุ่มที่หนีออกจากจีน จะเป็นผู้ถือหนังสือและตราพระราชทานตามไปด้วย เผ่าเย้าที่นำหนังสือเดินทางเข้ามาในไทยมี ๓ ฉบับด้วยกัน ฉบับที่ ๑ อยู่ที่บ้านใหม่ร่มเย็นซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่สู้รบกัน ทหารสั่งให้ส่งมอบหนังสือให้ แต่ทางผู้นำเผ่าเกิดความกลัวจึงเผาทิ้ง ฉบับที่ ๒ ถูกญี่ปุ่นซื้อไป โดยญี่ปุ่นสามารถอ่านตัวอักษรในหนังสือได้ทั้งหมดและบอกว่าเหมือนบรรพบุรุษของตนเอง ส่วนฉบับที่ ๓ อยู่กับอาจารย์แคะเว่น ศรีสมบัติ ปัจจุบันจึงเหลืออยู่เพียงฉบับเดียว

 

อาจารย์เล่าว่า คุณทวดบอกว่า หนังสือเดินทางฉบับจริง หากจะเปิดดูต้องขออนุญาตก่อน เพราะเป็นพระราชสาส์นไม่ใช่หนังสือสามัญชน ต้องจุดธูปเทียนขออนุญาตเปิด ผู้ที่จะดูได้ต้องเป็นกลุ่มบัณฑิต เพราะถ้าชาวบ้านดูจะอ่านผิด แปลผิด ผิดราชโองการ หนังสือเดินทางที่เหลืออยู่ในประเทศไทยเพียงฉบับเดียวฉบับนี้ เป็นของสกุล 'แซ่ตั้ง' เป็นฉบับจริงเป็นเล่มที่สมบูรณ์ และมีตราประทับ ในปี ๒๕๐๐ มีคณะทำวิจัยมาขอดู และบอกว่าที่จีนมีเยอะแต่เป็นฉบับคัดลอกไม่มีตราประทับ หนังสือเดินทางฉบับนี้จึงมีความสำคัญสำหรับชาวเย้า ถือเป็นการมรดกทางประวัติศาสตร์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มชนและสิทธิที่ได้รับ โดยในแต่ละปีชาวเย้าจะได้ดูหนังสือเดินทางฉบับนี้เพียงครั้งเดียวใน 'วันปีใหม่'

หากใครที่อยากจะชมหนังสือเดินทางที่ยาวที่สุดในโลกฉบับนี้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ "ภูลังกา รีสอร์ท" นอกจากจะได้เรียนรู้ที่มาของชาวเย้าแล้ว ที่นี่ยังเป็นจุดชมทะเลหมอกของดอยภูลังกาที่สวยงามมาก เป็นอีกหนึ่ง Unseen Thailand ที่เหมาะกับการหนีเมืองหลวงอันวุ่นวายมาสัมผัส

3,715 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา