คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เรือนไม้

เรือนไม้เก่าโบราณ เรือนหลังแรกชุมชนแม่นาเรือ

เรือนไม้เก่าภาคเหนือหลังนี้เป็นบ้านของคุณยายต่อมแก้ว ใจบุญ อายุ ๘๙ ปี บ้านหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๕ สร้างมาแล้วกว่า ๖๕ ปี เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนไท-ยวน สร้างจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเรือนโบราณแต่แรกของชุมชนแม่นาเรือ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา

ในสมัยก่อนนั้น การสร้างเรือนจะเรียกกันว่า “เฮือนวาน” คือเรือนที่สร้างด้วยกำลังคนที่เกิดจากการไหว้วานกันหรือที่เรียกว่าการลงแขก ให้มาช่วยเหลือกันในการปลูกเรือน เรือนหลังนี้ออกแบบโดยสล่ายัง (ทางภาคเหนือจะเรียกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการช่างว่า สล่า) เป็นผู้ออกแบบเรือนหนึ่งในสามหลังในช่วงที่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านแม่นาเรือ โดยลักษณะสถาปัตยกรรมจะเป็นเรือนไม้จริงชั้นเดียวยกใต้ถุนโล่ง การสร้างเรือนยกใต้ถุนโล่งนั้น เพื่อใช้สำหรับประกอบกิจกรรมในตอนกลางวัน ส่วนชั้นบนใช้สำหรับอยู่อาศัย ชั้นบนของเรือนมีชานแดดและครัวไฟ ในเรือนประกอบด้วย หลังคาเป็นทรงจั่วผสมมีหลายจั่วในหลังคาเดียว มุงกระเบื้องซีเมนต์ มีหลังคาคลุมบันได และเสาแหล่งหมา ที่เป็นเสาเรือนต้นแรกหน้าบันไดทางขึ้นเรือน โครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมแกนไม้ไผ่ ฝาผนังตีแนวนอน เป็นรูปแบบของเรือนไท-ยวนที่อพยพมาจากเมืองลำปาง คุณยายเล่าให้ฟังว่าเรือนหลังนี้สร้างด้วยเงินเพียงหมื่นเดียว และเสาเรือนราคาเพียงต้นละ ๑๐ บาทเท่านั้น ภายในบ้านมีของเก่าที่เก็บสะสมไว้หลายชิ้น อาทิเช่น รูปถ่าย ตำราภาษาล้านนา เป็นต้น ปัจจุบันเรือนโบราณในชุมชนแม่นาเรือเหลืออยู่ทั้งหมด ๕ หลัง แต่เรือนของคุณยายต่อมแก้ว เป็นหลังที่เก่าแก่ที่สุด

4,549 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา