คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สุริยเทพ

"ถิ่นอุตสาหกรรม เครื่องหวายงามล้ำค่า กระยาสารทรสเด็ด เป็ดย่างรสดี ผัดหมี่พิมาย
ยอดมวยไทยยักษ์สุข สนุกพายเรือแข่ง แหล่งแมวสีสวาท ปราสาทหิน ถิ่นไทรงาม
เรืองนามประเพณี วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์พระพุทธวิมายะ"

         คำขวัญอำเภอพิมาย ซึ่งเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมขอมที่ยิ่งใหญ่ คือ ปราสาทหินพิมายที่ตั้งตระหง่าน กว่าพันปีมาแล้ว ยังคงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ยังเป็นตัวแทนของอารยธรรมในอดีตได้อย่างชัดเจน โดยที่แห่งนี้มีเรื่องเล่ามากมายหลากแง่ หลายมุม เรื่องราวเหล่านี้ล้วนมาจากคตินิยม ความเชื่อจากในอดีต เล่าสู่กันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงกาลปัจจุบัน แต่มีบางสิ่งบางอย่างที่ตั้งใจทำให้เกิดอยู่แล้วตั้งแต่ในอดีต คือ ลักษณะการวางผัง และวางตัวคารที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ตามความเชื่อที่หันหน้าสู่เมืองหลวง คือเมืองนครวัดที่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรขอม และการวางผังลักษณะนี้เอง ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่น่าสนใจมากในปัจจุบัน คือ ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกลอดซุ้มประตูผ่านแนวแกน สามารถมองเห็นผ่านทุกซุ้มประตูได้

         โดยข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับแสงอาทิตย์ลอดซุ้มประตูผ่านทางหนังสือต่างๆ บางส่วน และจากผู้ที่มีความรู้บางส่วน ซึ่งภาพที่ข้าพเจ้านำมาประกอบนี้ถ่ายเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงเวลาประมาณ 17.00 น. คือช่วงเย็นของวันที่แสงอาทิตย์สว่างมาก บรรยากาศเต็มไปด้วยผู้คน และผู้ที่มีความรู้ ต่างมารอชมปรากฎการณ์ดังกล่าว แล้วก็ไม่ผิดหวัง ดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวตรงช่องประตูเรื่อยๆ จนสามารถมองทะลุแกนของปราสาทตามแนวขวาง ทะลุทุกช่องประตู เป็นแสงสีส้มที่ลอดผ่านมา ผู้คนต่างให้ความสนใจและถ่ายภาพกันเป็นจำนวนมาก ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่ผ่านมาเจอ ภายในบริเวณอุทยาน โดยบริเวณที่ข้าพเจ้าถ่ายภาพ คือ ด้านซ้ายมือของปรางค์ประธาน ซึ่งมองลอดประตูไปทาง ทิศตะวันตก ก็จะสามารถมองเห็นแสงได้อย่างชัดเจน ก็เป็นที่กระจ่างแก่สายตาของหลายๆท่านที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ จนสามารถทราบวันที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้ได้อย่างแน่นอน และแม่นยำที่สุด ทำให้ผมที่ได้อยู่ในที่ตรงนั้นก็พลอยได้ความรู้ไปด้วย โดยการคาดคะเนนั้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมได้ โดยปรากฏการณ์นี้จะเกิดในช่วงเดือน มกราคม พฤษภาคม กรกฏาคม พฤศจิกายน ของทุกๆปี โดยวันและเวลานั้นจะต้องศึกษาอีกครั้ง จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการจะนำเสนอประสบการณ์ที่ผ่านมา เพื่อผู้ที่สนใจในการศึกษา และชมความสวยงามอีกแบบหนึ่ง และตามความเชื่อนั้น เมืองแสงสุริยะ ลอดผ่านซุ้มประตู มีความเชื่อว่าผู้ใดที่ได้รับแสงสุริยะนั้น จะเกิดความเป็นสิริมงคล และเป็นการเพิ่มหรือเสริมดวงชะตาบารมีของตนให้ดีขึ้นอีกด้วย ก็เป็นอีกหนึ่งความเชื่อ ขอให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการพิจารณา

         สุดท้ายนี้ข้าพเข้าขอฝากว่า เมืองพิมายนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายให้ท่านเลือกเที่ยวได้ตามความสนใจ และหากต้องการจะสัมผัสถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเพื่อเป็นมิติใหม่แห่งการท่องเที่ยวที่สามารถรับรู้ได้ทุกมิติ จึงเป็นช่วงเวลา และทางเลือกหนึ่งแก่ผู้ที่สนใจ และหากต้องการจะมาเที่ยวข้าพเจ้าแนะนำช่วงเดือนพฤศจิกายน เพราะนอกจากจะได้ชมปรากฏการณ์ที่น่าอัศจรรย์นี้แล้ว ยังจะตรงกับช่วงเทศกาลเที่ยวพิมายอีกด้วย  สุดท้ายนี้ข้าพเข้าในฐานะคนพิมายโดยกำเนิดขอให้ทุกท่านที่อ่านข้อความนี้ช่วยกันอนุรักษ์ รักษามรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นรากเหง้าของบรรพบุรุษเราไว้ ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดก็ตามขอให้รักและหวงแหนแผ่นดินเกิดของตน และส่งเสริม ศึกษาให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆจากสิ่งเดิม เพื่อประโยชน์สู่คนรุ่นหลังต่อไป ดังเช่นการศึกษาปรากฏการณ์นี้ที่ผู้ศึกษา ศึกษาจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ และเห็นผลชัดเจน นับเป็นตัวอย่างที่ดี

……….……….……….……….

Credit by :
นายวรุฒธ์  บุญชุ่ม

2,749 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครราชสีมา