กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา

20 เมษายน 2563

ชื่นชอบ 651

11,636 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

         

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา  เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เรียกโดยย่อว่า “ศว.นครราชสีมา”

มีพื้นที่  59  ไร่ 3 งาน  19   ตารางวา   มีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ  ติดกับ  วัดเขาเหิบ
  • ทิศใต้  ติดกับ  วัดเขาเสมาคีรี
  • ทิศตะวันออก  ติดกับ  โรงเรียนบ้านหนองขาม/อ่างเก็บน้ำซับประดู่
  • ทิศตะวันตก  ติดกับ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

          

           เดิมสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  มีศูนย์วิทยาศาสตร์
เพื่อการศึกษาแห่งชาติที่เอกมัย กรุงเทพมหานคร  เพียงแห่งเดียว  ซึ่งไม่พอเพียงต่อความต้องการของใช้บริการ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่เร่งรัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติโดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

           เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2537 คณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติโครงการ “ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและเครือข่าย” โดยให้จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต ที่จังหวัดปทุมธานี และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดขึ้นในทุกเขตการศึกษา รวม 12 เขตการศึกษา

           ปัจจุบันศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษามีทั้งหมด 19 แห่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาที่มีสถานภาพเป็นข้าราชการครู จำนวน 18 แห่ง และมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือน จำนวน 1 แห่ง     (ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา) อยู่ในกรุงเทพมหานคร ดังนี้

 

  1. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
  2. อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  3. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
  4. ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
  5. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากาญจนบุรี
  6. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแก่น
  7. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง
  8. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา
  9. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครสวรรค์
  10. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช
  11. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
  12. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา
  13. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง
  14. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร
  15. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว
  16. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี
  17. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม
  18. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส
  19. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพิษณุโลก

 

ตราสัญญลักษณ์

            ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา มีตราสัญลักษณ์ คำขวัญ และรูปแบบสัญลักษณ์ที่เป็นแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ดังนี้    

        

1. สัญลักษณ์  (LOGO) 

 

               ได้แนวคิดมาจากสูตรเคมี  ที่เคยเรียนมาและใช้สีสามสีแทนองค์ความรู้  หมายถึง วิทยาศาสตร์ทั้งสามแขนง  คือ ฟิสิกส์  เคมี  ชีวะ  หรืออีกนัยหนึ่ง มีความหมายเป็นรังผึ้งความเป็นองค์กรที่มีความสามัคคี  และพร้อมที่จะพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อไป  แกนกลางเป็นรูปอะตอมแทนความเป็นวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และลูกอะตอมเม็ดดำ แทนความเข้มข้นอะตอมนั้น

 

2.  คำขวัญ(MOTTO) “สร้างระบบคิด ปลูกจิตวิทยาศาสตร์”

           

3. รูปแบบสัญลักษณ์ (MASCOT)“เจ้าหนูถามจังเกิดจากการให้ความสำคัญกับการสร้างระบบความคิด เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นโดยวิทยาศาสตร์ มีลักษณะคล้ายมนุษย์  เขาเป็นเด็กช่างสงสัย  รู้จักสังเกต มีความอยากรู้อยากเห็น และต้องการค้นหาคำตอบอยู่ตลอดเวลาเจ้าหนูถามจังเสมือนเป็นทูตแห่งวิทยาศาสตร์ที่จะนำพาทุกคนไปรู้จักโลกของวิทยาศาสตร์”

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

กม.208 ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 30140
โทรศัพท์ : 044-416 983-5
โทรสาร : 044-416 983
เว็บไซต์ : http://www.koratsci.com
อีเมล : koratsci@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.

ค่าเข้าชม

เข้าชมฟรี

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องติดต่อประสานงานล่วงหน้า โทร 044-416983

12

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง