กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช

พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช

15 มิถุนายน 2566

ชื่นชอบ 679

72,394 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช จัดแสดงนิทรรศการของแต่ละภาควิชาเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์การแพทย์ 6 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์สุดแสงวิเชียร พิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ 

 

พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส

พิพิธภัณฑ์แห่งแรกในศิริราช โดย ศ.นพ.เอลเลอร์ จี.เอลลิส พยาธิแพทย์คนแรก เก็บรวบรวมอวัยวะผู้ป่วยที่ผ่านการตรวจพิสูจน์โรคแล้วไว้สำหรับสอนในวิชาพยาธิวิทยา

 

 

พิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน

พื้นฐานการเรียนแพทย์คือ ต้องรู้จักร่างกายของเราทุกส่วน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงมีอวัยวะมากกว่า ๒,๐๐๐ ชิ้น เพื่อการเรียนรู้วิชากายวิภาคศาสตร์ เริ่มเก็บรวบรวมโดย ศ.เอ็ดการ์ เดวิดสัน คองดอน

 

พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร

นับแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ เมื่อ ศ.นพ. สุด แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้านกายวิภาคศาสตร์และมานุษยวิทยา เข้าร่วมขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่ ต.จรเข้เผือก จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นการขุดค้นเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผาที่ฝังรวมกับโครงกระดูก ท่านรวบรวมสิ่งเหล่านี้จัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์ เปิดเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕

 

 

พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา

ศ.นพ.วิจิตร ไชยพร ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้รวบรวมตัวอย่างหนอนพยาธิหลายชนิดที่ได้จากผู้ป่วย

นำมาจัดแสดงประกอบกับวงจรชีวิตของมัน

 

 

พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน

งานนิติเวชศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการนำวิชาแพทย์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อหาสาเหตุการตายผิดธรรมชาติศ.นพ.สงกรานต์ นิยมเสน ได้รวบรวมวัตถุพยานจากคดีที่สิ้นสุดจำนวนมาก มาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์

 

 

พิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

จัดเตรียมขึ้นโดยมีลักษณะเฉพาะตัว เพราะที่ห้องนี้ไม่ว่าคนตาดี หรือตาบอด จะได้ชมนิทรรศการด้วยการ สัมผัสอย่างเท่าเทียมกันผู้บกพร่องทางการเห็นจะรับรู้ได้ถึงพระสิริโฉมอันงดงามของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถผ่านเหรียญเซเรสจำลอง พร้อมฟังบทบรรยายประกอบดนตรี สรรเสริญพระเกียรติคุณที่ปรากฏแก่ชาวโลก

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

 

พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส

นำเสนอให้ผู้ชมรู้จักโรคต่างๆ ที่คนไทยเป็นกันมาก เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง พัฒนาการและความพิการแต่กำเนิด พร้อมแนวทางการรักษาและป้องกันเทปโทรทัศน์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสอนเรื่องโรคหัวใจ มีให้ชมที่นี่ 

 

พิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน

เรียนรู้ร่างกายมนุษย์ทุกระบบ  ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยเจริญพันธุ์ รวมถึงแฝดชนิดต่างๆ มัดกล้ามเนื้อที่มีขนาดเล็กเท่าขนตาและกล้ามเนื้อที่ใหญ่สุดเท่าท่อนขา ที่ไม่ควรพลาดคือผลงานชำแหละเส้นประสาทและหลอดเลือดแดงทั้งร่าง สุดยอดฝีมือหนึ่งเดียวในโลก ของ ศ.พญ.เพทาย ศิริการุณย์ 

 

พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะนำท่านย้อนกลับไปอารยธรรมยุคก่อนประวัติ-ศาสตร์อีกครั้ง ท่านจะได้เห็นชิ้นส่วนกะโหลกโฮโม อีเรคตัส ที่พบในประเทศไทยเรียกว่า มนุษย์ลำปางซึ่งอยู่ในยุคเดียวกับมนุษย์ปักกิ่ง มีชีวิตอยู่เมื่อราว ๑,๐๐๐,๐๐๐ ปี ถึง ๔๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว และเครื่องมือหิน ๓ สมัย ได้แก่ สมัยหินเก่า สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ ซึ่งมีอายุมากกว่า๑,๐๐๐,๐๐๐ ,๐๐๐ ปี รวมถึงลูกปัดหินสีและเครื่องปั้นดินเผาเขียนสีแบบต่างๆ 

พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา

ท่านจะได้ชมพยาธิชนิดต่างๆ ตั้งแต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น โปรโตซัว จนถึงขนาดยาวเป็นเมตร เช่น พยาธิตัวแบน จำลองอาหารและวัฒนธรรมการบริโภคที่อาจนำโรคมาสู่ตัวเรา รวมถึงแมลงนำโรค สัตว์มีพิษและวิธีป้องกันตัว 

 

พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน

จัดแสดงเกี่ยวกับวัตถุพยานจากคดีต่างๆ เช่น คดีฆาตกรรมฆ่าตัวตาย อุบัติเหตุ ฯลฯ รวมทั้งการจำลองเหตุการณ์ที่แพทย์ศิริราชมีบทบาทในเหตุการณ์มหันตภัยสึนามิ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ 

 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทรศัพท์ : 02-419-6363 , 02-419-2618-9
โทรสาร : 02-411-0166
เว็บไซต์ : http://www.sirirajmuseum.com
อีเมล : sirirajmuseum@gmail.com

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์, วันพุธ-อาทิตย์ (หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เวลา 10.00-17.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 16.00 น.)

การเดินทาง

รถประจำทางสาย : 57, 81, 146, 149 และ 157

เรือด่วนเจ้าพระยา : ระบุลงท่ารถไฟ

เรือข้ามฟาก : ท่าพระจันทร์-วังหลัง,ท่าพระจันทร์-รถไฟ,ท่าช้าง-วังหลัง

 

 

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

เข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อได้ที่ 02-419-2617

แบบฟอร์มเข้าชมเป็นหมู่คณะ

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการ เช่น อักษรเบรลล์ สื่อเสียงบรรยาย ล่ามภาษามือพกพา

พร้อมฐานการเรียนรู้สำหรับผู้พิการโดยเฉพาะ

สิ่งอำนวยความสะดวก

ไม่มี

24

แบ่งปัน

กิจกรรม

27 พ.ย. 2564

04 ธ.ค. 2564

29 พฤศจิกายน 2564
พิพิธภัณฑ์ศิริราช ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์ “วันแพทย์ไทย”  ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. - 4 ธ.ค. 2564 ที่ https://sites.google.com/view/thaimedicineday2021   พบกับเรื่องราว น่าสนใจ อาทิ ที่มา ความสำคัญของ "วันแพทย์ไทย" พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการแพทย์ คติพจน์จากปูชนียาจารย์แพทย์ รับฟังความในใจของคุณหมอในหัวข้อ "หมอพร้อมหรือหมอแพ้" โดย  รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ (วิทยากร) อ. นพ.วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ (ผู้ดำเนินรายการ)
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง