กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี

02 กรกฎาคม 2562

ชื่นชอบ 678

12,367 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 โดยกรมศิลปากรได้ขออนุมัติใช้อาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2465 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตามโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองของกรมศิลปากร

          ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 กรมศิลปากรได้ขอใช้อาคารกองบัญชาการรัฐบาลมณฑลราชบุรี ซึ่งสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2416 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อใช้เป็นจวนที่พักของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 และต่อมาได้ใช้เป็นกองบัญชาการรัฐบาลมณฑลราชบุรีในคราวแรกของการตั้งมณฑลราชบุรี เพื่อปรับปรุงให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี โดยปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำนักงาน คลังโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ และพื้นที่ส่วนจัดแสดงนิทรรศการพิเศษและจัดกิจกรรมต่างๆ

การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 5 เรื่อง  ได้แก่

          1. สภาพภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยาของจังหวัดราชบุรี จัดแสดงแหล่งกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติประเภท ดิน หิน แร่ธาตุและรูปจำลอง ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ( กาญจนบุรีและเพชรบุรี ) โดยมีตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ ดิน หินแร่ อัญมณี และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดราชบุรีจัดแสดงประกอบ

          2. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีของราชบุรี จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบในจังหวัดราชบุรี เรียงลำดับตามยุคสมัยดังต่อไปนี้

2.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงหลักฐานที่สำคัญของโบราณคดีของมนุษย์ในยุคที่มีการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบริเวณจังหวัดราชบุรี เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ รวมทั้งเครื่องประดับที่ทำจากหิน โลหะ กระดูกสัตว์ต่างๆ รวมทั้งภาชนะดินเผา กลองมโหระทึก และโครงกระดูกมนุษย์ เป็นต้น

2.2 ราชบุรีในวัฒนธรรมทวารวดี จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานต่างๆ ของวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดราชบุรีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 โดยเฉพาะเรื่องราวของเมืองโบราณคูบัว และเทือกเขางู

2.3 ราชบุรีในวัฒนธรรมเขมร จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานของวัฒนธรรมเขมร หรือ “ลพบุรี” ที่ปรากฏในจังหวัดราชบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 โดยมีโบราณวัตถุที่สำคัญภายในห้องจัดแสดงนี้ ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี พบที่บริเวณโบราณสถานจอมปราสาท เมืองโบราณโกสินารายณ์ เป็น 1 ในจำนวน 5 องค์ ที่พบในดินแดนประเทศไทย

2.4 ราชบุรีในสมัยสุโขทัย - ธนบุรี จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดราชบุรีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-24 จากหลักฐานชื่อเมืองราชบุรีที่ปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ราชบุรีเป็นเมืองท่า เมืองหน้าด่านและเส้นทางการเดินทัพในสมัยอยุธยา โดยจัดแสดงหลักฐานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เครื่องถ้วยจีนและเครื่องปั้นดินเผา

2.5 ราชบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดราชบุรีในช่วง พ.ศ. 2325 - 2475 แสดงถึงความสำคัญของเมืองราชบุรี ในด้านการเมืองการปกครองการพัฒนาท้องถิ่น ต่อเนื่องจากสมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7)

          3. เผ่าชนชาติพันธุ์วิทยาของจังหวัดราชบุรี จัดแสดงเรื่องราวของกลุ่มชนชาติพันธุ์ของจังหวัดราชบุรี ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์เป็นลักษณะเด่นของจังหวัด กลุ่มชนเหล่านี้มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณีที่แต่ละชาติพันธุ์ยังคงยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิม ชาติพันธุ์เหล่านี้ ได้แก่ ชาวไทยพื้นถิ่นภาคกลาง ชาวไทยจีน ชาวไทยยวน ชาวไทยมอญ ชาวไทยกะเหรี่ยง ชาวไทยลาวโซ่ง ชาวไทยลาวเวียง และชาวไทยเขมรลาวเดิม

             4. มรดกดีเด่น แบ่งการจัดแสดงออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

4.1 มรดกดีเด่นทางวัฒนธรรม เช่น สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว ปูชนียวัตถุที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ประเพณีวัฒนธรรม เทศกาลงานประเพณีอาหารพื้นบ้านและหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นต้น

4.2 มรดกดีเด่นทางธรรมชาติ ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางธรรมชาติ เช่น อุทยานหินเขางู โป่งยุบ แก่งส้มแมว เป็นต้น รวมทั้งต้นไม้และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดราชบุรี

4.3 บุคคลสำคัญ ได้แก่ บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์ให้แก่จังหวัดในด้านต่าง ๆ เช่น ปูชนียบุคคลที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญทางด้านทหาร การเมืองและการปกครอง รวมทั้งบุคคลสำคัญทางด้านวัฒนธรรมและศิลปินเพลงพื้นบ้านต่าง ๆ

          5. ราชบุรีในปัจจุบัน  จัดแสดงในสภาพทั่วไปของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา การสาธารณูปการ การอุตสาหกรรม การเกษตร ประชากรและที่สำคัญคือ พระราชกรณียกิจแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่มีต่อจังหวัดราชบุรี อาทิเช่น สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี โครงการศึกษาวิธีฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม เป็นต้น

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

"พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี” พบที่โบราณสถานจอมปราสาท เมืองโบราณโกสินารายณ์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็น 1 ใน 5 องค์ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ศิลปะบายน ประทับยืน หนึ่งเศียร แปดกร แต่พระเศียรและพระกรชำรุดหักหายไป รอบพระอุระมีรูปสลักพระพุทธเจ้าปางสมาธิ ตรงกลางพระอุระเป็นรูปสลักนางปรัชญาปารมิตา เทพีแห่งปัญญา พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นที่นิยมสร้างและเคารพนับถือมากในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ถนนวรเดช ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000
โทรศัพท์ : 032-321 513
โทรสาร : 032-327 235
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/ratchaburimuseum

วันและเวลาทำการ

เปิดบริการวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.

ค่าเข้าชม

  • ชาวไทย 20 บาท
  • ชาวต่างประเทศ 100 บาท
  • นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ แขกทางราชการ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

การเดินทาง

โดยรถยนต์

- เส้นทางสายเก่า สายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านบางแค-อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี-นครปฐม-ราชบุรี

- เส้นทางสายใหม่ เส้นทางหลวงหมายเลข 338 จากกรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี เข้าถนนเพชรเกษมบริเวณอำเภอนครชัยศรีก่อนถึงตัวเมืองนครปฐมประมาณ 16 กิโลเมตร จากนั้นใช้ถนนเพชรเกษมตรงไปตัวเมืองราชบุรี

รถโดยสารประจำทาง

- รถบัสปรับอากาศชั้น 2 สาย 76 จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ - ราชบุรี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 ชม.

 

- รถตู้โดยสารปรับอากาศ จากสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ และสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ 

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ตั้งอยู่บนถนนวรเดช ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี ริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก ใกล้กับหอนาฬิกา(สนามหญ้า) 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ได้แก่ ห้องน้ำ ที่จอดรถ และทางลาด

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพิ้นที่สำหรับจอดรถ

9

แบ่งปัน

กิจกรรม

19 ม.ค. 2566

17 มกราคม 2566
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์  "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เรียนรู้งานโบราณคดี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของกลุ่มชน"     วิทยากรโดย นางสาวสุกัญญา เรือนแก้ว : ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์    วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้ สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร 

05 ส.ค. 2565

06 ส.ค. 2565

26 กรกฎาคม 2565
เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ขอเชิญท่านผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการเสวนา  เรื่อง ๑ ศตวรรษ ศาลารัฐบาลมณฑลราชบุรี วันเสาร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป   วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น พ.ศ. 2562)  นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการพิเศษ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ผู้ดำเนินรายการ นางสาวปัทมา ก่อทอง : หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี   เวลา ๑๓.๐๐ น. กิจกรรมเดินทัศนาสถาปัตย์เมืองราชบุรี  ณ ศาลแขวงราชบุรี และวัดศรีสุริยวงศ์   ติดต่อสอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่ facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี e-mail : museum_ratchaburi@hotmail.co.th

23 มี.ค. 2565

31 มี.ค. 2565

23 มีนาคม 2565
ขอเชิญทุกท่านร่วมเดินทางพื้นคืนชีวิตพิพิธภัณฑ์ การเดินทางครั้งนี้ทุกท่านจะพบกับเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์คนใหม่ นำโดยคุณพิพิธ คุณธนพันธ์ และคุณภัทรา ผู้ที่จะพาทุกท่านรับรู้ข้อมูลผ่านกิจกรรมสนุกๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 พิพิธแว่ว พิพิธจ้อง พิพิธจับ พิพิธดม และพิพิธชิม   กับนิทรรศการพิเศษ “รับรู้พิพิธราชบุรี” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ระหว่างวันที่ 18-31 มีนาคม 2565 สอบถามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : รับรู้พิพิธ ราชบุรี

14 ก.ค. 2564

18 ก.ค. 2564

14 กรกฎาคม 2564
นิทรรศการผ้าศิลปาชีพสัญจร จังหวัดราชบุรี ชาวราชบุรีเตรียมพบกับนิทรรศการผ้าศิลปาชีพสัญจร (Craft Journey) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี  วันที่ ๑๔ - ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.   เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19)  ขอความร่วมมือผู้เข้าชมทุกท่านปฏิบัติตามมาตรการการป้องกัน การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างเคร่งครัด ๑. สวมหน้ากากอนามัยตลอดการเข้าชม ๒. ตรวจวัดอุณหภูมิบริเวณจุดคัดกรองก่อนเข้าชม ๓. ลงทะเบียนไทยชนะ ๔. ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการเข้าชม ๕. เว้นระยะห่างจากผู้อื่นในการเข้าชมอย่างน้อย ๒ เมตร   ติดตามการสัญจรของนิทรรศการได้ที่ Facebook : Craft Journey

11 ส.ค. 2561

13 ส.ค. 2561

10 สิงหาคม 2561
  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัด “โครงการคนมันส์อาร์ตราชบุรี ปี 2561” นำเสนอกิจกรรมในรูปแบบศิลปะที่สร้างสรรค์ ผลงานของศิลปินท้องถิ่น และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปะที่หลากหลาย ในจังหวัดราชบุรี พร้อมตอบสนองวิถีชีวิต รากเหง้า ของชาวราชบุรี เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสและเรียนรู้ ได้ง่าย และเป็นกิจกรรมที่สร้างความสุขและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย   กิจกรรมภายในงาน 1. ศิลป์เจ้าถิ่น กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น โดยครอบคลุมงานศิลป์ทุกแขนงและเชิดชูศิลปินในพื้นที่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเดินทางไปยังพื้นที่ 2. ศิลป์ต่างถิ่น ศิลปะทุกแขนงจากพื้นที่อื่นๆ ที่เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างพื้นที่ให้กิจกรรมมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น 3. สร้างนวัตกรรมผ่านงานศิลปะ (innovative art) ในรูปแบบของมุมมองใหม่  4. การแสดงดนตรีจากศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียง และการแสดงศิลปะร่วมสมัย เวลา 16.00-21.00 น. สถานที่จัดงาน 1. บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี  ศิลปะประติมากรรม เป็นการนำเสนอความเป็นรากเหง้าของโอ่งมังกร และผลงานการปั้นสมัยใหม่ ศิลปะ DIY การเรียนรู้และสร้างสรรค์ชิ้นงานปั้นด้วยตนเอง   2. บริเวณริมแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่เด็กดิน ไปสิ้นสุดที่กรมป่าไม้ (ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์ฯ)  ศิลปะการแสดง  เป็นการนำเสนอการแสดงศิลปะการแสดงท้องถิ่น อาทิ หนังใหญ่วัดขนอน การแสดงร่วมสมัยแสงและเงา และการแสดงดนตรีจากศิลปินเป็นศิลปะเรื่องดนตรีที่มีชื่อเสียง ศิลปะ Art 5 ภาค  - จุด Landmark ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงความเป็นเมืองราชบุรี  - โซนศิลปะที่แสดงถึงสัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์โดยผ่านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นทั่วประเทศ - สาธิต และจำหน่ายสินค้าชุมชนแนวศิลปะ ของกลุ่ม Start up- ชั้นล่าง ศิลปะ Art Wall การวาดภาพบนผนัง และการจัดวางงานศิลปะโดยใช้สินค้าท้องถิ่น ในรูปแบบสไตล์ Art wall2.4 ศิลปะการจัดอาหารและเครื่องดื่ม  การจำหน่ายอาหาร-เครื่องดื่ม และจัดตกแต่งภาชนะ โดยใช้วัตถุดิบพื้นถิ่น เช่น หัวไชโป๊ว เต้าหู้ดำ พร้อมทั้งอาหารจากภูมิภาคต่างๆ   ตารางกิจกรรมงานคนมันส์อาร์ต...ราชบุรี บริเวณลานกิจกรรมริมแม่น้ำแม่กลอง (ริมเขื่อนประชารัฐพัฒนา) วันที่ 11 สิงหาคม 2561 เวลา  16.00 น.     - เปิดเวที ประชาสัมพันธ์งาน เวลา  16.30 น.    - การแสดงท้องถิ่นเวลา   17.00 น.    - สัมภาษณ์พูดคุยกับศิลปินเจ้าถิ่น และศิลปินต่างถิ่น เวลา  18.00 น.    - พิธีเปิดงานคนมันส์อาร์ต เวลา  18.30 น.     - ชม Mini Concert วง Hers เวลา  19.30 น.    - การแสดงหนังใหญ่ จากวัดขนอน เวลา  20.00 น.    - Mini Concert ริท เรืองฤทธิ์    วันที่ 12 สิงหาคม 2561  เวลา  16.00 น.    - เปิดเวที ประชาสัมพันธ์การจัดงานเวลา   16.30 น.    - การแสดงท้องถิ่น เวลา  17.30 น.    - กิจกรรมภาคสนาม และ การ Workshop งานศิลปะ เวลา  18.30 น.     - ชม Mini Concert ศิลปิน อิงค์ วรันธร เวลา  19.30 น.    - การแสดงหนังใหญ่ จากวัดดอน จ.ระยอง เวลา  20.00 น.    - Mini Concert ไอซ์ ศรัณยู             วันที่ 13 สิงหาคม 2561  เวลา  16.00 น.    - เปิดเวที ประชาสัมพันธ์การจัดงาน เวลา  16.30 น.    - การแสดงท้องถิ่น เวลา  17.30 น.    - กิจกรรมภาคสนาม และ การ Workshop งานศิลปะ เวลา  18.30 น.     - การแสดงวาดภาพสะบัดดาว เวลา  19.00 น.    - การแสดง Light & Shadow เวลา  20.00 น.    - Mini Concert อะตอม ชนกันต์   หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ททท. สำนักงานกาญจนบุรี โทร 0 3451 1200, 0 3451 2500 อีเมล์ tatkan@tat.or.th
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง