กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   ศูนย์วัฒนธรรม ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ศูนย์วัฒนธรรม ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

01 กุมภาพันธ์ 2562

ชื่นชอบ 503

5,543 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจสำคัญ คือ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการจัดทำพิพิธภัณฑ์ความสัมพันธ์ไทย-จีน ขึ้นภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติ เพื่อแสดงถึงความเข้าใจอันดีของ 2 วัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้พระบรมโพธิสมภารและได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2537 พระองค์เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการความสัมพันธ์ไทย-จีนภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ จึงถือเอาวันที่ 24 มีนาคม เป็นวันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

 

ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงนิทรรศการ 2 แบบ คือ

 

ส่วนที่ 1 นิทรรศการภาพถ่าย ประกอบด้วย

 

  • นิทรรศการเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี “1 ศตวรรษความดี 100 ปีมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” บนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทยในฐานะองค์กรสาธารณกุศลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย อันเป็นรากฐานการก่อกำเนิดของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

 

  • นิทรรศการความสัมพันธ์ไทย-จีนในวาระครบรอบ 30 ปี จัดแสดงเรื่องความสัมพันธ์ด้านการทูต การค้าระหว่างไทย-จีน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒธรรม ตลอดจนแถลงการณ์ความร่วมมือไทย-จีนในศตวรรษที่ 21

 

  • นิทรรศการเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดแสดงเรื่องเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ พ.ศ. 2524–2549

 

  • นิทรรศการเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับคนจีนในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย-สมัยรัตนโกสินทร์ และเอกลักษณ์ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของชาวจีนสยาม

 

  • นิทรรศการภาพถ่ายกิจกรรมวันสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 ซึ่งเป็นความ ปิติสูงสุดและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นของชาวมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่ได้เฝ้าชื่นชมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

  • นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งเป็นภาพประทับใจ เสมือนดวงประทีปแห่งความหวัง และความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทย

 

ส่วนที่ 2 นิทรรศการหอเกียรติภูมิ (Hall of Fame)

 

  • นิทรรศการหอประวัติ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ซึ่งตลอดชีวิตของท่านได้สร้างคุณงามความดีมากมาย โดยเฉพาะงานสาธารณกุศลต่างๆ และท่านยังเป็นผู้สนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ โดยหวังว่าจะทำให้คนมีความรู้และเป็นคนดีสามารถช่วยเหลือตัวเองและบ้านเมืองได้ ตามคติที่ว่าจะปลูกต้นไม้ต้องใช้เวลาสิบปี จะปลูกคนต้องใช้เวลาหนึ่งร้อยปี ดังนั้นการสอนคนให้เป็นคนดีได้ต้องใช้เวลาและความอดทน

 

  • นิทรรศการรูปปั้นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อันเป็นเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและผู้มีจิตศรัทธาที่ปรารถนาที่จะเห็นความเจริญทางการศึกษาของชาติ โดยร่วมกันบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างและทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย

 

นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว ศูนย์วัฒนธรรม ยังมี “ศิลปะการแสดงหุ่นคน” ซึ่งมีต้นกำเนิดจากหุ่นหลวง หุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก การแสดงหุ่นของภาคต่างๆ เช่น หนังตะลุง โขน ละคร และระบำรำฟ้อนมาผสมผสานกัน ประกอบกับลีลาท่าทางของผู้แสดงให้ออกมาเป็นเรื่องราว โดยนำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในวรรณกรรมและวรรณคดี ตลอดจนวิถีชีวิตของสังคมไทยมาดัดแปลงแต่งเติมให้เป็นบทแสดง แล้วประยุกต์ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างคนกับหุ่น หรือคนเลียนแบบหุ่น โดยได้นำวิธีการเชิดหุ่น รูปแบบการแสดง การดำเนินเรื่อง ตลอดจนการแต่งกายของหุ่น เพื่อให้เข้ากับปัจจุบัน เป็นการแสดงร่วมสมัยได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะที่กำลังจะถูกลืม รวมทั้งได้นำการแสดงมาปรับปรุงใหม่ โดยใช้คนแทนหุ่นหลวง และยังคงรักษารูปแบบเดิมของการแสดงหุ่นแต่ละประเภทไว้ เพียงแต่เปลี่ยนจากหุ่นมาเป็นคนเท่านั้น

 

เมื่อปี พ.ศ. 2543 “หุ่นคน” ได้รับความนิยมเป็นอย่างดีจากกระแสสังคมที่เริ่มยอมรับศิลปะการแสดงหุ่นคน ด้วยเป็นเพราะว่าความแปลกนั่นเอง ปัจจุบันศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ ได้นำศิลปะการแสดงหุ่นคน ไปเผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะที่กำลังจะถูกลืม

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

นิทรรศการเรื่องราวความสัมพันธ์ไทย-จีนและ หอประวัติ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 18/18 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 02-312 6300 ต่อ 1339, 1346, 1509, 1534
โทรสาร : 02-312 6387
เว็บไซต์ : http://cul.hcu.ac.th/index.php
อีเมล : cultural_hcu@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.

ค่าเข้าชม

เข้าชมฟรี

การเดินทาง

  • รถโดยสารประจำทางสาย  132, 133, 365, ปอ.537
  • รถตู้เอกชน

- สายปากน้ำ-สำโรง-บางปะกง

- สายบางนา-บางบ่อ

- สายบางนา-เคหะบางพลี

  • รถ บขส. สายภาคตะวันออก *ลงรถหน้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียว สามารถปั่นจักรยาน หรือนั่งรถรางไปยังอาคารศูนย์วัฒนธรรมและอาคารต่างๆของมหาวิทยาลัยได้*

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

 

1

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง