กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช วัดไตรมิตรวิทยาราม

ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช วัดไตรมิตรวิทยาราม

29 มีนาคม 2567

ชื่นชอบ 591

17,917 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

เนื่องในวโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ.2549 และทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี พ.ศ.2550 ประชาคมนักธุรกิจเขตสัมพันธวงศ์ ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน ร่วมกับวัดไตรมิตรวิทยาราม ได้จัดให้มีโครงการ "จัดสร้างพระมหามณฑปประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร(หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตรวิทยาราม” ขึ้น ด้วยความมุ่งหวังว่าพระมหามณฑปจะมีความวิจิตรงดงามควรค่าแก่องค์หลวงพ่อทองคำ อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ด้วย

 

โดยอาคารมีโครงสร้างหลัก 4 ชั้น และแบ่งพื้นที่ใช้สอยดังนี้

 

ชั้นล่างสุด เป็นพื้นที่จอดรถ

 

ชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช "ความรุ่งเรืองบนถนนสายทองคำ" จัดแสดงนิทรรศการในหัวข้อ

1. เติบใหญ่ใต้ร่มพระบารมี

2. กำเนิดชุมชนจีนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325 - 2394)

3. เส้นทางสู่ยุคทอง (พ.ศ.2394 - 2500)

4. ตำนานชีวิต

5. พระบารมีปกเกล้า

6. เยาวราชวันนี้

 

ชั้นที่ 3 นิทรรศการหลวงพ่อทองคำ "จากพุทธศิลป์สุโขทัย สู่พุทธสมัยปัจจุบัน" จัดแสดงในหัวข้อ

1. บทนำ ศิลาจารึกบอกเล่าเรื่องราวโดยสรุปเกี่ยวกับองค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร และการอัญเชิญมาประดิษฐานในพระมหามณฑป

2. กำเนิดพระพุทธรูปและพัฒนาการสู่พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

3. การสร้างพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

4. พุทธศิลป์สุโขทัยในองค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

5. การพอกปูนทับ และลงรักปิดทอง

6. อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระยาไกร

7. พ.ศ.2498 อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

8. พ.ศ.2498 พระพุทธรูปทองคำปรากฏ

9. เนื้อทองคำ

10. พ.ศ.2551 อัญเชิญมาประดิษฐานในพระมหามณฑป

 

ชั้นที่ 4 พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร "พระพุทธรูปทองคำ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก" จัดแสดงในหัวข้อ

1. ปูชนียวัตถุที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก

2. 52 ปี ความทรงจำแห่งวิหารหลังเดิม

3. พระมหามณฑปหลังใหม่ ยิ่งใหญ่สมพระบารมี

 

 

บริหารจัดการ

มูลนิธิ/มูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  • พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ)
    เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย สร้างด้วยทองคำเนื้อเจ็ดน้ำสองขา เคยมีปูนพอกทับและลงรักปิดทอง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ปูนกระเทาะ ทำให้องค์พระพุทธรูปทองคำที่ซ่อนอยู่ภายในปรากฎออกมา ได้รับการบันทึกในหนังสือกินเนสส์บุ๊คว่าเป็น "ปูชนียวัตถุที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก"

 

  • หลวงพ่อทองคำในพระวิหารหลังเดิม
    พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร สมัยสุโขทัยที่มีพุทธศิลปะที่งดงามมาก ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2598 

 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เลขที่ 661 ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
โทรศัพท์ : 094 466 9515 / 089-002 2700 / 084-007 6998 สำนักงาน 02-623-1229

วันและเวลาทำการ

วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.30 น.

ค่าเข้าชม

  • คนไทยเข้าชมฟรี​
  • ต่างชาติ 100 บาท

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทางสาย 1, 4, 7, 25, 40, 53, 73, 177, 529

รถไฟฟ้า MRT : สถานีหัวลำโพง

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

11

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง