คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ชาติพันธุ์เมืองตราด

กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดตราด

         ชองเป็นชนพื้นเมืองของจังหวัดตราด มีภูมิลำเนาอยู่ตามชายแดนและเชิงเขาชอบทำมาหากินอยู่ตามป่าเขา เช่น ทำไร ทำนาตามเชิงเขา ระหว่างเขา นับถือศาสนาพุทธและผี พบว่าชาวชองตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อเภอเขาสมิง โดยเฉพาะตำบลเขาวฃสมิง กับตำบลท่าโสม อำเภอเมือง อำเภอบ่อไร่ เป็นต้น ชองที่อยู่ใกล้กับชนชาติไทยได้คิดดัดแปลงธรรมเนียมและภาษาเป็นไทยไปแล้ว1

         สำเรเป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีเชื้อสายใกล้ชิดกับกลุ่มชอง มีรูปร่างคล้ายพวกชอง คือ รูปร่างเล็ก ผิวคล้ำ ผมหยิก สันนิษฐานจากภาษาที่ใช้พูด คือภาษาสำเร เป็นภาษาตระกูลมอญ – เขมร สายเบียร์อิค กลุ่มชาติพันธุ์นี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดตราดมาตั้งแต่ดั้งเดิมหรือไม่ หรืออพยพมาจากประเทศกัมพูชา เพราะปรากฏว่าที่บริเวณเขาพนมกระวาน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชาก็พบว่ามีผู้พูดภาษาสำเรด้วย ที่จังหวัดตราดพบกลุ่มสำเรที่ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด2

         กะซองเป็นกลุ่มกะซองนี้เป็นชนกลุ่มน้อยของจังหวัดตราดที่มีการค้นพบล่าสุดปรากฎในแผนที่ภาษาของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย จากหลักฐานทางด้านภาษาที่อยู่ในตระกูล มอญ – เขมร สาขาเบียร์อิค เช่นเดียวกับกลุ่มชอง และซองนี้ส่วนมากประกอบอาชีพหาของป่า ทำไร่ และทำสวนยาง พบในเขตอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ปัจจุบันมีชาวกระซองประมาณ 50 คน มีคนพูดภาษากระซองได้ไม่เกิน 10 คน3

         กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสามกลุ่มนี้มีลักษณะทางกายภาพและภาษาที่ใกล้เคียงกันอย่างมาก ทำให้คนในจังหวัดตราดเรียกกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้รวมๆ กันว่า ชอง

กลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดตราด

........................................

1 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2553). โครงการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ “ ตามรอยเสด็จฯ เกาะช้าง จังหวัดตราด”. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก,59.

2 เรื่องเดียวกัน,59.

3 เรื่องเดียวกัน,60.

6,685 views

0

แบ่งปัน