คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

อานัมสยามยุทธ

อานัมสยามยุทธ สงครามใหญ่ สยาม – เขมร – ญวน หลักฐานการเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ

         ในปี พ.ศ. 2376 สมัยรัชกาลที่ 3 เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในเขมรและญวน จึงทรงพระโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา เป็นแม่ทัพใหญ่ในการออกปราบปราม ส่วนทัพเรือนั้นโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพยกไปรบญวน ครั้งนั้นได้เกณฑ์ไพร่พลเมืองตราดไปร่วมทำสงครามด้วย ดังใจความในพงศาวดารว่า


...โปรดให้เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ)ซึ่งว่าที่สมุหพระกลาโหมนั้นถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพเรือ คุมไพรพลหมื่นห้าพันบรรทุกเรือรบมีชื่อในกรุงออกไปเกณฑ์เลกไทยเมืองตราดเมืองจันทบุรี และเลกหัวเมืองเขมรที่เมืองกำปอดแลเมืองเขมรป่ายางรวมกันอีกหาพันรวมเป็นสองหมื่น ในทัพเรือนั้นยกไปตีเมืองบันทายมาศฝ่ายญวนให้แตกจงได้...1
 

       ฝ่ายเมืองเขมรที่ตั้งต้นเป็นกบฏ ได้พาพวกโจรเข้ามาลอบยิงไพร่พลเรือลำเลียงเสบียงอาหารล้มตายเป็นอันมาก พระยาพระคลังจึงให้พระปลัดเมืองตราดคุมไพร่พลไปติดตามเรือลำเลียงเสบียงอาหารตีเอาคืนมาให้ได้ และให้หมื่นสิทธิสงคราม นายด่านเมืองตราดคุมไพร่พลอีกหนึ่งกองตามไปอีกกองหนึ่งไปทางตะวันตก พระปลัดเมืองตราดยกทัพไปถึงลำน้ำแห่งหนึ่งเป็นเวลาพลบค่ำจึงแวะพักผ่อน พวกโจรเขมรเข้ามาลอบโจมตี รุ่งขึ้นพระปลัดเมืองตราดนำไพร่พลที่เหลือเดินทางต่อไปก็ถูกพวกเขมรลอบโจมตีอีก ทำให้ไพร่พลล้มตายลงเป็นอันมาก กองทัพของหมื่นสิทธิสงครามมาพบเข้าจึงช่วยไว้ หมื่นสิทธิสงครามยังแสดงความกล้าหาญในงานพระราชสงครามอีกหลายครั้ง มีความดีความชอบ พระยาพระคลังจึงรายงานให้พระยาบดินทรเดชาทราบ พระยาบดินทรเดชาจึงมีคำสั่งให้พระยาพระคลังแต่งตั้ง หมื่นสิทธิสงคราม เป็นพระปลัดเมืองตราดมี สันนิษฐานว่าหมื่นคงสิทธิสงครามเป็นคนเดียวกันกับหมื่นคง ชาวตำบลท่ากุ่ม ต้นตระกูล กุมภะ โดยมีหลักฐาน คือ ดาบหมื่นคง เก็บรักษาไว้ที่วัดเนินสูง จะเห็นได้ว่าชาวบ้านจังหวัดตราด มีส่วนสำคัญในการร่วมรบมาหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินก็ได้รับความช่วยเหลือจากชาวเมืองตราด มาถึงสยามรัตนโกสินทร์อานามสยามยุทธ ก็ยังปรากฏชื่อ หมื่นสิทธิสงคราม ที่เป็นชาวเมืองตราดและมีความจงรักภัคดีต่อประเทศยิ่งนัก

........................................

1 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2553). โครงการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ “ตามรอยเสด็จฯ เกาะช้าง จังหวัดตราด”. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก,.38.

6,547 views

0

แบ่งปัน