คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วิหารอิฐรูปดอกจันทน์

วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ

     วัดโพธิ์เก้าต้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ถ้ามาที่จังหวัดสิงห์บุรีคงไม่มีใครไม่รู้จักวัดโพธิ์เก้าต้นเพราะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์สถานที่หนึ่ง โดยภายในวัด จะมีวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทุกคนที่เข้ามาสักการะบูชาในวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ จะสังเกตุเห็นว่าวิหารนี้ทำจากอิฐ และสิ่งที่น่าสนใจคือ อิฐทุกก้อนจะมีตราประทับบนอิฐ 3 อัน ที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน  ผมจึงได้สอบถามผู้รู้และศึกษาจากหนังสือ พบว่าแผ่นอิฐที่ใช้สร้างวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ ด้านหนึ่งทำเป็นรูปดอกจันทน์ อิฐที่ทำโบสถ์เป็นอิฐพิเศษผิดกับอิฐอื่นๆ ที่เคยเห็นมาคือมักมีรอยดอกจันทน์พิมพ์ประทับอยู่ บนแผ่นอิฐนั้น ๓ ดอกก็มี ๔ ดอกก็มี เฉพาะดอกจันทน์ อิฐเหล่านี้มีขนาดหนาและเนื้อละเอียด รูปดอกจันทน์หรือรูปสี่เหลี่ยมบนแผ่นอิฐนี้ นักโบราณคดีบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นคง ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง โดยสันนิษฐานจากลักษณะของรูปที่ปรากฏดังนี้ สิ่งที่กำหนดเรียกว่า ดอกจันทน์นั้น ทำเป็นรูปวงกลมมีจุดศูนย์กลางเป็นรอยลึกจากศูนย์กลางเป็นกลีบดอกซึ่งทำคล้ายรอยแป้งหยด ประดุจรัศมีที่แตกออกจากศูนย์กลาง มีทั้งหมด ๕ จุด ด้วยลักษณะดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดว่า มีแม่พิมพ์กดประทับลงไปในเนื้ออิฐเมื่อยังดิบ วงดอกจันทน์ดังกล่าวน่าจะ หมายถึง “ขุนนิธิ” อันเป็นสัญลักษณ์แห่งมงคลชนิดหนึ่ง โดยทั่วๆ ไป  แต่เมื่อทำดอกจันทน์เรียงกัน ๓ ดอกบนแผ่นอิฐเดียวกัน อาจจะเป็นเครื่องหมาย พระรัตนตรัย หรือ ไตรสรณคมน์ กล่าวคือ แก้ว ๓ ประการ ในคติพระพุทธศาสนา ซึ่งหน้าจะตรงกับความมุ่งหมาย ที่ว่ารัตนตรัยเป็นเนื้อนาบุญโลก และการที่ได้พบพระรัตนตรัยก็เท่ากับเป็นบุญลาภอันประเสริฐ ฉะนั้นเครื่องหมายดอกจันทน์จึงอาจจะมีความหมายดังกล่าวมาแล้ว ส่วนรายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซึ่งตรงกลางแบ่งตัวลายเป็นรูป ประจำยาม และล้อมด้วยเส้นสี่เหลี่ยมอยู่ภายนอก ลักษณะการทำ ลายเส้นอย่างนี้ต้องทำในขณะที่อิฐยังชื้นอยู่ โดยใช้ของแข็งมีคมขีดลงบนเนื้ออิฐนั้น ความหมายของประจำยามโดยมากมักถือกันว่าเป็นลักษณะของแผ่นยันต์ที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์ตามคัมภีร์ไสยศาสตร์โดยทั่วไป

รูปอิฐที่มีดอกจันทน์ 3 ดอก

     ดังนั้น วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านระจัน และมีความเชื่อว่าอิฐที่ใช้ในการสร้าง จะทำคนในหมู่บ้าน มีความมั่นคงและปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง และสร้างความมั่นใจ ให้นักรบผู้กล้าแห่งค่ายบางระจัน ได้รับชัยชนะในยามออกศึก ณ ดินแดนแห่งนี้ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ

เรียบเรียงโดย

นายรณกฤต ยอดเงิน

1,127 views

0

แบ่งปัน