คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

บ้านท่าช้าง

ถิ่นช้างศึกครั้งกรุงศรี

     ช้าง ถือเป็นสัตว์ใหญ่ มีตบะบารมีในตัวเองสูง รูปร่างใหญ่โตแข็งแรง เฉลียวฉลาด นับเป็นเจ้าผู้ครองความยิ่งใหญ่ในป่าอีกพวกหนึ่ง ยากนักที่มนุษย์จะเข้าไปควบคุมหรือใช้งานได้ตามประสงค์ เจ้าของช้างหรือควาญช้างตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนี้จึงเปรียบเสมือนเอาชีวิตไปแขวนอยู่บนเส้นด้าย ทุกครั้งที่ทำการเข้าช้าง ควาญช้างจะต้องระลึกถึงพระครูปะกำ ทั้งเทวดาประจำตัวช้างและตัวควาญเอง ต้องถือศีลและยึดธรรมเนียมปฏิบัติหลายอย่างและที่สำคัญคือสติสัมปชัญญะต้องสมบูรณ์เต็มร้อย ประมาทไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว เพราะอาจหมายถึงชีวิตที่จะต้องสูญเสียไปแต่ทำไม ช้างถึงได้ชื่อว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาโดยตลอด  ดังที่กล่าวมาว่าช้างเป็นสัตว์ที่ตบะบารมีสูง ส่วนประกอบทุกอย่างที่มาจากช้างล้วนเป็นของขลัง ให้คุณแก่ผู้ครอบครอง ไม่ว่าจะเป็น  หางช้าง งากำจัดหรืองากระเด็น ( งาที่หักออกตามธรรมชาติ อาจเกิดจากการต่อสู้ หรือช้างพลายที่ชอบแทงดิน แทงต้นไม้เล่นเวลาตกมัน) พื้นรองตีน ฟัน กระดูก หรือแม้กระทั่งน้ำมันจากการตกมัน เหล่านี้เป็นเครื่องรางที่ให้คุณใน ด้านคงกระพัน เสริมบารมี แก้อาถรรพ์ และเมตตามหานิยม แต่เท่านี้คงไม่เพียงพอที่จะให้ช้างมีความสำคัญกับชาติบ้านเมืองดังที่เคยปรากฏมาในประวัติศาสตร์ของไทย

     ด้วยตบะฌานบารมีประจำตัวที่กล่าวมาแล้ว รูปร่างอันใหญ่โตแข็งแรงและมันสมองอันเฉลียวฉลาด ทำให้ช้างเป็นสัตว์ที่ได้รับเลือกให้เป็นพาหนะอันสมพระเกียรติของพระเจ้าแผ่นดินในการทำสงคราม  โดยช้างที่จะถูกเลือกให้มาเป็นช้างศึกนั้น จะต้องมีลักษณะตรงตามตำราคชลักษณ์ เป็นต้นว่า ต้องเป็นช้างพลาย (ช้างเพศผู้ที่มีงา หากไม่มีงาจะเรียกว่าช้างสีดอ ส่วนช้างเพศเมียเรียกว่าช้างพัง) รูปร่างสูงใหญ่สมส่วน หัวเชิดคอไม่ตก ท้ายต่ำเหมือนก้านกล้วย งาอวบใหญ่สมบูรณ์ แข็งแรงไม่แตกหักง่าย ยาวพอประมาณเพื่อความคล่องแคล่วแต่จะต้องแหลมคมเพื่อความได้เปรียบในการต่อสู้

     ช้างต้น หรือช้างหลวงที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ไม่ได้มีแต่เพียงช้างศึกเท่านั้น แต่ยังมี ช้างสำคัญที่มีลักษณะเป็นช้างมงคลตามตำราคชลักษณ์ แต่ไม่สมบูรณ์หมดทุกส่วน และช้างเผือกที่ลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทุกประการ ได้แก่ ตาสีขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว ขนหางขาว ผิวหนังสีขาวหรือสีหม้อดินเผาใหม่ และมีอัณฑะโกศ (อวัยวะเพศ) สีขาวหรือสีคล้ายหม้อดินเผาใหม่ อีกด้วย

     ชาวบ้านที่บ้านท่าช้าง ตำบลถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ต่างก็มีความภาคภูมิใจ ในข้อที่ว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบแถวตลาดเหนือนั้น สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นที่สำหรับนำช้างหลวงมาอาบน้ำ ใช้น้ำเนื่องจากเป็นท่าใหญ่  อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้ใบหญ้า อยู่ติดกับแม่น้ำน้อย มีหาดทรายกว้างขวาง มีเรื่องเล่าว่า ขุนพิเชษ กับ ขุนขจร ทั้งสองรับหน้าที่เป็นคนเลี้ยงช้างหลวงและมีบ้านอยู่เหนือตลาดเหนือขึ้นไปเล็กน้อย สมัยนั้นมีการเกณฑ์ทหารแบบ เข้าเดือน ออกเดือน คือ เข้าไปเป็นทหารหนึ่งเดือน ออกมาอยู่บ้านหนึ่งเดือนสลับกันไป จนกว่าจะปลดประจำการ บางครั้งก็ได้นำช้างหลวงกลับมาเลี้ยงที่บ้านหลายเชือก จนพื้นที่บริเวณนั่นกลายเป็นโรงช้างหลวง โดยตอนเช้าจะต้อนโขลงช้างมาลงเล่นน้ำอาบน้ำที่ท่า พอเสร็จก็จะพาช้างไปหาอาหารกินแถวทุ่งลาดบึงกระดีแดง บ้านละเมาะยุบ คลองชุมแสง มีคำกล่าวกันว่าดงตาลบ้านกระดีแดงนั้นเป็นตาลขี้ช้าง เพราะตอนเย็นก็ต้อนช้างมาลงเล่นน้ำที่ท่าน้ำนั้น จึงเรียกว่า “บ้านท่าช้าง” ต่อมาได้ใช้เป็นชื่อ อำเภอท่าช้าง และคำขวัญประจำอำเภอตอนหนึ่งก็มีว่า “ถิ่นช้างศึกครั้งกรุงศรี”

     ปัจจุบันตลาดเหนือเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีการค้าขายกันแล้ว ชาวบ้านมีตลาดใหม่เรียกว่าตลาดท่าช้าง (ตลาดใต้) อยู่ห่างจากตลาดเหนือไม่มากระยะทางเดินประมาณ 800 เมตรมุ่งหน้าเลียบริมแม่น้ำมาทางวัดโบสถ์ ท่าน้ำบริเวณหน้าตลาดท่าช้างเป็นเขตอภัยทานห้ามจับสัตว์น้ำทุกกรณี ส่วนพื้นที่ใกล้ๆกับหลังโรงเรียนวัดโบสถ์มีดงกล้วยใหญ่อยู่ คาดว่าจะเป็นพื้นที่ทำสวนกล้วยตั้งแต่สมัยโบราณ  และยังมีวัดขุนโลก วัดเก่าแก่ที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาให้ได้เข้าไปศึกษาร่องรอยของประวัติศาสตร์อีกด้วย

1,091 views

0

แบ่งปัน