คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดสะแล่ง

ตำนานวัดสะแล่ง

วัดสะแล่ง เป็นวัดเก่าแก่สมัยเดียวกับวัดพระธาตุศรีดอนคำ เป็นวัดที่สร้างสมัยทวาราวดี ในสมัยของพระนางจามเทวี มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่ดอยสะแล่งแก้วดอนมูล หรือดอยสะแล่งหลวง เจ้าเมืองและชาวบ้านต่างพากันไปถวายบิณฑบาตแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารแล้ว ชายาเจ้าเมืองได้ถวายดอกสะแล่งดอกไม้ป่าชนิดหนึ่ง มีดอกสีขาวนวลเป็นพุทธบูชา พระพุทธเจ้าทรงรับและอนุโมทนา แล้วทรงมีพุทธฎีกาพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาลสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุของพระองค์ และสถานที่แห่งนี้จะมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป จากการที่ชายาเจ้าเมืองถวายดอกสะแล่งเป็นพุทธบูชา และดอยแห่งนี้มีต้นสะแล่งอยู่ วัดนี้จึงมีชื่อว่า “วัดสะแล่ง” และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระอุระของพระพุทธเจ้า

          วัดสะแล่ง วัดที่มีความเก่าแก่มากตั้งแต่สมัยทวาราวดีเรื่อยมาและได้กลายเป็นวัดร้างหลายยุคหลายสมัย ซึ่งเคยเป็นวัดร้างเกือบ 300 ปี ปัจจุบันภายในวัดได้แบ่งเขตเป็นเขตพุทธาวาสเก่าและเขตพุทธาวาสใหม่ รูปแบบสถาปัตยกรรมภายในวัดทั้งตัวพระอุโบสถและวิหาร มีลักษณะเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ บริเวณวัดมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อยู่เป็นจำนวนมาก และได้จัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง” กรุเชียงชื่น มหาสมบัติโบราณแห่งล้านนา ขึ้นมา เป็นสถานที่เก็บโบราณวัตถุตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย

3,126 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่