คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดสระบ่อแก้ว

วัดศิลปะพม่า

วัดสระบ่อแก้วหรือวัดจองกลาง เป็นวัดที่มีศิลปะแบบพม่า โดยวัดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยชาวพม่าที่เรียกกันว่าชาวไทใหญ่หรือเงี้ยวนั่นเอง ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยที่ชาวไทใหญ่ได้เข้ามาในแพร่เพื่อทำการค้าขาย หรือเข้ามาทำงานในบริษัทที่ทำสัมปทานทำไม้และขุดพลอย ที่ได้ชื่อว่าวัดสระบ่อแก้วเพราะว่าแต่เดิมนั้นนบริเวณวัดเป็นสระน้ำซึ่งมีน้ำตลอดปี มีต้นแก้ว (ต้นพิกุล) ปลูกอยู่โดยรอบจึงเป็นที่มาของชื่อ

“วัดสระบ่อแก้ว” สร้างขึ้นโดยชาวพม่า 3 เผ่า คือเผ่าพม่า เผ่าต่อสู้ และเผ่าไทใหญ่ที่ ต่างก็นับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกับคนไทยในจังหวัดแพร่ แต่มีพิธีกรรมที่แตกต่างจากชาวไทย ชาวพม่าจึงได้ร่วมใจกันสร้างวัดของแต่ละกลุ่มชนขึ้นเพื่อเป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของตนดังนี้

          1. วัดจองเหนือ (วัดจอมสวรรค์) สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2547

          2. วัดจองกลาง (วัดสระบ่อแก้ว) สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2419

          3. วัดจองใต้ (วัดต้นธง) สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน

วัดนี้ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดสามโพธิ์ เนื่องจากพม่าตระกูลโพ สามตระกูลเป็นผู้สร้างและปฏิสังขรณ์ วัดสระบ่อแก้วสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2419 มีพระพม่าจำพรรษาเพียง 1 รูป คือ พระอูมาลา เมื่อพระอูมาลามรณภาพก็ไม่มีพระพม่าจำพรรษา ไม่มีเจ้าอาวาส วัดนี้จีงกลายเป็นวัดร้างหลายปี จนกระทั้ง พ.ศ. 2508-2509 ชาวพม่าตระกูลโพ คือหม่องโพเส่ง ได้บูรณะวัดสระบ่อแก้วให้อยู่มาจนปัจจุบัน

          วิหารวัดเป็นลักษณะศิลปะแบบพม่าเช่นเดียวกับวัดจอมสวรรค์ คือโบสถ์ ศาลา กุฏิคืออาคารหลังเดียวกัน พระพุทธรูปที่ประดิษฐานในวัดนี้เป็นพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมันดะเลย์ ประเทศพม่า เป็นหินอ่อนก้อนเดียวจำลองจากพระมหาอัญมณีฉลุในเครื่องทรง แกะสลักด้วยฝีมือที่ละเอียดและมีความประณีตมาก ปิดทองทั้งองค์ยกเว้นพระพักตร์ เนื่องจากองค์พระพุทธรูปจะปิดทองหนามาร องค์พระจึงนิ่มชาวบ้านเรียกว่าพระเจ้าเนื้อนิ่ม ทุกเช้าเวลาตี 4 จะต้องมีการสรงพระพักตร์พระพุทธรูปด้วยน้ำอบน้ำหอม พระเจดีย์ศิลปะพม่า ที่ดูคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองจำลอง และพระพุทธรูปพระอุปคุต ที่ชาวล้านนานิยมนับถือบูชา ที่นี่จะมีประเพณีตักบาตรพระอุปคุตเที่ยงคืน หรือในคืน “วันเป็งปุ๊ด” (ภาษาเหนือ) หรือวัน “เพ็ญพุธ” (คืนวันอังคารขึ้น 14 ต่อเช้าวันพุธขึ้น 15 ค่ำ) คือทุกวันพุธที่ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำนั่งเอง

5,536 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่