คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระพุทธสิหิงค์

พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นพระพุทธรูปที่มีพระรูป และสัดส่วนที่งดงามมาก พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราชเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชรแบบขนมต้ม มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาติสั้นระดับพระถัน วัสดุสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว สกุลช่างนครศรีธรรมราช นับเป็น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช

หอพระพุทธสิหิงค์ อันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์เมืองนครนั้น เดิมเป็นหอพระประจำวังของเจ้าพระยานคร ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัด และ ศาลจังหวัด สร้างใหม่แทนหอเดิมใน พ.ศ.๒๔๕๗ เป็นวิหารก่ออิฐถือปูนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แบ่งออกเป็น สองตอน มีผนังก่ออิฐกั้น ตอนน้า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และมีพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร บุด้วยทองคำ และเงิน อย่างละองค์ ส่วนด้านหลังเป็นที่เก็บอัฐิของตระกูล ณ นคร

พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัดและศาลจังหวัด แต่เดิมเป็นหอพระประจำวังของ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช อยู่ในบริเวณที่ตั้งวังเดิมของเจ้าพระยานคร (น้อย) พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวไทย สักการะบูชามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลและมีอยู่หลายองค์ด้วยกันกระจายไป ตามจังหวัดต่าง ๆ แต่ที่ถือว่าเป็นองค์แท้จริงมีเพียง ๓ องค์คือ 
๑. องค์แรกประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครองค์
๒. ที่สองประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 
๓. และองค์ที่สามประดิษฐาน ณ หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ตามประวัติเชื่อกันว่าพระพุทธรูปนี้ 
คือ พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ปรากฏเรื่องราวตาม “สิหิงคนิทาน” หรือตำนานของพระพุทธสิหิงค์ เนื่องจากมีความที่ระบุเรื่องราวเกี่ยว ข้องกับเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ กล่าวคือพระพุทธสิหิงค์ สร้างที่ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ.๗๐๐ พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยได้ ทรงทราบกิตติศัพท์เกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์ ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามจึงทรงขอให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราช จัดส่งราชฑูตไปลังกา ขอพระพุทธรูปองค์นี้มาบูชา ซึ่งก็ได้มาตามราชประสงค์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช จัดงาน พิธีสมโภชใหญ่โต เป็นเวลา ๗ วัน การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์เข้ามายังดินแดนไทยโดยผ่านทางนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองที่มี การติดต่อสัมพันธ์อยู่กับลังกาอย่างใกล้ชิด ตามตำนานนั้นว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงยังนครศรีธรรมราชด้วย พระองค์เอง ส่วนพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ให้ช่างท้องถิ่น จำลองไว้บูชา ๑ องค์ แล้วได้อัญเชิญไปไว้ ณ กรุงสุโขทัย

พระพุทธสิหิงค์เป็นที่เลื่อมใสเคารพบูชาในหมู่ชาวภาคใด้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชเป็นอย่างยิ่งว่ากันว่าผู้ทุจริตคิดมิชอบ ทั้งหลายจะไม่กล้าสาบานต่อหน้าองค์พระเลย หลังจากที่ได้อัญเลิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่ศาลากลางจังหวัดแล้วคดีความ ที่จะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมักมีการเอ่ยอ้างนามพระพุทธสิหิงค์ในการสาบานตัว ทำให้ไม่มีใคร กล้าเบิกความเท็จ

นอกจากพระพุทธสิหิงค์แล้วยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ ศิลปะสมัยอยุธยาประทับนั่งอยู่ ชาวนครเรียกว่า "พระเงิน" และด้านหลัง ของหอเป็นที่เก็บอัฐิเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในสกุล ณ นคร มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกให้ประชาชนสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์เป็นประจำทุกปี

44,994 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครศรีธรรมราช