คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

“สะพานรัษฎาภิเศก”

“สะพานรัษฎาภิเศก” แลนด์มาร์กทรงเสน่ห์คู่เมืองลำปาง

            “สะพานรัษฎาภิเศก” หรือ “สะพานขาว” ที่เป็นดังแลนด์มาร์กของเมืองรถม้าลำปาง ได้มีอายุครบ 100 ปีแล้วเป็นเวลายาวนานที่สะพานสีขาวสะอาดตา โดดเด่นด้วยเส้นโค้งทรงคันธนูรวม 4 โค้งทอดข้ามผ่านแม่น้ำวัง ให้ผู้คนได้ใช้สัญจรผ่านไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำในเขตใจกลางเมืองลำปาง และกลายเป็นสัญลักษณ์คู่เมืองที่ชาวลำปางคุ้นตา  

              สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ที่ตั้งชื่อจากพิธีเฉลิมฉลองรัษฎาภิเษก สมัยรัชกาลที่ 5 สะพานรัษฎาเป็นสะพานร่วมสมัยกับยุคอารยธรรมรถไฟมีอายุผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาแล้วและรอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาได้ด้วยการทาสีพรางตา และมีการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของนางลูซี สคาร์ลิง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวิชานารีซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกองทัพสัมพันธมิตรในขณะนั้น

             นอกจากนี้ เดิมเป็นสะพานไม้เสริมเหล็กชำรุดผุพัง จึงมีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปาง ซึ่งมีชื่อเรียกกันหลายชื่อเช่น “ขัวสี่โก๊ง”(สะพานสี่โค้ง) “ขัวหลวง” (สะพานใหญ่) และ “ขัวขาว” (สะพานขาว) ถือว่าเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนมากกว่าสะพานรุ่นเดียวกันที่ไม่เหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้ตรงหัวของสะพานยังมีสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงความเป็นมาดังนี้

 

- เสาสี่ต้น ที่ตั้งอยู่หัวสะพานฝั่งละสองต้น หมายถึงความมั่นคงแข็งแรง

- ครุฑสีแดงด้านหน้าของเสาทุกต้น เป็นตราสัญลักษณ์ของแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 6

 

- พวงมาลัยยอดเสาทั้งสี่ด้านของเสา หมายถึง เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

- ไก่หลวง หรือ ไก่ขาว ตรงกลางเสา เป็นสัญลักษณ์ประจำนครลำปาง

          จากที่กล่าวมาข้างต้นนอกจากรถม้า และถ้วยตราไก่ เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางแล้ว"สะพานรัษฎา" ก็เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของลำปางที่แขกไปใครมาเป็นต้องแวะมาถ่ายรูปถือว่าเป็นแลนด์มาร์กของจังหวัดลำปางอีกแห่งหนึ่งอีกด้วย เมื่อมาเยือนจังหวัดลำปางสิ่งที่พลาดไม่ได้อีกอย่างคือทุกวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ จะมีถนนคนเดินที่ขึ้นชื่อของจังหวัดลำปางอีกแห่งหนึ่งด้วยคือ “กาดกองต้า” ซึ่งเป็นย่านตลาดเก่า ดังนั้น เมื่อมาจังหวัดลำปางต้องมาที่สะพานรัษฎา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนคนเดินกาดกองต้า  ตั้งหลักที่จุดนี้แล้วค่อย ๆ เดินปล่อยใจไปกับบรรยากาศครึกครื้นรอบตัว หรือจะแวะพักจิบกาแฟริมทางให้ชื่นใจก็ผ่อนคลายดีไม่น้อย ดังนั้นหากมีเวลาว่างในช่วงสุดสัปดาห์คงต้องรีบเก็บกระเป๋าออกเดินทางไปแอ่วเมืองเหนือมา “ลำปางแต่...ไม่ลำพัง”

 

ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9600000034099

20,943 views

0

แบ่งปัน