คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เจดีย์ซาว

เจดีย์ศิลปะล้านนา-พม่า วัดพระเจดีย์ซาวหลัง อ.เมือง จ.ลำปาง

ในประเทศไทยถือเป็นเมืองพุทธและมี ศาสนสถานตั้งอยู่มากมายแต่ละสถานที่บ่งบอก ได้ถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จังหวัง ลำปางเป็นบ้านเกิดของดิฉันและเช่นกันจะเห็น วัดวาอารามหลายแห่งให้พุทธศาสนิกชนได้ไป ตักบาตร ทำบุญและฟังธรรมแต่ที่แตกต่างออก ไปนั้นคือสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนวัดในภาค กลางภาคอีสานหรือภาคใต้เพราะมีอิทธิพลของ ศิลปะแบบพม่าผสมศิลปะล้านนา

ศิลปะพม่ามาอยู่ในจังหวัดลำปางได้ อย่างไร เนื่องจากมีชาวพม่าเข้ามาทำ ธุรกิจในเมืองลำปางเมื่ออดีตในสมัย รัชกาลที่ 5 พ่อค้าชาวพม่าได้เข้ามา ประกอบการในนครลำปางจึงเป็นช่วงที่ศิลปะ พม่ามีบทบาทอย่างมากโดยเฉพาะวิหาร พระ อุโบสถ วิหารและเจดีย์ จนกระทั้งปีพ.. 2425 – 2440 สมัยเจ้านรนันทชัยชวลิตเจ้าผู้ครองนคร ลำปาง องค์ที่ 9 เป็นการค้าไม้ของนครลำปาง ถือเป็นจุดศูนย์กลางของภาคเหนือและสถานะ ทางเศรษฐกิจของพ่อค้าชาวพม่ามีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดและด้วยความเป็นพุธศาสนิกชนจึงต้องการสร้างศาสนสถานเพื่อตอบแทนพระพุทธศาสนาจึงก่อให้เกิดวัดแบบศิลปะพม่าในลำปางถึง 18 แห่งด้วยกัน

วัดพระเจดีย์ซาวหลังเป็นหนึ่งในวัดโบราณที่มีความเก่าแก่ คำถามของแขกมาเที่ยวมักจะถามถึงความหมายของชื่อวัด คำว่า“ซาว”ในภาษาเหนือ “ยี่สิบ” คำว่า “หลัง” แปลว่า “องค์”เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันตามจำนวนของพระเจดีย์ที่มียี่สิบองค์นันเอง ความเก่าเเก่ของเจดีย์มีการสันนิษฐาว่าสร้างมานานกว่าพันปีในราวยุคหริภุญไชยจากหลักฐานการขุดพบพระเครื่องที่สร้างใน สมัยหริภุญไชยในบริเวณเจดีย์นอกจากนั้นยังมีตำนานคู่วัดที่ถูกเล่าต่อๆกันมากล่าวว่าเมื่อ 500 ปี หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว มีพระอรหันต์จากอินเดียสองรูปเดินทางออกเผยแพร่พระพุทธศาสนามาถึงยังบริเวณนี้เมื่อเห็นสถานที่เงียบสงบเหมาะที่จะบำเพ็ญธรรมจึงใช้เป็นที่พำนักอาศัยเป็นที่ปฏิบัติวิปัสนาและอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนในละแวกนั้นจนมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น ในครั้งนั้นพญามิลินทรผู้แตกฉานในหลักธรรม ได้มาสนทนาซักถามปัญหาธรรมกับพระอรหันต์เถระทั้งสองรูปและมีความประสงค์จะทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาพระอรหันต์ทั้งสองรูปได้ใช้มือลูบศีรษะมีเส้นเกศาติดมือมารูปละสิบเส้นแล้วมอบให้พญามิลินทร พญามิลินทรจึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นยี่สิบองค์แล้วนำเอาเส้นเกศาบรรจุในเจดีย์องค์ละเส้นต่อมาคนทั้งหลายจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดเจดีย์ซาวหลัง

ประวัติของวัดเจดีย์ซาวหลังเริ่มจากพระอูชะยันต่าเถระผู้ที่นำประวัติของวัดเจดีย์ซาวหลังเมื่ออดีตมาเล่าให้ชาวพม่าที่ตั้งรกรากอยู่ในลำปางได้ฟังจึงมีการออกตามหาโบราณสถานที่อยู่ในประวัตินั้นจนพบว่าตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านวังหม้อ หมู่ที่2ในปัจจุบัน ในขณะนั้นเป็นปี..2456 วัดเเห่งนี้เป็นเพียงซากปรักหักพังของหมู่เจดีย์เก่าและเนินซากวิหารต่อมาในปีพ..2547พระอูชะยันต่าเถระขณะนั้นท่าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าฝางผู้ซึ่งเป็นคนคัดลอกประวัติวัดเจดีย์ซาวที่หายไปมากล่าวอ่านให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยและพม่าฟังความจึงทราบไปถึงพ่อลัวหรือพระครูศีลคันธวงศ์(เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเจดีย์ซาวหลัง)จึงได้ทำการจัดพิมพ์เพื่อให้ความรู้แก่ลำปางหลังจากนั้นจึงเกิดผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมากได้รวมกันทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เจดียืที่ปรักหักพังขึ้นมาใหม่โดยสล่าหรือช่างชาวพม่าจนข่าวแพร่สะพัดออกไปคนเมืองที่รู้ต่างขอบูรณะ 1องค์บ้าง 2 องค์บ้างส่วนองค์ที่ใหญ่ที่สุดนั้นมีเจ้าพ่อบุญวาทย์วงค์มานิตเจ้าผู้ครองนครลำปางค์องค์สุดท้ายรวมบูรณะด้วยจนเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 20 กุมพาพันธ์ พ..2464นั่นเอง วัดโบราณแห่งนี้เป็นที่ศักการะของพุทธศาสนิกชนนิกายอรัญวาสของพม่าในอดีตความงามของวัดนี้อยู่ที่หมู่พระเจดีย์สีขาวจำนวนยี่สิบองค์ที่ตั้งตระง่านสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ทางเข้าวัดองค์ใหญ่สุดอยู่ตรงกลาง แวดล้อมด้วยเจดีย์อีกสิบเก้าองค์

นอกจากชมความงดงามของศิลปะพม่า-ล้านนาแล้วยังเข้าไปศักการะและชมความงามของพระเเสนแซ่ทองคำพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่สร้างจากทองคำกว่า ๑๐๐ บาท สองสลึงและชมจิตรกรรมฝาผนังที่วดประวัติของวัดเจดีย์ซาวด้านหลังของหมู่เจดีย์เป็นที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงของเก่า ปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยชาวไทยและต่างชาติเพราะด้วยประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกถึงการเดินทางของผู้คนและเหตุการณ์สำคัญต่างๆทำให้เป็นศาสนถานที่มีคุณค่า

5,694 views

0

แบ่งปัน