สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
กรณีศึกษา : วิหารโคมคำ และเจดีย์ ในวัดพระธาตุเสด็จ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
กับวัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง
วัดพระธาตุเสด็จ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่าร้อยปี เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมหลายสมัย ทั้งศิลปะสมัยสุโขทัยและศิลปะสมัยเชียงแสน อีกทั้งยังเป็นวัดที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากเจ้าเมืองที่ปกครองในสมัยอาณาจักรล้านนา จนถึงสมัยปัจจุบัน จึงทำให้โบราณสถานทุกชนิดยังคงความสวยงามและทรงคุณค่าไว้ให้ได้บูชากราบไหว้เป็นที่พึ่งทางจิตใจให้กับชาวบ้านบริเวณนั้น อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
วัดพระธาตุเสด็จ เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ตามตำนานพระธาตุนครลำปางเล่าว่า วัดในจังหวัดลำปางที่เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอยู่ ๒ วัด คือ วัดพระธาตุลำปางหลวง และวัดพระธาตุเสด็จ การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ สถานที่ทั้งสองแห่งนี้มีมาหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 218 ปี
ต่อมา พ.ศ.1223 พระนางจามเทวีเสด็จมายังเขลางค์บรรพต เพื่อจะสร้างพระนครขึ้นใหม่ให้เจ้าอนันตยศพระโอรสพระองค์เล็กทรงปกครอง ตามคำแนะนำของมหาพรหมฤาษี และเมืองนี้ปรากฏชื่อว่า ศรีนครชัย ที่มหาพรหมฤาษี ให้ชื่อเช่นนี้ ก็เพราะพระธาตุพระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานอยู่ทั้ง 2 ข้างของตัวเมือง คืออยู่ที่เมืองลัมภะกัปปะนครดวงหนึ่ง อยู่ที่เหนือเมืองชื่อดอนโผยงหนึ่ง พระนางจามเทวีได้เสด็จไปนมัสการพระธาตุลัมภกัปปะนคร (พระธาตุลําปางหลวง) แล้วมานมัสการพระธาตุดอนโพยง (พระธาตุเสด็จ) และได้ทอดพระเนตรพระธาตุแสดงปาฎิหาริย์ ทรงเกิดปี ติยินดี และทรงศรัธาเลื่อมใสยิ่งนัก
พงศาวดารหอคำนครลำปาง กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและเศรษฐกิจในยุคที่พระเจ้าหอคำดวงทิพย์บูรณะพระธาตุเสด็จ ใน พ.ศ. 2362
ต่อมาใน พ.ศ. 2366 ได้ทรงสร้างวิหารสุวรรณโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ พร้อมกับสร้างพระประธานในวิหาร และเขียนลวดลายประดับเสาวิหารด้วยการลงรักปิดทอง วิหารนี้จึงเรียกชื่อตามสถาปัตยกรรมลานนาว่า วิหารลายคำ พงศาวดารเจ้าเจ็ดตนกับหอคำมงคลกล่าวถึงตอนที่พระเจ้าหอคำดวงทิพย์ สร้างวิหาร สุวรรณโคมคำวัดพระธาตุเสด็จว่า “ตราบต่อเท้าอักขระป๋าเวณีเดือนห้าเป็งมารอดแล้ว เจ้าก็เอารี้พลโยธาอากะราชเทวีราชมนตรีภายใต้ทั้งภายนอกและภายในเสด็จแล้ว เจ้าก็แต่งห้างเครื่องครัวทาน มีมหาอัตถะบริขารตานตุงแป้นสองผืน ปูชายังภะคะวาต๋น สร้างใหม่ภายมหาวิหาร เจ้าก็เปิกบาย แลจำศีลกิ๋นตานโอกาสหยาดน้ำยังมหาวิหารอันต๋นได้สร้างใหม่จิ่งใส่จื่อว่า วิหารโคมคำ พระพุทธรูปเจ้าต๋นสร้างใหม่ ใส่ชื่อว่า พระพุทธรูปพระธาตุเสด็จ ก็มีวันนั้นแล” (คณะศิษยานุศิษย์, 2546, น. 10)
จากข้อมูลที่กล่าวมาทำให้ทราบได้ว่าวัดพระธาตุเสด็จและวัดพระธาตุลำปางหลวงมีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าตามตำนานพระธาตุนครลำปาง อีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับพระนางจามเทวี เนื่องจากพระนางจามเทวีได้ทรงสร้างเมืองนครลำปาง พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการ พระธาตุลัมภกัปปะนคร แล้วมานมัสการพระธาตุดอนโพยงพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในทั้ง 2 วัด เป็นอย่างยิ่ง ปรากฎหลักฐานในตำนานว่าพระนางจามเทวีทรงสร้างและบูรณะทั้ง 2 วัดนี้ อยู่เนื่องๆ