คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ชุมชนป่าตันหลวง

เรื่อง : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ชุมชนป่าตันหลวงกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม

          ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับคนภายในพื้นที่นั้นๆหรือชุมชนต่างๆ โดยผู้คนมีจิตสำนึกร่วมผูกพันกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตน เช่นเดียวกันกับชุมชนป่าตันหลวงถือว่าเป็นชุมชนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง มีประวัติศาสตร์ตามเอกสารบันทึกประวัติอำเภอแม่ทะว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2450 ชุมชนป่าตันหลวงเคยเป็นที่ว่าการอำเภอแม่ทะแห่งแรกเรียกว่า “อำเภอป่าตัน”  

          ปัจจุบันชุมชนป่าตันหลวงตั้งอยู่ในเขตตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากนับได้ว่าเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ มีประวัติศาสตร์มายาวนาน อีกทั้งสามารถสะท้อนความเป็นชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรมด้วยมุมมองความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เรียกว่า “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ทั้งนี้ชุมชนป่าตันหลวงยังคงปรากฏหลักฐานที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้เห็นเด่นชัด ดังนี้

ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏด้านความเชื่อเสื้อบ้าน(ผีอารักษ์)

          เสื้อบ้านหรือผีอารักษ์นั้นเป็นความเชื่อที่มีมาแต่อดีตตั้งแต่การตั้งบ้านเรือนในยุคแรกๆของชุมชนป่าตันหลวง โดยใช้ต้นไม้ใหญ่เป็นสัญลักษณ์ผนวกกับความเชื่อว่าเป็นที่อาศัยของสิ่งศักดิ์สิทธิ์จนเกิดการสร้างศาลเสื้อบ้านเพื่อใช้เป็นสถานที่ ยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า “หอผีเจ้าพ่ออารักษ์” ทั้งนี้ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผีของชุมชนสะท้อนให้เห็นกลไกสำคัญในการควบคุมความคิด พฤติกรรม ของคนในชุมชนให้อาศัยอยู่ร่วมกันทั้งคน ธรรมชาติ และสิ่งเหนือธรรมชาติได้อย่างปกติสุข

 

ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏด้านสถาปัตยกรรมเฮือนล้านนา

          เรือนล้านนาที่ปรากฏในภาพถ่ายนี้เป็นเรือนของคุณยายเฉลียว เทพสาย อายุ 88 ซึ่งคุณยายได้กล่าวว่า “เฮือนนี้สร้างเมื่อสมัยอยู่กินกับสามีช่วงแรกๆตอนนั้นอายุได้สัก 17 ปี โดยสามีเป็นคนนำไม้จากอำเภอแม่เมาะล่องผ่านแม่น้ำจางมาสร้างแทนเฮือนหลังเก่า” จากคำบอกเล่าของยายประกอบกับภาพถ่ายทำให้เห็นถึงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับเฮือนล้านนาหลังนี้ได้แก่ หลังคาหน้าจั่ว ยกพื้นสูง มีบันไดและเสาแหล่งหมา เติ๋น และลานดินลานทราย เป็นต้น จากที่กล่าวมานั้นสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรม และเรื่องราวการตั้งบ้านเรือนของชุมชนป่าตันหลวงในอดีต

ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏด้านสถาปัตยกรรมวัด

          วัดป่าตันหลวงเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดลำปาง เนื่องจากปรากฏโบราณสถานที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนาคือ ซุ้มโขง โดยมีข้อสันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นด้วยสกุลช่างลำปาง ในช่วงระหว่างปีพุทธศักราช 2101 ถึง 2300 ยุคที่พม่าปกครองล้านนา ซึ่งซุ้มโขงหลังนี้บอกเล่าลักษณะด้านสถาปัตยกรรมเป็นยอดมณฑป ก่อด้วยอิฐฉาบปูน ประดับลวดลายปูนปั้นสัตว์ป่าหิมพานต์ สร้างขึ้นเป็นทางเข้าออกระหว่างโลกสวรรค์และมนุษย์ตามแนวคิดคติจักรวาลวิทยาในพุทธศาสนาคล้ายกับซุ้มโขงวัดพระธาตุลำปางหลวง ทั้งนี้ซุ้มโขงหลังนี้ถือว่ามีความสำคัญ เนื่องจากมีคุณค่าเป็นหลักฐานที่บ่งบอกประวัติศาสตร์ความเก่าแก่ของวัด และชุมชน

ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏด้านตำนานท้องถิ่น

          1) ตำนานภูมินามชุมชน กล่าวคือ ในอดีตบริเวณพื้นที่ชุมชนเป็นป่าต้นพุทรา (ป่าบะตัน) ประกอบกับพื้นที่บริเวณนี้มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (หลวง) จึงเป็นที่มาของคำว่า “ชุมชนป่าตันหลวง”

          2) ตำนานพื้นที่ที่ผูกพันกับวีรบุรุษท้องถิ่น กล่าวคือ ในอดีตพื้นที่ชุมชนป่าตันมีต่อสู้ระหว่างกลุ่มผู้นำช่วงยุคเจ้าเจ็ดตนกับกองทัพท้าวมหายศแห่งลำพูน (พม่า) แต่ฝ่ายเจ้าเจ็ดตนไม่สามารถต้านทัพลำพูนได้จึงพยายามหนี และเนื่องจากลักษณะของพื้นที่เป็นภูเขากับป่าสลับซับซ้อนคล้ายทางตันทำให้ทหารไม่สามารถหนีได้เกิดการล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของ “ชุมชนป่าตัน”

         จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นทำให้เห็นถึงภาพรวมว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏหลักฐานคำบอกเล่า ภาพถ่ายสถานที่ ตามองค์ประกอบแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรม เช่น ความเชื่อ สถาปัตยกรรมบ้านเรือน วัด เป็นต้น โดยผู้ที่รู้เรื่องราวเหล่านี้ดีมีเพียงเฉพาะคนในพื้นที่ ทั้งนี้ผู้ศึกษาจึงมีความประสงค์ถ่ายทอดผ่านบทความเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชุมชนป่าตันประกอบกับใช้แนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมอธิบายถึงความเป็นท้องถิ่นสู่ภายนอก เพื่อเป็นการแบ่งปัน และเพื่อสร้างกระบวนการดำรงอยู่ของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านตนเอง

7,638 views

1

แบ่งปัน