คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ปากพนัง

เมืองแห่งวิถีชีวิตชาวประมง

"ปากพนัง" 1 ใน 23 อำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย อำเภอปากพนังแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ปากพนังฝั่งตะวันออกและปากพนังฝั่งตะวันตก โดยแต่ละฝั่งจะมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน การคมนาคม 2 ช่องทาง คือ การคมนาคมทางน้ำมีเรือข้ามฟากคอยให้บริการ ส่วนการคมนาคมทางบก มีถนนและสะพานข้ามคลองให้รถชนิดต่าง ๆ สัญจรไปมาได้สะดวกและรวดเร็ว

วิถีชีวิตของชาวปากพนัง เป็นมนต์เสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามายังเมืองปากพนังเป็นจำนวนมาก นอกจากความงามจากธรรมชาติของแม่น้ำปากพนัง ชายทะเลและแหลมตะลุมพุกแล้วนั้น วิถีชีวิตของผู้คนที่ผ่านเรื่องราวมาเป็นระยะเวลากว่าหลายร้อยปี ทั้งเรื่องภัยพิบัติที่คร่าชีวิตผู้คนไป ประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองปากพนัง จึงทำให้อำเภอนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีผู้คนมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย

 

ผู้คนในชุมชนที่ยังคงมีความเป็นอยู่เรียบง่าย การได้กินอาหารทะเลที่สดใหม่กว่าใคร การอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แต่หากลูกหลานมีครอบครัวใหม่ส่วนใหญ่ก็ยังจะสร้างบ้านอยู่ใกล้ ๆ กัน ลักษณะบ้านจะเป็นชั้นเดียวแต่มีเสาปักลงไปในชายฝั่งทะเล เป็นบ้านไม้บ้าง บ้านปูนบ้าง สลับกันไป ทุกคนในชุมชนรู้จักกันหมดเสมือนเป็นพี่น้องกัน มีอะไรก็แบ่งปันกัน ในทุก ๆ บ้านจะมี เรือ ไว้ออกหาปลา ส่วนใหญ่เมื่อได้ปลามาแล้ว ก็จะนำไปขายสร้างรายได้เข้าสู่ครอบครัว ถ้าปลาเหลือก็จะนำมาแจกจ่ายให้คนในชุมชนนำไปทำอาหาร ถ้าบ้านไหนไม่มีเรือเป็นของตัวเอง ก็จะไปเป็นลูกจ้างแทน เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ภายในชุมชนเอง

อาชีพชาวประมง เป็นอาชีพหนึ่งที่มีบทบาทในชุมชน ซึ่งการหาสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ในทะเล มีรายได้ที่ไม่แน่นอนแต่พอกินพอใช้ ความเหน็ดเหนื่อยและอดทนที่ต้องต่อสู้กับคลื่นทะเล สภาพภูมิอากาศ ทุกวัน ความขยันจึงเป็นหัวใจหลักของอาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สร้างและคิดขึ้นเองซึ่งยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน สะท้อนถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เรียบง่าย พอเพียง สงบสุข 

ตลาดย้อนยุคปากพนัง ตั้งอยู่สองริมฝั่งคลองบางฉลาก ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำปากพนัง ขนานไปกับลำคลอง อีกฝั่งเป็นตลาดติดเลียบกำแพงของเรือนจำ ส่วนอีกฝั่งเป็นบ้านที่เปิดเป็นร้านขายของต่าง ๆ อำเภอปากพนัง เป็นเมืองท่าศูนย์กลางการค้าสำคัญของทะเลฝั่งตะวันออก ทำให้เป็นแหล่งที่ผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยแต่ไหนแต่ไรมา อำเภอจึงมีแนวคิดสร้างตลาดย้อนยุคเพื่อสะท้อนบรรยากาศอดีตวิถีชีวิตชาวใต้ไว้ โดยบรรยากาศของตลาดจะครึกครื้นตั้งแต่ปากทางเข้า ที่มีนักดนตรีมาขับกล่อมเพลงไทยเข้ากับยุคสมัย ในตลาดเหล่าพ่อค้า แม่ค้า บางคน ก็แต่งกายย้อนยุค ภาชนะที่ใส่ขนมมาจากดินเผา ใบตอง ใบบัว หมาจาก คือ ภาชนะที่สานด้วยใบจาก เป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นของปักษ์ใต้ใช้แทนกระบวยสำหรับตักน้ำ ส่วนเมนูอาหารก็มีทั้งคาวหวานและอาหารท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อ เช่น หมี่ผัดปากพนัง ข้าวยำ ลูกชุบ ขนมหวานรสชาติอร่อยเกือบทุกร้าน ตลาดย้อนยุคปากพนัง ไม่เพียงแค่สร้างรายได้ให้คนพื้นนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญา จากคนรุ่นก่อนส่งต่อถึงคนรุ่นใหม่ ให้ได้รู้จักและเกิดความภาคภูมิใจเพื่อช่วยกันสืบทอดต่อไป

อำเภอปากพนัง จึงเป็นเมืองมนต์เสน่ห์แห่งหนึ่งของภาคใต้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ "ผู้คนลุ่มน้ำปากพนัง" ที่แสนจะเรียบง่าย ธรรมชาติที่อันแสนจะธรรมดา แต่สามารถสะกดทุกสายตาผู้คนที่เข้ามาเยือนให้ลุ่มหลง เหตุการณ์วาตภัยที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย คอยย้ำเตือนและหล่อหลอมให้เป็นปากพนังทุกวันนี้ "ปากพนัง" จึงเป็นอีกเมืองที่น่าสนใจ เป็นเมืองต้องมนต์ ชวนให้หลงเสน่ห์ ทุกครั้งที่มาเยี่ยมเยือน

 

 

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวกมลวรรณ มะเซ็ง รหัสนิสิต 571071236

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

วิชาเอกการประกอบการและการจัดการ ชั้นปีที่ 4 

E-mail : kamonwan8200@gmail.com

19,716 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครศรีธรรมราช